ดีใจที่มีคนรัก palliative care มากขึ้นเรื่อยๆ


เป็นวิทยากรเเลกเปลี่ยนให้กับพี่น้องชาวหอผู้ป่วยเด็ก 2ค พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหอผู้ป่วยทารกเเรกเกิด

วัที่ 13 ต.ค.52 ที่ผ่านมาเป็นการบริหารเวลาที่คุ้มค่ามาก ช่วงบ่ายของการประชุมวิชาการคณะเเพทย์ ฉันเองต้องปลีกเวลาเพื่อไปเป็นวิทยากรเเลกเปลี่ยนในหัวข้อ การดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย( bereavement care ) ให้กับทีมการพยาบาลหอผู้ป่วยทารกเเรกเกิด 2ค ซึ่งตอนนี้น้องลูกหมี พยาบาลคนขยันเธอจุดประกายไฟลุกโชนจากการได้ไปร่ำเรียนหลักสูตรป.โท สาขาการพยาบาลเด็ก มข. ของเรานี่เอง ในการเริ่มโครงการย่อยการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในทารกเเรกเกิด ดีใจมากที่มีคนรัก palliative  มากขึ้น การตอบรับมาบรรยายในบ่ายของวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ฉันทำด้วยความยินดี  

             เที่ยงครึ่ง ฉันเดินทางไปถึงตึก สว. ชั้น 18 เพื่อเตรียมการบรรยายปรากฎว่าไปถึงการบรรยายภาคเช้ายังไม่จบ เข้มข้นมากมีท่านอาจารย์จากคณะพยาบาลมาช่วย 2 ท่าน ผศ.พูลสุข ศิริพูลเเละ รศ.ดร.จินตนา  ตั้งวรพงศ์ชัย

                                          กำหนดการ 

   การประชุมวิชาการ เรื่อง  การพัฒนาความรู้ของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในทารกเเรกเกิด 

วันที่ 13 ตุลาคม 2552   เวลา8 .00 น. -16.00 น.

ณ   ห้องประชุมตึก สว2 .ชั้น 18 ห้อง 7

……………………………………………………………………………………………………….

  8.00 น. – 8.30 น.                         ลงทะเบียน

 

  8.30 น. – 8.45 น.                         พิธีเปิด

                                                      โดย : นาง สุชีลา   เกษตรเวทิน

                                                       ผู้ตรวจการแผนกการกุมารเวชกรรม 

                                            

  8.45 น. -10.15 น.                         ความหมายและแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

                                                โดย:  รศ.ดร. จินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย

  10.15น. -10.30น.                         พักรับประทานอาหารว่าง                                                                                                                                                                                 

  10.30น. -12.00 น.                        การจัดการอาการเพื่อสร้างความสุขสบายให้เด็กได้ตายอย่างสงบ

                                                      โดย: ผศ.ดร. พูนสุข ศิริพูล  

  12.00น. -13.00 น.                        พักรับประทานอาหารกลางวัน

  13.00น. -14.30 น.                        Bereavement care

                                                      โดย: นาง สุธีรา พิมพ์รส

                                                      พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 3ง

  14.30น. -16.00 น.                        แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย

                                                       และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ

……………………………………………………………………………………………………….

 

 เมื่อได้เวลาจึงเริ่มการบรรยาย การบรรยายในครั้งนี้ฉันมีเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คิดว่ามากพอที่จะทำให้ฉันมีโอกาสได้เล่าเรื่องราวการให้การช่วยเหลือครอบครัวสูญเสียได้อย่างละเอียด นับตั้งเเต่ conceptของเรื่อง การริเริ่มจุดประกายก่อเกิดโครงการการดูแลครอบครัวสูญเสีย ฉันย้ำกับผู้ฟังว่าสำคัญคือจะต้องมี bereavement co-ordinator ที่จะต้องประสานเเละเป็นเหมือนผู้ให้คำปรึกษาครอบครัวได้ เเต่ละสไลด์ที่ค่อยๆฉายขึ้น ฉันตั้งใจอย่างยิ่งว่าให้ทุกคนเห็นภาพในทุกโปรเเกรมการดูแลที่ฉันเเละทีมเด็กมะเร็งได้ทำ สามารถนำลงสู่การปฏิบัติได้เลย ไม่ว่าจะเป็นโครงการภาพประทับใจที่ทำ memory เก็บไว้ให้ครอบครัว โครงการจดหมายคลายทุกข์ กำลังใจเเด่น้อง ที่เขียนจดหมายให้กำลังใจโครงการรำลึกถึงน้องผู้จากไป โครงการติดตามดูแลให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ จนกระทั่งครบ 1 ปีของการจากไปของเด็ก ก่อนจะถึงสไลด์สุดท้ายฉันบอกกับผู้ฟังว่า อย่าลืมดูแลตัวเองเเละทีม (Team empowerment)เพราะการอยู่กับความทุกข์ของครอบครัวสูญเสียมีบางครังที่เราเองน้อมเอาทุกข์นั้นมาใส่ตัวเราด้วย เพราะเจอกับตัวเองบางเวลาเกิดความกลัวเเละหวาดหวั่นว่าวันหนึ่งหากเราต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เราจะเป็นอย่างไรเพราะฉะนั้น

  • ควรหยุดพักอย่างสม่ำเสมอ

•ส่งต่อหรือขอให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสถานการณ์นั้นมาช่วยกรณี case ที่มีปัญหาซับซ้อน

•รู้จักผ่อนคลายในแต่ละวัน

•มีการทำกิจกรรมให้เกิดความเพลิดเพลินในแต่ละวัน

•ยอมรับในการเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในขอบเขตที่จำกัด

ถ้ามีความเครียดมากให้ถอยห่างออกก่อน

•บอกตัวเองเเละทีมว่าการให้การช่วยเหลือครอบครัวสูญเสียเป็นสิ่งที่เราเลือกที่จะทำ ไม่ใช่เราจะต้องทำ

     ฉันจบการบรรยายด้วยสไลด์รูปพระอาทิตย์ตกดิน ที่มองเห็นความมืดสลัวสลัว เเต่มองเข้าไปลึกๆเเล้วในความมืดสลัวก็ยังมีความงดงาม เฉกเช่นความสูญเสียทุกคนยอมรับว่าหากใครได้เจอกับตัวคงพูดไม่ออก ว่าทุกข์ขนาดไหน การดูแลครอบครัวสูญเสียจึงเป็นอีกเเง่งามหนึ่งของงานบริการสุขภาพ  ในความมืดมิดจึงไม่ได้โหดร้ายเสมอ เเต่ยังมีความงามให้เราได้เห็นเเละได้เรียนรู้

 

 

 เเละปิดการบรรยายสุดท้ายจริงๆด้วย multivision อาลัยรักน้องนิ้ง ที่เคยนำไปฉายประกอบการบรรยายเเลกเปลี่ยนให้กับพี่น้อง SHA เมื่อครั้งเดินสายไปกับทีมเเม่ต้อย ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยพี่น้อง SHA ภาคอีสาน เหนือ เเละภาคกลางได้ชมสไลด์นี้เเล้ว

        ฉันเชื่อว่าเรื่องราวของน้องนิ๊ง บทกลอนของคุณตาที่กลั่นกรองจากหัวใจผู้สูญเสีย ภาพทุกภาพในสไลด์ บอกให้ทราบถึงการดูแลน้องนิ้งเเละครอบครัวของทีมทุกๆ process นับตั้งเเต่น้องป่วย เเละจนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย  เรียกว่าทำเอาหลายคนร้องไห้เพราะ in เอามากๆ ฉันเองอยากให้ผู้ฟังได้ร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้สูญเสีย ความทุกข์ยาก ความเจ็บปวด กับการที่ต้องเสียลูก- หลาน อันเป็นที่รัก อยากจุดประกายให้ผู้ฟังได้คิดว่างานการดูแลครอบครัวสูญเสียเป็นงานที่ท้าทายอีกงานหนึ่งของทีมการดูแล  เเละในวันนี้ฉันต้องขอขอบคุณพี่เขียว พี่สุดารัตน์ สุภาพงษ์ ( หัวหน้าฉันเองค่ะ) ที่มานั่งให้กำลังใจเเละที่สำคัญต้องขอบคุณที่นำลำโพงมาให้จนสามารถเปิด multivision ได้

        ปิดท้ายการอบรมวันนี้ด้วยการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสมาชิกผู้เข้าอบรมว่าได้อะไร จากการอบรมครั้งนี้เเละคิดว่าเราจะเริ่มให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างไร มีสมาชิกท่านหนึ่งได้พูดถึงความประทับใจที่มีต่อการฟังการนวดเพื่อผ่อนคลายในทารกเเรกเกิดที่ใกล้เสียชีวิตที่ท่านอาจารย์พูลสุขได้บรรยายไป ท่านหนึ่งบอกว่า "ชื่นชมในงาน bereravement care ที่น้องกุ้งเเละทีมเด็กมะเร็งทำ perfect เเละอยากทำให้ได้ค่ะเเต่ดูเหมือนจะยาก" ฉันจึง empower ว่า "ไม่ยากหากเรามีความตั้งใจที่จะทำ ค่อยๆเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่างที่เราทำก็เริ่มจากจดหมายก่อน  จากนั้นค่อยๆขยายผล ดูเหมือนเราทำได้เยอะ เเต่เเต่ละโปรเเกรมจะค่อยๆเกิดขึ้นเเละเชื่อมต่อให้ดูสมบูรณ์ขอเป็นกำลังใจให้ทีมทารกเเรกเกิด จะรอดูเเละเป็นที่ปรึกษาให้หากมีสิ่งใดที่จะให้ช่วยก็ยินดี"

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306611เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เข้า ร่วมขบวนการดูแลผุ้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยครับ

ยินดีมากๆเลยค่ะ คนที่รัก palliative คือคนใจบุญค่ะน้องศุภรักษ์ ฝากความคิดถึงถึงพี่หมอเขียวหน่อยนะคะ ว่างๆจะไปเทียวอุบลรัตน์

ไม่ได้ไปนานเเล้ว กินปลาเผา เเซบหลาย

  • มาร่วมเรียนรู้ การดูแล.เพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย ด้วยคนครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะน้องกุ้งนาง พี่แดงไม่มีอะไรก็คิดถึงดอกไม้ ดูไม่เบื่อเลย

ดีใจด้วยนะคะที่แผนกของเราเห็นความสำคัญ ดอกไม้สีขาวให้คนสวยและเก่ง

 

 

สวัสดีครับ พี่กุ้ง,

เข้ามาอ่านและทักทายครับ

พี่กุ้งสบายดีนะครับ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะคุณสามสักที่ให้ความสนใจงานการดูแลครอบครัวสูญเสีย

พี่เเดง ขอบคุณดอกไม้สวยๆ ลืมถามว่ากาเเฟอร่อยมั๊ย อย่าลืมเด้อวันที่ 20 ตามสัญญานะคะ

สวัสดีตอนดึกเช่นกันค่ะน้อง did นอนดึกเหมือนกันนะคะ พี่กุ้งสบายดีค่ะ ขอบคุณที่เป็นห่วงสุขภาพ

สวัสดีคะ

น้องกุ้งนาง

คิดถึงแม่ต้อยไหมคะ เพราะว่าหายหน้าไปนานจัง

งานเยอะมากคะ และต้องถนอมร่างกายนิดหน่อยด้วยคะ

น้องกุ้งนางเก่งขึ้นทุกคืน ทุกวันเลยนะคะ

คิดถึงเสมอคะ

คิดถึงมากค่ะ คิดว่าเเม่ต้อยกำลังยุ่งอยู่กับการลงพื้นที่เยี่ยมโรงพยาบาล SHA อย่างเเน่นอน ปรากฎว่าเห็นบันทึกเเม่ต้อยวันนี้จึงบอกตัวเองว่าใช่เลย งานมหกรรม SHA เเม่ต้อยจะให้กุ้งเป็นพิธีกรให้จริงๆหรือเปล่าคะ อิ อิ ยังอยากมีส่วนร่วมกับโครงการ SHA อีกครั้งค่ะ เเต่ถึงไม่ได้เป็นพิธีกร ก็ไปเเน่นอนค่ะ

สวัสดีค่ะ  ร่มด้วยคนนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจค่ะ
  • มีความสุขในชีวิตการทำงาน และชีวิตครอบครัวค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ

มาทักทายครับ..
สบายดี นะครับ
ตอนนี้ ผมอยู่ใกล้ๆ โรงพยาบาลฯ  จะแวะไปเยี่ยมสักวันนะครับ

เช่นกันค่ะน้องบุษรา ยินดีที่ได้รู้จัก

อ้าว เหรอคะ มาก้ไม่บอกกัน จะเเวะมาวันไหนบอกด้วยนะคะ จะชวนพี่ๆบล็อกเกอร์ชาวศรีนครินทร์ พาไปทานส้มตำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท