แปลผลวิจัย


1 One-Way ANOVA

Completely randomized design (CRD)

แบบแผนการทดลองแบบนี้มีการสุ่มอย่างสมบูรณ์ และเป็นแบบแผนไม่ซับซ้อนเหมาะสม เมื่อหน่วยทดลอง (experimental unit) มีลักษณะเป็นเอกพันธ์ (homogeneous) หรือเมื่อหน่วยทดลองมีลักษณะเป็นวิวิธพันธ์ (heterogeneous) แต่ผู้วิจัยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรรบกวนใด ๆ ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบการทดลอง

ข้อได้เปรียบของแบบแผนการทดลอง

1. มีความยืดหยุ่นมาก สามารถใช้ได้กับทรีทเมนต์จำนวนเท่าไรก็ได้

2. ขนาดของกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

3. การวิเคราะห์ข้อมูลง่าย แม้ในกรณีของที่ขนาดของกลุ่มทดลองไม่เท่ากัน

4. degree of freedom ของ error term มีค่าสูงกว่าในแบบแผนการทดลองที่มีการสุ่มแบบจำกัด (restricted randomization)

5. ไม่มีปัญหาในการวิเคราะห์ แม้ในกรณีที่มีการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยของผู้รับการทดลอง หรือข้อมูลสูญหายไป

6. มีข้อตกลงเบื้องต้นน้อยกว่าแบบแผนการทดลองอื่น ๆ (John Neter & Others. 1987: 903)

ลักษณะของแบบแผนการทดลอง

1. มีตัวแปรทรีทเมนต์ 1 ตัว มีระดับของตัวแปร (กลุ่ม) มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ระดับ

2. มีการสุ่มหน่วยทดลอง (experimental unit) เข้ารับการทดลอง หรือสุ่มระดับของตัวแปรทรีทเมนต์ให้กับหน่วยทดลองก็ได้ หน่วยทดลองแต่ละหน่วยจะได้รับทรีทเมนต์เดียวเท่านั้น

โมเดลของการวิเคราะห์ (Analysis of variance models)

1. Model I (fixed effects model) ใช้เมื่อทรีทเมนต์ที่นำมาใช้ในการทดลองถูกเลือกอย่างเจาะจงโดยผู้วิจัย และผลวิจัยที่ได้นำไปอ้างอิงกับทรีทเมนต์ที่นำมาทดลองเท่านั้น โดยใช้รูปแบบ

i = 1, 2, ..., n
  j = 1, 2, ..., a
เมื่อ Xij คือ การสังเกตุที่ i ของกลุ่มที่ได้รับทรีทเมนต์ j
  คือ ค่าเฉลี่ยของประชากร
Tj คือ (Tau) ผลของทรีทเมนต์ j และ
eij คือ ความคลาดเคลื่อนของการสังเกตที่ i ของกลุ่มที่ได้รับทรีทเมนต์ j ซึ่งเป็นอิสระและมีการแจกแจงปกติ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเป็นศูนย์และความแปรปรวนเป็น [NID (0, )]

2. Model II (random effects model) ใช้เมื่อทรีทเมนต์ที่นำมาใช้ในการทดลองถูกสุ่มมาจากประชากรของทรีทเมนต์ และผลวิจัยจะนำไปอ้างอิงถึงทรีทเมนต์ทั้งหมด

รูปแบบ

i = 1, 2, ..., n
  j = 1, 2, ..., a
เมื่อ Xij คือ การสังเกตุที่ i ของกลุ่มที่ได้รับทรีทเมนต์ j
  คือ ค่าเฉลี่ยของประชากร
Tj คือ (Tau) อิทธิพลของทรีทเมนต์ j ซึ่งเป็นอิสระและมีการแจกแจงแบบปกติ NID(0,)
eij คือ ความคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นอิสระและมีการแจกแจงปกติ NID (0, )

การวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้ model I หรือ model II ก็ได้ โดยต้องดูว่าทรีทเมนต์ที่นำมาใช้ในการทดลองได้มาอย่างไร ถ้าทุกระดับของตัวแปรทรีทเมนต์นั้นถูกนำมาใช้ในการทดลองการวิเคราะห์ข้อมูล ก็ใช้ fixed effects model แต่ถ้ามีการสุ่มระดับของตัวแปรทรีทเมนต์มาใช้ในการทดลองการวิเคราะห์ข้อมูลก็ใช้ random effects model

ข้อตกลงเบื้องต้นของโมเดล

1. ความเป็นอิสระของความคลาดเคลื่อนในกลุ่มทดลองเดียวกันและระหว่างกลุ่มทดลอง ข้อตกลงเบื้องต้นข้อนี้เป็นไปได้ถ้าผู้วิจัยสุ่มทรีทเมนต์ให้กับหน่วยทดลอง (random assignment)

2. การแจกแจงของความคลาดเคลื่อนเป็นโค้งปกติ ภายใต้กลุ่มทดลองที่ j ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับการกล่าวว่าการแจกแจงของ Xij เป็นโค้งปกติภายใต้กลุ่มทดลองที่ j

3. ความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (homogeneity of variance) นั่นคือ ความเท่ากันของความแปรปรวนในกลุ่มทดลองที่ i, j, ...

หมายเลขบันทึก: 307715เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท