Emergency 2


เหตุการณ์ตอกย้ำซ้ำสอง และ สาม

ฉุกเฉิน ภาคสอง

 เหตุการณ์ ฉุกเฉิน ที่เกิดในเรือ Victoria Clipper พอสิ้นเสียงประกาศจากทางเจ้าหน้าที่

  "ทีมงาน ม.ข ต่างส่งเสียงเชียร์ ให้ทีมงานมือฉมัง คือ อ.หมอสมภพ อ.หมอศักดา และ เจ้าแม่หัวหน้าคณะพยาบาล พี่เอื้อมพร ศิษย์เก่าพยาบาล ม.ข รุ่น ๑ ลงไป ส่วน JJ หมอรังสี อยู่เฉยๆ รอส่ง X-Ray"

พอทีมงานวิ่งลงไป ก็เดินคอตก ขึ้นมาครับ

  ภาพ เรือ Victoria Clipper รับส่งผู้โดยสารจาก คานาดา และ อเมริกา

" พวกเราทัก ว่าเรียบร้อยแล้วรือ"

ท่านทั้งสามรายงานเต็มสตรีมครับ มีหมอฝรั่งมาดูแลแล้ว พวกเราเลยรอดูเหตุการณ์ต่อไป สักพักมีการนำอ๊อกซิเจน และ ร่วมยาหลายชนิดลงไปพยาบาลผู้ป่วยข้างล่าง และ มีเสียงประกาศ

"จะต้องนำเรือเข้าท่าที่ Port Townsend (ภาพที่ ๔  H Victoria 1) และ จะต้องเสียเวลาไปอีกประมาณ ๓๐ นาที"

 เมื่อเรือถึงท่า พวกเราไปแอบมองว่า "เหมือนในหนังใหม ที่จะมีทีมงาน Medic มารับ"  

เป็นอย่างนั้นครับ "มีทั้งรถพยาบาล มีรถตำรวจ มีทีมงานมากมาย เหมือนหนัง เรื่อง ER ที่โทร.ตาม 911"EMT

 พอส่ง " คุณยาย ขึ้นฝั่ง พวกเราก็ได้เฮ ครับ เพราะกัปตัน ท่านลดราคาเครื่องดื่มทุกชนิดให้จาก ๔ เหรียญ เหลือ ๑.๕๐ เหรียญ ท่านคณบดีทันตแพทย์ หมออิน เลี้ยงครับ"

 สักพักพอเรือออกจากฝั่งไปได้ไม่ถึง ๕ นาที "เฮไม่ออกครับ"

 เรือไม่วิ่ง เพราะ Over Heat คราวนี้ทุกคนหงอย เพราะทีมเราต้องไปขึ้นฝั่งไม่เกิน ๔ ทุ่มจะได้ทานอาหารจีนร่วมกันก่อนขึ้นเครื่อง

 ปรากฏว่าซ่อมกว่าจะเสร็จ กินเวลาไปอีก ทำให้ขึ้นฝั่ง ๔ ทุ่มกว่า ( ครั้งนี้กัปตัน ลดราคาของฝาก  ๑๐ % มีฝรั่งแห่ลงไปอุดหนุนแน่นเลยครับ)

  "สรุปว่าพวกเรา อดอาหารมื้อเย็นครับ ต้องนั่งรถตรงไปสนามบินทันที"Plane 1

  แต่ JJ No Problem เพราะซื้อ "ข้าวหมูแดง หมูกรอบ มาเป็นสะเบียง ตั้งแต่กลางวัน และ ทานสบายท้องไปแล้วครับ แถมแบ่งให้ คุณเอื้อรังสรรค์ และ ท่านเปาโล"

 โดยสรุปงานนี้ "สามเด้ง ครับ"

 ๑. คุณยายท่านป่วยเป็น หอบหืด เรือต้องจอดระหว่างทาง ๑ ครั้ง เสียเวลาเดินทาง

 ๒. เรือเครื่องร้อน วิ่งไม่ได้ต้องลอยเข้ามาซ่อมที่ท่าเดิม เป็นครั้งที่ ๒

 ๓. พลาดเวลาอาหารเย็นHungryครับ แต่ยังดีไม่ตกเครื่องบิน  

 อุทาหรณ์ " ต้องเตรียมตัว (มีเสบียงติดไว้ฉุกเฉิน) ต้องเตรียมร่างกายให้สมบูรณ์ มียาประจำกายหากมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะเมื่อเดินทางข้ามน้ำ ข้ามอากาศ  และ

 สุดท้ายต้องเตียมเผื่อเวลาครับ อะไรจะเกิดมันก็เกิด อย่าหวังน้ำ บ่อหน้า อย่ารอพึ่งพาคนอื่น ต้อง รู้ตน รู้คน รู้ประมาณกาล ครับ"

JJ 





หมายเลขบันทึก: 30756เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านอาจารย์ JJ

  • ตอน 2 นี่สนุกกว่าตอน 1 นะครับ
  • เพราะว่าไม่ต้องคิดครับ (อ่านอย่างเดียว)
  • ทีมฉุกเฉินของฝรั่งดูเหมือนพร้อมว่าบ้านเราครับ
  • อย่างกรณีของเจ้าหญิงไดอาน่า หมอ (ไทย) ท่านนึงเล่าว่า ในขณะที่ Stand by อยู่ในห้องพักแพทย์นั้น ก็มีเสียงประกาศว่า อีกประมาณ 5 นาที จะมีผู้ป่วย vVIP เข้ามา
  • พอเจ้าหญิงมาถึง ทีมงานก็อยู่ในห้องผ่าตัดกันแล้ว
  • ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้านเราจะได้ขนาดนี้
  • รถพยาบาลต้องมี พยาบาล ที่คอยดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วย และประสานงานกับทางโรงพยาบาล (ถ้าจำเป็นเช่น) เช่น ผู้ป่วยชาย อายุประมาณ 20 ปี มาด้วยอาการ compound multiple fracture เสียเลือดมาก มี fracture ตรงไหนบ้างก็ว่าไป Vital sign เป็นอย่างไร BP pulse ให้เตรียมห้องผ่าตัด กระดูก (เชื่อว่าคงเป็นคนละห้องกับผ่าตัดช่องท้อง)  หรือผ่าสมอง อะไรก็ว่าไป
  • เพื่อให้บุคคลากร ที่เกี่ยวข้องใน ER และ OR ได้เตรียมตัว scrub มือและแต่งตัวกันพลางๆ

ที่สำคัญ ระบบควบคุมการจราจรควรมี ระบบ Automatic Emergency Vehicle Priority

  • บางท่านอาจแย้งในใจ "ก็รถฉุกเฉินฝ่าไฟแดงได้อยู่แล้ว"
  • แต่ถ้าบนถนนมีรถเยอะ และรถคันข้างหน้าไม่ชิดซ้ายหรือหลีกทางให้ล่ะ รถพยาบาลจะฝ่าไปแดงไปยังไง
  • ระบบ Automatic Emergency Vehicle Priority สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก เช่น ในกรณี shock เสียเลือดมาก เส้นเลือดในสมองแตก ลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย มีของอุดหลอดลมเด็ก ฯลฯ
  • ถ้าท่านมีโอกาส Request เพื่อจะทำอะไรเพื่อผู้ป่วยได้รอดชีวิตมากขึ้น นอกจากระบบสาธาณสุขแล้ว อย่าลืมนึกถึงระบบควบคุมจราจรด้วยนะครับ
  • ระบบสัญญาณไฟจราจร (ไฟเขียว-ไฟแดง) บ้านเราเกือบทั้งหมดทุกทางแยก เป็นเพียงแค่นาฬิกาตั้งเวลา ให้แดงกี่วินาที เขียวกี่วินาที ก็ว่ากันไป
  • เราจึงพบว่า บ่อยครั้งที่เราต้องหยุดรอ ทั้งๆ ที่ในทิศทางอื่นๆ ไม่มีรถ
  • เมื่อเป็นเช่นนี้ คน (ผู้ขับรถ) จำนวนหนึ่งก็เลยพยายามฝ่าไฟแดง แต่บังเอิญว่าในทิศทางที่ตั้งฉาก (กับคันที่ฝ่าไฟแดง) เป็นไฟเขียว รถคันหนึ่งก็เลยมาด้วยความเร็วสูงด้วยความกลัวว่าจะไม่ทันไฟเขียวรอบ (Cycle Time) นี้
  • ความหายนะก็เกิดขึ้นในบัดดล
  • คนขับรถพยาบาล ทีมรถมูลนิธิฯ หมอ ER หมอรังสี หมอศัลย์ หมอดมยา พยาบาล เวรเปล ก็เหนื่อยกันถ้วนหน้า
  • แต่ถ้าทุกท่านที่กล่าวมา ช่วยกันผลักดัน (Request) ระบบควบคุมจราจร ที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันคือ  Adaptive System ที่จังหวะของสัญญาณไฟสัมพันธ์กับปริมาณรถ ณ เวลาจริง (Real Time) อุบัติเหตุ ที่เกิดบริเวณทางแยกคงลดลงบ้างอย่างมีนัยสำคัญ
  • ถามว่าราคาแพงไหม TDRI ประมาณว่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร เมื่อมีผู้เสียชีวิต 1 รายนั้นมีมูลคาประมาณ 4.75 ล้านบาท
  • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุบัติภัยจราจรhttp://www.geocities.com/jarajorn_hadyai/econloss.html
  • Adaptive Traffic Signal System ราคาประมาณแยกละ 2 ล้านบาทครับ นับว่าถูกมาก ถ้าเทียบกับชีวิตคน 1 คน
  • ดังนั้นถ้าแยกไฟแดงไหนมีคนตาย ก็เปลี่ยนระบบให้ดีขึ้นเถอะครับ
  • สุดท้ายนี้ขอให้ทุกชีวิตบนถนน ถึงบ้านอย่างปลอดภัยครับ

WoW! exciting!

Thank you for your suggestion, Mr เปมิช I got many ideas from you.

From Dr. JJ article, I have learnt that Learning by observing is a good way of practice and learning by reading is another good, and learing by reflecting is a great way of KM.

 

  • ตื่นเต้นมากเลยครับ
  • ดีที่ทุกคนปลอดภัย
  • ขอบคุณคุณ ไร้นาม ครับ
  • หน้าบ้านผมเป็นสี่แยกไฟแดง พอกลางคืนรถน้อย เขาก็เปลี่ยนจากไฟเขียวไฟแดง เป็นไฟกระพริบ เพราะว่าไม่ได้เป็นแบบ Adaptive ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  • พอเป็นไฟกระพริบ รถ (เกือบ) ทั้งหมด ก็ไม่สนใจ ขับผ่านทางแยกไปโดยไม่ชะลอความเร็ว ความหายนะก็บังเกิดขึ้นเป็นประจำ ทำเอาผมนอนไม่ค่อยหลับเวลาได้ยินเสียงรถแล่นมาด้วยความเร็ว เพราะไม่รู้ว่าคืนนี้จะมีหวยออกหรือปล่าว
  • ครั้งหนึ่ง ชนกันแรงมาก รถกระบะ กับ จยย ทั้งคนขับและคนซ้อน จยย นอนนิ่งไม่ไหวติง (คนขับสวมหมวกนิรภัยแต่ไม่คาดสายรัดคางส่วนคนซ้อนไม่ได้สวม) จากนั้นสักครู่ใหญ่ๆ ก็มีรถ (กระบะ) อาสาสมัคร (มีอุปกรณ์พร้อมเพรียง) มาถึงที่เกิดเหตุ ก็ขนคนเจ็บขึ้นรถกระบะไป โดยไม่มีการป้องกันการเคลื่อนของกระดูกคอ และอื่นๆ  สักพักรถพยาบาลของมูลนิธิก็มา รับอีกคนไป
  • จากการสังเกตพบว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยของรถพยาบาลถูกต้องตามหลักวิชามากกว่า ของรถอาสาสมัคร
  • ทำให้คิดว่า เราควรจะให้รถ อาสาสมัคร เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ในทันทีหรือว่า รออีกหน่อย แล้วไปกับรถพยาบาลดี
  • เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้ เจ้าหน้าที่ สสจ ฟัง เขาแย้งว่าเคยอบรมไปแล้ว
  • เมื่อรถชนกันบ่อยเข้าๆ ผมทนไม่ไหวเลยใช้กำลังภายในนิดหน่อย เขาเลยเปิด ไฟเขียวไฟแดงตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รถก็ไม่ชนกันอีกเลย
  • ผมเลยได้นอนหลับอย่างอุ่นใจ
  • ผมเลยคิดว่า น่าจะมีใครศึกษาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณสัญญาณไฟจราจรอย่างจริงจัง ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย หรือว่าสามารถป้องกันได้ (ด้วยระบบ Adaptive)
  • น่าจะมีการศึกษา ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มาโรงพยาบาลโดยรถอาสาสมัครว่า มีการบาดเจ็บ (เพิ่มขึ้น) จากการเคลื่อนย้ายบ้างหรือไม่
  • ครั้งหนึ่งมีญาติประสพอุบัติเหตุ (อยู่ในรถกระบะ) กระดูกคอเคลื่อน แต่โชคดีที่ยังมีสติ มีรถมูลนิธิมาช่วย กำลังจะเคลื่อนย้ายคนเจ็บออกมาจากรถ แต่คนเจ็บบอกว่าอย่าเพิ่งขยับ คอฉันมีปัญหา (เดาว่ามี Fracture+Dislocation ที่ C6 - C7) เจ้าหน้าที่ถึงได้นำ Collar มาใส่ให้ หาไม่แล้ว ผู้บาดเจ็บอาจจะเจ็บมากขึ้นจนพิการเป็นอัมพาตไปเลยก็ได้ วันนี้เขาหายแล้วแม้จะไม่เป็นปกติก็ตามเพราะมีลวดมัดกระดูกคอเอาไว้
  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้าผู้ป่วยหมดสติ แล้วมีใครมาเคลื่อนย้ายโดยไม่ใส่ Collar
  • เราควรให้คนไม่ชำนาญมาย้ายผู้ป่วยหรือไม่
  • ถ้ายังอยากให้ อาสาสมัครเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต่อไป เราก็ควรฝึก อาสาสมัคร มูลนิธิให้มีความชำนาญในการประเมินสภาพคนเจ็บ และชำนาญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • ต้องซ้อมบ่อยๆ (อย่างน้อยที่สุดเดือนละครั้ง) เท่านั้นถึงจะชำนาญ
  • แต่ทางที่ดีที่สุด หยุดอุบัติเหตุ อย่าให้เกิด เป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ
  • Road safety is no accident
  • ดื่มไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ปฏิบัติตามกฎ ลดความเร็วลงอีกนิด ทุกชีวิตจะปลอดภัยครับ
  • http://gotoknow.org/arrive-alive
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท