จุดอ่อนของระบบการรักษาแบบเน้นปฏิบัติการที่โรงพยาบาล


diiference or die

จุดอ่อนของระบบการรักษาแบบเน้นปฏิบัติการที่โรงพยาบาล

 

การรักษาพยาบาล   ด้วยโรงพยาบาลถือกำเนิด    มาจากทวีบยุโรปในยุคฟื้นฟู  ศิลปะวัฒนธรรม   ในช่วงศตรววษที่ 19     โรงพยาบาลถือเกิดขึ้นมาจากสาเหตุ 2 ประการ ก็คือโรงพยาบาลใช้รักษาผู้บาดเจ็บจากสงคราม    และผู้ติดเชื้อจากโรคระบาด   ดังนั้น  คนไข้ที่โรงพยาบาลรักษาเกือบทั้งหมด   เป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่โรคเรื้อรัง     คือเมื่อรักษาคนไข้หายดีแล้ว   คนไข้ก็กลายเป็นคนปกติสามารถกลับสู่สังคมได้ตามปกติ    การรักษาจึงมุ่งเน้น การให้การรักษาแบบประคับประครองคนไข้เมื่อมีอาการกำเริบ   เช่น ให้ยาแก้ปวด   ให้ยาลดไข้   ให้สารน้ำและเกลือแร่   เย็บแผล  ล้างแผล  ทำหัตถการต่างๆ    สำหรับคนไข้ที่ติดเชื้อจะมีการให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อให้หมดสิ้นไป

การที่โรงพยาบาลในอดีต   ต้องถูกแยกออกมาจากชุมชนนั้นมีเหตุผลสำคัญอยู่ 2 ประการก็คือ  คนไข้หลายคนเป็นโรคติดต่อ   ดังนั้นการแยกคนไข้ออกจากชุมชน  ก็เป็นวิธีลดการแพร่กระจายเชื้อได้   นอกจากนี้  โรงพยาบาลยังต้องแยกออกมาเป็นเอกเทศและเด่นชัด  จากชุมชน จึงจะสามารถอ้างสิทธิในการห้ามทิ้งระเบิด   หรือถูกโจมตีในภาวะสงครามได้   ดังนั้นในอดีตโรงพยาบาลกับชุมชนจึงถูกตัดขาดจากกัน  ในปัจจุบันโรคร้ายที่คุกคามประชาชนไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่สงคราม   แต่เป็นโรคเรื้อรัง  โรคเอดส์  โรคเบาหวาน  โรคหัวใจและหลอดเลือด     โรคเหล่านี้คือที่จะติดตัวและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยไปตลอดชีวิต   การรักษาในโรงพยาบาลไม่ถือว่าเป็น  จุดแตกหักในการรักษาคนไข้     ไม่ว่าจะเป็น  การจ่ายยา   การให้สารน้ำ   การทำหัตถการต่างๆ  ฯลฯ

จุดแตกหักในการรักษาโรคเรื้อรัง ก็คือ  การวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม   ความร่วมมือของผู้ป่วยและครอบครัวในการรักษา  การติดตามดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น   การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย   การเลิกบุหรี่และสุรา    และสุดท้ายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย  จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่ถือว่าเป็นจุดแตกหักในการดูแลผู้ป่วยนั้น  ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลเลย     ในทางตรงกันข้าม  กิจกรรมที่เป็นจุดแตกหักในการรักษาผู้ป่วยกลับเป็นกิจกรรมที่ควรอยู่ที่บ้านหรือชุมชนไม่ว่าจะเป็น  การใช้ยาของผู้ป่วย  การออกกำลังกาย   การรับประทานอาหาร   การติดตามภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  ที่อาจเกิดขึ้น   เป็นต้น

ปัจจุบันงานบริการในโรงพยาบาล  มีมากแพทย์  พยาบาลต้องทำงานอย่างหนัก  ตลอดวันทำการเนื่องจากมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก   จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า  แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  และบุคลากรอื่นๆ มีโอกาสพูดคุยกับผู้ป่วยรวมเวลากันไม่ถึง 3 นาทีด้วยซ้ำ  ดังนั้นเวลาที่จำกัดนี้   ทำให้บุคลากรของโรงพยาบาลไม่มีเวลาพอในการค้นหาสาเหตุปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย   หรือให้คำแนะนำที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอได้แน่นอน   เวลาที่ผู้ป่วยใช้ไปส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลคือการรอ   รอค้นบัตร  รอพบแพทย์  รอฟังผลการตรวจ  รอรับยา ....  ถือว่าเวลากว่าร้อยะ 90 ที่ผู้ป่วยใช้ในโรงพยาบาลคือการรอ   ซึ่งการรอไม่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษาโรคอย่างแน่นอน

การรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล    จะมีระบบและขั้นตอนที่ตายตัว  และไม่ยืดหยุ่น  ตามแนวคิดการผลิตตามสายพานการผลิตอของฟอร์ดนั่นเอง      งานต่างๆ ในระบบบริการผู้ป่วยจะถูกแบ่งสอย  ออกเป็นหลายฝ่าย  หลายขั้นตอน  เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบควบคุม และความประหยัดในการผลิต      ในการผลิตรถยนต์  นั้นต้องการผลิตสินค้าที่เหมือนกันในจำนวนมาก    ในทางตรงกันข้าม  การรักษาคนไข้   เป็นการให้การรักษาเฉพาะราย  ดังนั้นการวินิฉัยและการค้นหาสาเหตุการเจ็บป่วยคือขั้นตอนแรก   ในการผลิตหรือการให้บริบาลผู้ป่วยนั่นเอง   ในการวินิจฉัยและหาสาเหตุการเจ็บป่วย   ต้องอาศัยทั้ง  ความรู้   ทักษะ    ความชำนาญและเวลาที่มากพอในผู้ป่วยแต่ละราย    ซึ่งเป็น   เวลา   ความรู้  ความชำนาญ   เป็น สิ่งที่โรงพยาบาลชุมชนไม่มี

และสุดท้าย  การวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมนั้น  ต้องอาศัยแพทย์  พยาบาล   และบุคลากรอื่นๆ   ที่มีความรู้  ความชำนาญ  ในการรักษาคนไข้   ซึ่งบุคลากรเหล่านี้  มักขาดแคลน มาก ในโรงพยาบาลชุมชน  ขนาดเล็ก  แต่อย่างไรก็ตาม   หากระบบพัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาลดีพอ   ก็จะสามารถสร้าง แพทย์  พยาบาล  และเภสัชกร  ที่มีความรู้ และทักษะในการบริบาลผู้ป่วยสูงได้   โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มีงบประมาณเพียงพอแต่อย่างไรก็ตาม   การที่แพทย์  เภสัชกร   ไม่สามารถอยู่โรงพยาบาลชุมชนได้นานอาจเนื่องมาจากปัญหาของรายได้ที่ต่ำว่า   และโอกาสพัฒนาความรู้ทางวิชาการ   การใช้ทักษะวิชาชีพมีน้อยกว่า   โรงพยาบาลศูนย์อย่างชัดเจน   แต่ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน สามารถวางระบบบริหารจัดการ  เพื่อแก้ปัญหานี้ได้  โดยอาจส่งผลดี ต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและสามารถรักษาบุคลากรได้พร้อมๆ กัน

คำสำคัญ (Tags): #km#บทความ#เภสัชกร
หมายเลขบันทึก: 307529เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถ้าทำได้มันคงดี...แต่ยังไงคนไข้ก้อยังมากอยู่ดีเนอะ

ครับ ปัญาคนไข้มาก คงแก้ยาก

เพราะมีคนไข้อีกมากมาย

ที่ยังไม่เข้าถึงการรักษาครับ

นโยบายบังคับให้ผู้ป่วยวัณโรค ต้องมาอยู่ในรพ. เพื่อป้องกันการไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่ง น่าจะเป็นตัวอย่างของการใช้ระบบโรงพยาบาลมากไป นะครับ

ดิฉันเข้าโรงพยาบาลที...สงสารคนไข้มากมายที่รอหมอ.....สงสารหมอ..พยาบาลหน้าห้อง ตลอดจนเภสัชกรที่ทำงานกัน อย่างหนัก...ได้พักเที่ยงแค่ 1 ชั่วโมง....ยืน...พูด...บันทึก...ซักถาม....รองรับอารมณ์ผู้ป่วย  จนเลิกงานถึงได้หยุด....แต่เงินก็ดีกว่าอาชีพอื่นๆ ในวุฒิที่เท่ากัน ...จริงไหมล่ะ

ผมว่า ครู ก็ลำบากมากครับ แม่ผมก็เป็นครูครับ

เภสัชกร เงินเดือนมากกว่า ครูแน่นอนครับ ดังนั้นครูน่าสงสารครับ

สวัสดีค่ะ นายศุภรักษ์ ศุภเอม

          เข้ามาติดตามความคิดเห็นอีกครั้ง   ครูถึงจะลำบากแต่ทำงานตามความคิดในการพัฒนางานของตนเอง สามารถพักได้เมื่อต้องการพัก  อยู่กับการสร้างสรรค์  พัฒนา  อยู่กับความน่ารักของเด็กๆ  เวลาเปิดเรียน 200  วัน/ปี  สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับ 9-10  ถ้าความสามารถถึง  แต่เภสัชกรงานเสี่ยง  อยู่กับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากสารเคมี  โรคจากผู้ป่วย ความเสี่ยงถูกฟ้องร้อง  พัฒนาสู่ระดับสูงได้ยาก  วันทำงานเยอะ

    

ขอให้อาจารย์ปริมปรางมีสุขภาพดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท