การดูแลเด็กเป็นเบาหวาน


การดูแลเด็กป่วยเป็นเบาหวาน นอกจากการติดตามดูแลที่บ้านแล้ว ต้องประสานงานกับโรงเรียนด้วย และปัจจัยของครอบครัวจะส่งผลถึงคุณภาพการดูแลเด็กอย่างมาก

ชื่อเรื่อง การดูแลเด็กเบาหวาน

ผู้เล่า คุณกัณฑิมา  พยาบาลวิชาชีพ

แก่นของเรื่อง การดูแลเด็กป่วยเป็นเบาหวาน นอกจากการติดตามดูแลที่บ้านแล้ว ต้องประสานงานกับโรงเรียนด้วย และปัจจัยของครอบครัวจะส่งผลถึงคุณภาพการดูแลเด็กอย่างมาก

เนื้อเรื่อง

เมธาเป็นเด็กชายอายุ 9 ปี ได้รับการส่งต่อให้เยี่ยมบ้านเนื่องจากเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เดิมนน. 65 kg.  3 สัปดาห์ก่อนมารพ. มีอาการกินจุ น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย  ต้องพักเป็นระยะ  ซึมลง อสม.แนะนำว่าอาการคล้ายโรคเบาหวานจึงเจาะตรวจให้ DTX= 337 ผู้ป่วยจึงมารพ. แพทย์ตรวจเลือดซ้ำวินิจฉัยว่าเป็น เบาหวาน แล้ว  admit เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล 1 สัปดาห์ หลังออกจากโรงพยาบาลทีมเยี่ยมบ้านจึงไปดูแลพบว่า เมธาอยู่กับพ่อซึ่งติดเหล้า พี่ชาย และพี่สาวซึ่งกำลังต้องท้องอยู่ ส่วนแม่แต่งงานใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพทำงานที่สนามกอล์ฟ ยังไม่ได้กลับมา ทีมเยี่ยมบ้านจึงให้ความรู้ญาติ และแนวทางการดูแล

เยี่ยมครั้งถัดมา เมธาอาการปกติดี แต่ตรวจ DTX= 542 จึงส่งต่อมารพ. แพทย์ให้ admit 1 นาน  1 wk เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล เมื่อซักประวัติเพิ่มเติมพบว่าเมธาไม่ค่อยได้ฉีดยาเนื่องจากไม่มีใครฉีดให้ แต่ตอนนี้แม่กลับมาจากกรุงเทพชั่วคราวเพื่อดูแลและรับปากจะฉีดยาให้ 

หลังออกจากรพ. ทีมเยี่ยมบ้านพบว่าการฉีดยาสม่ำเสมอดีขึ้น แต่ซักได้ว่าเวลาเมธาไปโรงเรียนจะไม่ได้ควบคุมอาหาร จึงได้ไปประสานโรงเรียนการดูแล คุณครูจะช่วยดูแลให้เนื่องจากเป็นเบาหวานเหมือนกัน

หลังกลับบ้าน 1 สัปดาห์ทีมเยี่ยมบ้านพบว่าผป. จะไปอยู่กับแม่  จึงประสานแพทย์เขียนประวัติ พยาบาลให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแล hyper-hypoglycemia อาหาร,การย้ายบัตรทอง แม่บอกว่าถ้าหมอไม่มาก็คงไปกรุงเทพเลยโดยไม่ได้ไปขอประวัติจากรพ. คิดว่าฉีดยาเท่าที่มีก็พอแล้ว

ผู้บันทึก  คุณดวงแก้ว ชื่นวัฒนา         วันที่  16 กันยายน 2552

ประเด็นที่น่าสนใจ

  1. ปัจจุบันโรคเบาหวานไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ใหญ่อีกแล้ว เบาหวานในเด็กพบมากขึ้น พยาบาลจึงควรให้ความสนใจมากขึ้น
  2. การดูแลเบาหวานในเด็ก ต้องมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษเนื่องจากความใส่ใจของเด็กต่อโรคนี้มักน้อยกว่าผู้ใหญ่ การควบคุมตัวเองทำได้ยาก และกิจกรรมในแต่ละวันยังต่างกันมาก
  3. ความร่วมมือจากโรงเรียนมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะอยู่ที่โรงเรียนนาน และมีกิจกรรมต่างๆ ที่อาจต้องดูแลเป็นพิเศษ
  4. การให้ข้อมูลโรคเรื้อรังต้องเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยไปในแต่ละครั้ง และทดสอบความเข้าใจทุกขั้น ได้แก่ โรคที่เป็น, การปฏิบัติตน, ผลระยะสั้น, ผลระยะยาว, การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ เช่นผู้ป่วยรายนี้แม้พยาบาลที่ตึกจะให้ความรู้มาแล้ว แต่มารดาก็ยังไม่เข้าใจทั้งหมด
  5. หากเราเข้าใจปัญหารอบด้าน จะจัดเวลาเยี่ยมบ้านได้เหมาะสม เช่นผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้มีปัญหาแค่ตัวโรค แต่ยังมีปัญหาเรื่องคนดูแล จึงต้องเยี่ยมบ่อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้พบผู้ป่วยก่อนย้ายไปกรุงเทพ

ผู้สรุปประเด็น นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์

 

หมายเลขบันทึก: 306286เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เดี๋ยวนี้ผู้ป่วยเบาหวานอายุน้อยลงทุกทีนะครับ ต้องฉีดยา คุมอาหารแต่ยังเล็ก น่าสงสารจริงๆๆ

การดูแลเด็ก ต้องสอนให้ สนุกกับการใช้ยาครับ

ผมเรียกยาแีดเบาหวาน ว่ายาแปลงร่างเพิ่มพลังยอดมนุษย์

เด็กๆ สนุกกันใหญ่ และหายกลัวเข็มเลยครับ

การดูแลเด็กถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน น่าสงสารนะค่ะที่ต้องมีข้อจำกัดสำหรับพวกเขา น่าจะหาสาเหตุแต่ต้น ๆ และหาทางป้องกันในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเด็กกลุ่มนี้ เกี่ยวกับการเลี้ยงดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท