แนวความคิดในการดำเนินงานกลุ่มเกสรชุมชน


การดำเนินงานสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกสรชุมชนพิทักษ์สิทธ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะเป็นไปได้มากด้วยการเร่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มผู้บริโภค เพื่อถือวิกฤติเป็นโอกาส(วิกฤติที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายทุกด้านและพยายามหาทางออกด้วยตนเอง) การดำเนินการต้องทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นประชาคมขึ้นในพื้นที่เป้าหมายอย่างแท้จริง จึงมีแนวความคิดในการปฎิบัติงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกสรชุมชนประชาคมในพื้นที่

        การดำเนินงานสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกสรชุมชนพิทักษ์สิทธ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะเป็นไปได้มากด้วยการเร่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มผู้บริโภค เพื่อถือวิกฤติเป็นโอกาส(วิกฤติที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายทุกด้านและพยายามหาทางออกด้วยตนเอง)  การดำเนินการต้องทำให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นประชาคมขึ้นในพื้นที่เป้าหมายอย่างแท้จริง  จึงมีแนวความคิดในการปฎิบัติงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกสรชุมชนประชาคมในพื้นที่  ดังนี้

  1. ต้องใช้เทคโนโลยีผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้ร่วมกัน เอาเกสรชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ โดยการกระทำทุกวิถีทางให้เยาวชนและชุมชนเสนอภูมิปัญญาที่มีอยู่ในตัวเองออกมาให้ได้นั้นดีมาก แต่จะช้า บางครั้งอาจไม่ทันการ  จึงเสนอให้เรียนรู้ข้ามห้วย(เรียนรู้ข้ามฟากข้ามข่าย)จะทำให้การเรียนรู้ทันเหตุการณ์มากขึ้น
  2. เริ่มจากเล็กไปหาใหญ่
  3. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม
  4. ชี้ชัดให้เห้นทุกข์  ปลุกเร้าให้ลุกขึ้นสู้  การให้ความรู้
  5. กระตุ้นให้กล้าแสดงออก
  6. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมค้นแกนนำที่แท้จริงมาร่วมกันสร้าง
  7. ให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนือง
  8. การติดตามผลในระยะแรกต้องใกล้ชิด
  9. สร้างองค์กรชุมชนภานในที่หลากหลายมาร่วมกันพัฒนาโดยหน่วยงานภายนอกเป็นผู้หนุนเสริม
  10. สร้างให้ข้าราชการและหน่วยงานภายนอกเป็นอาสาสมัครทำงานให้ชาวบ้าน
  11. การดำรงความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับกลุ่มและชุมชน

 

วิธีดำเนินงาน

  1. เครือข่ายเกสรชุมชนกรุงเทพฯและเครือข่ายเกสรชุมชนเขตดำเนินการประสานแผนการดำเนินงานในระดับนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเขตและกทม.เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการสร้างศักยภาพในการจัดตั้งกลุ่มเกสรชุมชนในพื้นที่ร่วมกัน
  2. จัดการประชุมหารือผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ร่วมกันกำหนดพื้นที่เป้าหมาย  ร่วมกันคิด  ร่วมกันวางแผน  และแบ่งงานกันทำเพื่อดำเนินงานจัดตั้งกลุ่มต่อไป
  3. จัดหาวิทยากรกระบวนการเครือข่ายเกสรชุมชนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งกลุ่มเกสรชุมชนในพื้นที่กับคณะกรรมการชุมชนพี่เลี้ยง
  4. จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเกสรชุมชนและดำเนินการฦกอบรม โดนใช้เทคนิคการจัดประขุมเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม  เพื่อปรับความคิดของกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 2 ครั้ง
  5. สร้างกลุ่มจากผู้ที่สนใจและสมัครใจก่อน โดยใช้หลักการพึ่งตนเองซึ่งเป็นผลมาจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จัดตั้งองค์กลุ่มเกสรชุมชน  ควรกำหนดคำขวัญการพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตนเอง  สร้างหรือค้นผู้นำที่แท้จริง  ตั้งกรรมการพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนากลุ่ม  กิจกรรมใดที่จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกก็เชื่อมกับเครือข่ายเขตและเครือข่ายเกสรชุมชนกรุงเทพเพื่อช่วยประสานงานต่อไป
  6. สร้างระบบการประสานงานกับเครือข่ายเกสรชุมชนเขตและเครือข่ายเกสรชุมชนกรุงเทพฯหน่วยงานรัฐ  เอกชน และองค์กรสื่อ องค์กรสิทธิ องค์กรผู้บริโภคและสบท.
  7. ติดตามผลและดำรงความสัมพันธ์กับกล่มเกสรชุมชนและขยายผลให้เต็มพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งและติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เสริมเติมข้อมูลในส่วนที่กลุ่มยังขาด
  8. จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาแนวทางการคุ้มครองป้องกันสิทธิผู้บริโภคอย่างยั่งยืน
  9. สร้างระบบเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่ม

 แนวทางการปฏิบัติงานการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับกลุ่มเกสรชุมชน

                แนวความคิดในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่ดีที่สุดได้แก่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคในชุมชน โดยมีกระบวนการรวมกลุ่มองค์กรชุมชน ประชาสังคมเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งในการปฏิบัติงานให้เป็นรูปธรรมต้องมีหน่วยปฏิบัติการ รับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้นในชุมชน โดยเร่งสร้างกลุ่มประชาคมสิทธิขึ้นให้ได้ในชุมชนให้สามารถแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จในระดับชุมชน

                เพื่อให้มีปัจจัยมากพอที่จะปฏิบัติการทำงานทางความคิดให้ได้ผล จึงให้ทำงานต่อชุมชนเป้าหมายเป็น 6 ขั้นตอนคือ

                ขั้นตอนที่ 1           การเตรียมวิทยากร  คือการซักซ้อมความเข้าใจ ด้านแนวคิด ฝึกปฏับติปละจัดทำแผนร่วมกับทีมงานในพื้นที่ โดยมีชุดความรู้พื้นฐานและคู่มือวิทยากรกระบวนการเป็นแนวทางการทำงาน

                ขั้นตอนที่ 2           การเตรียมชุมชน  การเตรียมชุมชนเพื่อให้เกิดความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่มเกสรชุมชน จะใช้กระบวนการ จัดประชุมแบบมีส่วนร่วม  เพื่อให้เกิดกลุ่มสนใจ(ปูกระแส)ขึ้นในหมู่บ้าน ขั้นตอนนี้จะเป็นการค้นหาแกนนำเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลชุมชนด้านปัญหากิจการโทรคมนาคม

                ขั้นตอนที่ 3           การจัดตั้งกลุ่มเกสรชุมชน  เป็นการรณรงค์จัดตั้งกลุ่ม โดยใช้ฐานข้มูลและแกนนำที่เตรียมการในขั้นตอนที่ 2  และจัดให้มีการประชุมจัดตั้งกลุ่มเกสรชุมชนอย่างมีส่วนร่วมขึ้นในชุมชนเป้าหมาย  โดยมี สมาชิกเยาวชชน 20-40 คน เลือกตัวแทนเป็นกรรมการ 5 คนและมี กรรมการพี่เลี้ยง  2  คน

                ขั้นตอนที่ 4           การให้คำปรึกษาเบื้องต้นและรณงรค์ในการแก้ไขปัญหาประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  ถือเป็นการดำเนินการกิจกรรมกลุ่ม ในพื้นที่ชุมชนระยะแรก 

                ขั้นตอนที่ 5          การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ  ตามแนวทางการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาใน ชุดความรู้ขั้นพื้นฐาน

                ขั้นตอนที่ 6           การพัฒนาเสริมความเข้มแข็งมั่นคงของผู้บริโภคและกลุ่ม  เป็นการเสริมหนุนให้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่อง โดยมีการประชุมและเปลี่ยนความรู้และให้คำปรึกษาแก่ผู้ประสบปํญหา หนุนให้กลุ่มต่างๆในพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายในระดับเขตและ กทม.

ใน 6ขั้นตอนนี้ ขั้นตอนที่ 1 2 3 เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้กลุ่มมีแกนนำและรากฐานที่ดีในการดำเนินงานต่อไป

หมายเลขบันทึก: 306233เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท