มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

The Bangkok Charter for Health Promotion in a globalized world (2)


มติโลกเพื่อยุติการส่งเสริมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการแข่งขันฟุตบอลโลก

The Bangkok Charter for Health Promotion in a globalized world

United Nation Conference Center, 11 August 2005

Introduction

The Bangkok Charter identifies the strategies and commitments that are required to address the determinants of health in a globalized world through health promotion. It affirms that policies and partnerships to empower communities, and to improve health and health equality should be at the centre of global and national development.

The Bangkok Charter complements and builds upon the values, principles and action strategies of health promotion established by the Ottawa Charter for Health Promotion and the recommendations of the subsequent global health promotion conferences. These are shared by activists and practitioners around the world and have been confirmed by Member States through the World Health Assembly.

The Bangkok Charter reaches out to people, groups and organizations that are critical to the achievement of health. This includes governments and politicians at all levels, civil society, the private sector and international organisations.

Health promotion

The United Nations recognize that the enjoyment of the highest attainable standard of health is one of the fundamental rights of every human being without discrimination. Health promotion is based on this critical human right. It offers a positive and inclusive concept of health as a determinant of the quality of life, and encompasses mental and spiritual well being. Health promotion is the process of enabling people to increase control over their health and its determinants, and thereby improve their health. Health promotion is a core function of public health and contributes to tackling communicable and noncommunicable diseases and other threats to health. It is an effective investment in improving health and human development. It contributes to reducing both health and gender inequities.

Addressing the determinants of health

The context for health promotion has changed markedly since the development of the Ottawa Charter. Increasing inequalities within and between countries, new patterns of consumption and communication, commercialisation, environmental degradation, and urbanization are some of the critical factors that influence health. Rapid and often adverse social change affects working conditions, learning environments, family patterns and the culture and social fabric of communities. Evolving patterns of health and demographic transitions have also contributed to change. Women and men are affected differently by these developments; the vulnerability of children and exclusion of marginalised, disabled and indigenous peoples have increased.

Globalization can open up new opportunities for cooperation to improve health, for example through improved mechanisms for global governance and enhanced information technology and communication, and sharing of experiences. Health promotion strategies can address avoidable transnational health risks by enabling policies and partnerships which ensure that benefits for health from globalization are maximised and equitable, and the negative effects are minimised and mitigated.

To manage the challenges of globalisation, policy must be coherent across all levels of governments, United Nations bodies and other organizations, including the private sector. This will strengthen compliance, transparency and accountability with international agreements and treaties that affect health. The global commitment to reduce poverty by addressing all of the Millennium Development Goals is a critical entry point for health promotion action. The active participation of civil society is crucial in this process. Progress has been made in placing health at the centre of development, but much more remains to be achieved.

Strategies for health promotion in a globalized world

Progress towards a healthier world requires strong political action, broad participation and sustained advocacy. Health promotion has an established repertoire of proven effective strategies which need to be fully utilised. To make further advances all sectors and settings must act to:

· Advocate for health based on human rights and solidarity;

· Invest in sustainable policies, actions and infrastructure to address the determinants of health;

· Build capacity for policy development, leadership, health promotion practice, knowledge transfer and research, and health literacy;

· Regulate and legislate to ensure a high level of protection from harm and enable equal opportunity for health and well being for all people;

· Partner and build alliances with public, private, nongovernmental organizations and civil society to create sustainable actions.

Commitments to health for all

Make the promotion of health central to the global development agenda

Government and international bodies must act to close the gap in health between rich and poor. Strong intergovernmental agreements that increase health and collective health security need to be in place. Effective mechanisms for global governance for health are needed to address all harmful effects of trade, products, services and marketing strategies. Health promotion must become an integral part of domestic and foreign policy and international relations, including in situations of war and conflict. This requires actions to promote dialogue and cooperation among nation states, civil society, and the private sector. These efforts can build on the example of existing treaties such as the World Health Organization Framework Convention for Tobacco Control.

Make the promotion of health a core responsibility for all of government

Health determines socio-economic and political development. Therefore governments at all levels must tackle poor health and inequalities as a matter of urgency. The health sector has a key role to provide leadership in building policies and partnerships for health promotion. Responsibility to address the determinants of health rests with the whole of government, and depends upon actions by many sectors as well as the health sector. An integrated policy approach within government, and a commitment to working with civil society and the private sector and across settings, is essential to make progress in addressing these determinants. Local, regional and national governments must give priority to investments in health, within and outside the health sector, and provide sustainable financing for health promotion. To ensure this, all levels of government should make the health consequences of policies and legislation explicit, using tools such as equity focussed health impact assessment, and intersectoral national or local health plans.

Make the promotion of health a key focus of communities and civil society

Communities and civil society often lead in initiating, shaping and undertaking health promotion. They need to have rights, resources and opportunities so that that their contributions are amplified and sustained. Support for capacity building is particularly important in less developed communities. Well organized and empowered communities are highly effective in determining their own health, and are capable of making governments and the private sector accountable for the health consequences of their policies and practices. Civil society needs to exercise its power in the marketplace by giving preference to the goods, services and shares of companies that exemplify corporate social responsibility. Grass roots community projects, civil society groups, and women’s organizations have demonstrated their effectiveness in health promotion, and provide models of practice for others to follow. Health professional associations have a special contribution to make.

Make the promotion of health a requirement for good corporate practices

The private sector has a direct impact on the health of people and on the determinants of health through their influence on local settings and national cultures, environments and wealth distribution. The private sector, like other employers and the informal sector, has a responsibility to ensure health and safety in the workplace, and promote the health and well being of their employees, their families and communities. They also contribute to wider global health impacts, such as those associated with global environmental change. The private sector must ensure that its actions comply with local, national and international regulations and agreements that promote and protect health. Ethical and responsible business practices and fair trade exemplify the type of business practice that should be supported by consumers and civil society, and by government incentives and regulations.

A global pledge to make it happen

Meeting these commitments requires better application of existing, proven strategies, as well as the use of new entry points and innovative responses. Partnerships, alliances, networks and collaborations provide exciting and rewarding ways of bringing people and organizations together around common goals and joint actions to improve the health of populations. Each sector - government, civil society and private - has a unique role and responsibility. Progress in addressing the underlying determinants of health in many cases will only occur by working together so that resources can be used more effectively and efficiently to achieve lasting results.

Since the adoption of the Ottawa Charter, a significant number of resolutions at national and global level have been signed in support of health promotion, but this has not always been followed by action. The participants of this Bangkok Conference forcefully call on Member States and the World Health Organization to close this implementation gap and move to policies and partnerships for action. This will require political leadership.

Conference participants expect the World Health Organization, in collaboration with others, to work with Member States to allocate resources, initiate a plan of action, monitor performance through appropriate indicators and targets, and report on progress at regular intervals. To support this process United Nations organisations are asked to explore the benefits of developing and implementing a Global Treaty for Health.

This Bangkok Charter urges everyone to join in a worldwide partnership to promote health, with both global and local engagement and action.

We, the participants of the 6th Global Conference on Health Promotion in Bangkok, Thailand, pledge to advance these commitments to improve health and to advocate for the required resources, policies and practices.

11 August 2005

Note: This charter contains the collective views of an international group of experts, participants to the 6th Global Conference on Health Promotion, Bangkok, Thailand, August, 2005, and does not necessarily represent the decisions or the stated policy of the World Health Organization.


ปฏิญญากรุงเทพฯ

ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 11 สิงหาคม 2548

บทนำ

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้กำหนดยุทธวิธีและแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ โดยการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ปฏิญญาฉบับนี้ยืนยันว่านโยบายและความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่จะทำให้ชุมชนพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและได้รับความเท่าเทียมกัน ควรจะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทั้งในระดับโลกและในระดับชาติ

ปฏิญญากรุงเทพฯ เป็นทั้งส่วนเติมเต็ม และส่วนเสริมต่อทางค่านิยม (values) หลักการ (principles) และ แนวทางในการปฏิบัติ ของงานส่งเสริมสุขภาพ ที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาออตตาวาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion) นอกจากนี้ ปฏิญญากรุงเทพฯยังได้รวมข้อเสนอแนะจากการประชุมการส่งเสริมสุขภาพระดับโลกในครั้งหลังๆ เอาไว้อีกด้วย ค่านิยม หลักการ และแนวทางการปฏิบัติงานเหล่านี้ เป็นวัฒนธรรมร่วมของนักกิจกรรม และนักส่งเสริมสุขภาพทั่วโลก และได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกผ่านการประชุมสมัชชานามัยโลก (World Health Assembly)

ปฏิญญากรุงเทพฯพยายามเข้าถึงบุคลากร กลุ่มคน และองค์กรที่สำคัญยิ่งต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งนี้รวมไปถึงรัฐบาลของประเทศต่างๆ นักการเมืองทุกระดับ ประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศด้วย

การส่งเสริมสุขภาพ

องค์การสหประชาชาติยอมรับว่าการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้นั้น เป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับโดยไม่มีข้อยกเว้น การส่งเสริมสุขภาพก็มีพื้นฐานมาจากสิทธิมนุษยชนข้อนี้ แนวคิดทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ เป็นแนวคิดที่ตอกย้ำให้เห็นว่าการจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นจำเป็นจะต้องมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและทางใจ การส่งเสริมสุขภาพเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการควบคุมสุขภาพของตน และปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นหัวใจหลักของการสาธารณสุข และเป็นแกนนำในการป้องกันโรคที่ติดต่อ และไม่ติดต่อ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การส่งเสริมสุขภาพเป็นการลงทุนที่เห็นผลในการพัฒนาสุขภาพและการพัฒนามนุษย์ นอกจากนี้ การส่งเสริมสุขภาพยังมีส่วนช่วยลดความแตกต่างทางสุขภาพ และระหว่างเพศอีกด้วย

การลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

สภาวะแวดล้อมของการส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบัน แตกต่างจากในขณะที่มีการร่างปฏิญญาออตตาวามาก ความไม่เท่าเทียมกันทั้งใน และระหว่างประเทศที่มีเพิ่มขึ้น ค่านิยมในการบริโภคและการติดต่อสื่อสารที่เปลี่ยนไป การทำการค้าแบบหวังผลกำไร ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการขยายตัวของเมืองต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของประชาชน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็ว ซึ่งมักเป็นไปในทางที่ไม่ดี ส่งผลต่อสภาพการทำงาน การเรียนรู้ สภาพครอบครัว และวัฒนธรรมท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสาธารณสุข และทางประชากรด้วย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้หญิงและผู้ชายต่างกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังส่งผลให้ เยาวชน ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และชนเผ่าพื้นเมือง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม โลกาภิวัฒน์ก็เปิดโอกาสใหม่ๆในการร่วมมือเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น กลไกเพื่อการปกครองที่ดีขึ้นของประชาคมโลกและความก้าวหน้าทางการติดต่อ สื่อสาร และเทคโนโลยีในการส่งและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ กลวิธีการส่งเสริมสุขภาพจะสามารถลดความเสี่ยงทางสุขภาพระหว่างประเทศที่ป้องกันได้ โดยการกำหนดนโยบาย และ การกำหนดให้มีความร่วมมือทางด้านต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว และข้อได้เปรียบอื่นๆที่มาพร้อมกับยุคโลกาภิวัฒน์นี้ ให้มากที่สุด และในขณะเดียวกัน ก็พยายามจำกัดผลเสียที่มาพร้อมกันด้วย ให้เหลือน้อยที่สุด

การจัดการกับความท้าทายที่มาพร้อมกับยุคโลกาภิวัฒน์นั้น จำเป็นจะต้องมีนโยบายที่สอดคล้องกันในทุกๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของสหประชาชาติ องค์กรอื่นๆ และหน่วยงานภาคเอกชน การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และจะช่วยให้มีการนำข้อตกลงระหว่างประเทศ และ สนธิสัญญาต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพ ไปปฏิบัติให้เกิดผลมากขึ้น คำมั่นสัญญาที่จะลดความยากจนทั่วโลกโดยการปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ใน เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) นั้น จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งกระบวนการนี้จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน ส่วนการผลักดันให้สุขภาพเป็นศูนย์กลางของการพัฒนานั้น ประสบความสำเร็จบ้าง แต่ยังสามารถก้าวหน้าไปได้อีกมาก

ยุทธวิธีการส่งเสริมสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์

ประชากรของโลกจะมีสุขภาวะที่ดีได้ ก็ต่อเมื่อมีการสนับสนุนของภาครัฐ ความร่วมมือจากหลายด้าน และการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับการพิสูจน์ว่าให้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี ดังนั้นทุกหน่วยงานควรจะ

· สนับสนุน สร้างเสริมสุขภาพบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

· ลงทุน ในนโยบายที่ยั่งยืน ในการลงมือปฏิบัติและโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

· พัฒนาศักยภาพ เพื่อพัฒนานโยบาย ความเป็นผู้นำ การส่งเสริมสุขภาพ การถ่ายทอดความรู้และการวิจัย และการมีความรู้ทางด้านสุขภาพ

· ควบคุม และออกกฎหมาย เพื่อป้องกันภัยอันตราย และเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการมีสุขภาพ และสุขภาวะที่ดี

· ร่วมมือ และสร้างเครือข่ายกับทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอ็นจีโอ และประชาชน เพื่อให้เกิดดำเนินการที่ยั่งยืน

คำมั่นสัญญาการสร้างเสริมสุขภาพ

ให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นวาระสำคัญของการพัฒนาของโลก

องค์กรของรัฐและองค์การระหว่างประเทศจะต้องพยายามลดความแตกต่างทางสุขภาวะของผู้มีอันจะกินและผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า ควรจะมีข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างรัฐบาลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของสุขภาพ ขณะนี้ ยังขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการค้า สินค้า การบริการ และการโฆษณาชวนเชื่อ การส่งเสริมสุขภาพจำเป็นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของทั้งนโยบายภายในประเทศ นโยบายระหว่างประเทศ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในภาวะสงครามและในภาวะสงบสุข ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการสื่อสาร และเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ประชาชน และภาคเอกชน ความพยายามเหล่านี้สามารถนำบทเรียนจากสนธิสัญญาที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ได้ เช่น ข้อตกลงว่าด้วยการควบคุมการสูบบุหรี่ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization Framework Convention for Tobacco Control) เป็นต้น

ให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นความรับผิดชอบของทุกรัฐบาล

สุขภาพเป็นตัวกำหนดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนั้น รัฐบาลทุกระดับจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะที่ย่ำแย่ และความไม่เท่าเทียมกันอย่างเร่งด่วน ภาคสาธารณสุขจะต้องเป็นผู้นำในการกำหนดนโยบาย และสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพ ภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งทั้งนี้ ปัจจัยต่างๆอาจขึ้นกับภาคต่างๆ รวมทั้งภาคสาธารณสุข นโยบายที่สอดคล้องกันภายในหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล และความพยายามร่วมงานกับภาคเอกชน และ หน่วยงานอื่น จำเป็นต่อความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง หน่วยงานของรัฐทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญแก่การลงทุนเพื่อสุขภาพ ทั้งในและนอกภาคสาธารณสุข และจะต้องให้เงินสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน รัฐบาลทุกระดับควรจะกำหนดผลลัพธ์ของนโยบายและกฎหมายไว้อย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือ เช่น การวัดผลกระทบต่อสุขภาพโดยเน้นความเท่าเทียมกัน และ แผนงานสุขภาพที่ครอบคลุมหลายภาคทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น

ให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นหัวใจของชุมชนและประชาชน

ชุมชน และประชาชนมักเป็นผู้นำในการริเริ่ม การจัดรูปแบบและดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นพวกเขาควรได้รับสิทธิ โอกาส และทรัพยากร เพื่อผลกระทบจากกิจกรรมของพวกเขาจะได้ขยายวงกว้างขึ้นและมีความยั่งยืน การสนับสนุนให้เกิดการสร้างศักยภาพนั้น สำคัญยิ่งในชุมชนที่ได้รับการพัฒนาน้อย จะเห็นว่าชุมชนที่มีการจัดการที่ดีและพึ่งพาตัวเองได้จะมีประสิทธิภาพในการกำหนดสุขภาพของตนเองสูง และยังสามารถทำให้รัฐบาลและภาคเอกชนรับผิดชอบหากนโยบายและการดำเนินการของหน่วยงานส่งผลกระทบทางสุขภาพแก่ผู้คนในชุมชนของตน ประชาสังคมจำเป็นจะต้องผึกฝนการใช้อำนาจของตนที่มีอยู่ โดยรู้จักการเลือกบริโภคสินค้า ผลิตภัณฑ์ และหุ้นของบริษัทที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility) โครงการเพื่อชุมชนในระดับรากหญ้า กลุ่มประชาชน และองค์กรของผู้หญิง ล้วนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพ และวางแบบแผนให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติตามได้ นอกจากนี้ องค์กรของผู้มีวิชาชีพด้านการสาธารณสุขก็มีบทบาทเฉพาะทางในการส่งเสริมสุขภาพด้วย

ให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของการประกอบกิจการที่ดี

การดำเนินงานของภาคเอกชนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน และต่อปัจจัยอันจะส่งผลต่อสุขภาพอื่นๆ ทั้งนี้เพราะอิทธิพลที่มีต่อระดับท้องถิ่น และวัฒนธรรมของชาติ ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อการกระจายรายได้ ภาคเอกชนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน และจะต้องส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีให้แก่พนักงาน ครอบครัว และชุมชน นอกจากนี้ภาคเอกชนยังส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรโลก ดังเช่นในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระดับโลก (global environmental change) ภาคเอกชนจะต้องทำตามข้อกำหนดในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ และทำตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ส่งเสริมและปกป้องสุขภาพ นอกจากนี้ ผู้บริโภค ประชาชน และรัฐบาลควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ เป็นธรรมและปฏิบัติตามเกณฑ์ข้างต้น โดยรัฐบาลอาจให้แรงจูงใจ หรือออกกฎหมายที่เป็นการสนับสนุนหน่วยงานดังกล่าว

คำปฏิญญาระดับโลก

การจะทำตามข้อบัญญัติของปฏิญญานั้น จำเป็นจะต้องนำเอาแนวทางปฏิบัติที่เคยได้ผลมาแล้วในอดีตมาใช้ให้เกิดผลมากกว่าเดิม และจะต้องมีการริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ในการนำเอาการส่งเสริมสุขภาพไปใช้ ความร่วมมือ สหภาพ และเครือข่าย เป็นวิธีการที่จะนำบุคลากร ตลอดจนองค์กรต่างๆให้ทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อให้ประชากรโลกมี สุขภาวะที่ดีขึ้น หน่วยงานทั้งภาครัฐ ประชาชน และภาคเอกชน ล้วนมีบทบาทและความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ความก้าวหน้าของการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน ทำให้ได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ตั้งแต่การนำเอาปฏิญญาออตตาวามาปฏิบัติ ได้มีมติจากการประชุมทั้งระดับประเทศและระดับโลกหลายแห่งว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ หากแต่มติเหล่านั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการกระทำ ผู้เข้าร่วมการประชุมกรุงเทพฯ (Bangkok Conference) เรียกร้องให้ประเทศสมาชิก (Member States) และองค์การอนามัยโลก แก้ปัญหานี้ และขอเรียกร้องให้มีการกำหนดนโยบายและความร่วมมือเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งการจะทำสิ่งเหล่านี้ได้จำเป็นจะต้องมีภาวะผู้นำ

ผู้เข้าร่วมประชุมหวังว่าองค์การอนามัยโลกจะทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อร่วมงานกับประเทศสมาชิกในการจัดสรรทรัพยากร ริเริ่มแผนการดำเนินการ วัดผลการทำงานผ่านตัวชี้วัดและเป้าหมาย และให้มีการรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ นอกจากนี้ ยังได้มีการร้องขอให้องค์การต่างๆของสหประชาชาติศึกษาผลประโยชน์ของการพัฒนาสนธิสัญญาโลกเพื่อสุขภาพ (Global Treaty for Health) และการนำสนธิสัญญานี้ไปใช้

ปฏิญญากรุงเทพฯนี้ เรียกร้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในความร่วมมือระดับโลกนี้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ โดยการปฏิบัติทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น

พวกเรา ผู้เข้าร่วมการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกครั้งที่ 6 (The 6th Global Conference on Health Promotion) ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการตามข้อตกลงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และจะสนับสนุนให้เกิดทรัพยากร นโยบาย และการลงมือปฏิบัติที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

11 สิงหาคม 2548

หมายเหตุ: ปฏิญญาฉบับนี้เป็นความเห็นร่วมของผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพของโลกครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆทั่วโลก ข้อกำหนดต่างๆในปฏิญญาฉบับนี้ไม่จำเป็นที่จะแสดงถึงการตัดสินใจหรือนโยบายขององค์การอนามัยโลก

----------------------------------------------------------------


เครือข่ายองค์กรงดเหล้า และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ภาคี : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

ที่ติดต่อ : 70/300 ซ. นวมินทร์ 79 ถ. นวมินทร์ คลองกุ่ม บึงกุ่ม กทม. 10240
ผู้ประสานงาน :
โทรศัพท์ : 02-734-5945, 02-733-6008-9
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.stopdrink.com/index.php
<hr width="100%" size="2" /> <div align="center">สถานที่ติดต่อ
</div> <div align="center">ที่อยู่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
979/116-120 ชั้น 34 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ถ.พหลโยธิน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2298-0500
โทรสาร 0-2298-0499 หรือ 0-2298-0501
</div> >>ดาวน์โหลดเอกสารแนะนำที่นี่<<—–>>WorldCupResolution.pdf<<

หมายเลขบันทึก: 30771เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
Subject: FW: จม บอลโลก
Date: Wed, 24 May 2006 10:09:03 +0700

เรียน ทุกท่าน
อ.สุปรีดา ร่าง จดหมาย (ปะหน้า) มาให้แล้วคะ ฝากส่งต่อไปยังภาคี เพื่อรวบรวมข้อมูลกลับมาอย่างช้าสุด วันที่ 6 มิ.ย. เพื่อรวบรวมรายชื่อเสนอต่อฟีฟ่า และ ออกข่าวประชาสัมพันธ์ต่อไปคะ

ทั้งนี้ คุณออม (ผู้ประสานงานเครือข่ายแอลกอฮอล์สากล 02-298-0500 ต่อ 1414) จะเป็นคนรวบรวมรายชื่อคะ ขอความกรุณาส่งรายชื่อมายังเมล์ข้างต้น

[email protected]
-ขอบคุณมากคะ
______________________________________________
From: Supreda Adulyanon
Sent: Tuesday, May 23, 2006 8:39 AM
To: Rungarun (วัน) Suwetwattanakul
Subject: จม ปะหน้า

<<จม เชิญร่วมลงนาม-ฟุตบอลโลก.doc>>
<<Bangkok Charter-Thai 290805.doc>>
<<World Cup Resolution.pdf>>

Dr. Supreda Adulyanon
Director, Population Health and Major Risk Reduction Program,
Thai Health Promotion Foundation,
SM. Tower, fl 34th,
979 Phaholyothin Rd,
Phayathai, Bangkok 10400
Tel (662) 298 0500
Fax (662) 298 0499
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท