beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

การนำ KM ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของ beeman


"ผมคิดอยู่แล้ว ว่าพวกคุณต้องทำได้ ผมภูมิใจในพวกคุณครับ”

         เทอมนี้ผมมีสอนหลายวิชา นับรวมแล้ว 10 วิชา (ไม่ได้โม้นะครับ คนอะไรจะเก่งขนาดนั้น)  ด้วยกัน ผมคิดว่าหากเราจะเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย" เราต้องมาจัดการปัญหา Load การสอนกันใหม่ครับ 
          อย่างไรก็ตาม ผมคิดด้านบวกเสมอ (Positive thinking) แม้ว่าบางครั้งผมอาจจะบ่นให้ใครต่อใครฟังในหลายเรื่อง แต่ผมก็ยังสู้อยู่เสมอ และขอใช้คำของนายกทักษิณที่ให้กำลังใจตนเองว่า "อย่าท้อถอย อย่าท้อแท้ และอย่าทัอใจ"
          ผมขอยกตัวอย่างวิชาในภาควิชาที่ผมสอนนะครับ  

  1. วิชา Apiculture ว่าด้วยเรื่องผึ้ง
  2. วิชา Insect biology ว่าด้วยเรื่องแมลง
  3. วิชา Animal Biology ว่าด้วยเรื่องสัตว์
  4. วิชา Invertebrate ว่าด้วยเรื่องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
  5. วิชา Biological control ว่าด้วยเรื่องการควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิต ด้วยสิ่งมีชีวิตด้วยกัน


         ทุกวิชาที่ผมสอน ผมจะนำความรู้เรื่อง KM = Knowledge Management หรือ การจัดการความรู้ไปถ่ายทอดเสมอ และเมื่อผมไปอบรมเรื่อง การสร้าง weblog ใน website ของคนไทย คือ Gotoknow ผมก็เอาความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้นิสิตอีกต่อหนึ่งครับ คนที่น่าจะดีใจในที่นี้ คือ รศ.มาลินี ธนารุณ และ ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร ซึ่งอย่างน้อยมีผมคนหนึ่ง ซึ่งได้ไปทานเบรกในวันนั้น (วันอบรมเรื่อง blog) ได้มาขยายผลให้นิสิตได้เรียนรู้ มากกว่า 50 คน (ทาง KM เรียกว่า Share ประสบการณ์ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางการศึกษา เขาเรียกว่า การสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางครับ ถ้าผมเข้าใจผิดผู้รู้ช่วยบอกด้วยครับ) ผมจะลองยกตัวอย่างวิธีนำไปใช้นะครับ ดังเรื่องเล่าต่อไปนี้         


          วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2548 เวลา 15.00 น. มีนัดสอนวิชา Invertebrate : ซึ่งเคยสอนไปก่อนหน้าสัปดาห์วิทยาศาสตร์ครั้งหนึ่งแล้วแต่เป็นการคุยกันทั่วไปเพราะมีคนมาเรียนเพียง 7 คน และได้เน้นสอนเรื่องการเขียน blog ซึ่ง นิสิตกลุ่มนี้ก็ทำได้ดี พอมาในวันนี้ก็ได้ทบทวนเนื้อหาดังนี้

  1. ความหมายของ Protostome, Deuterostome
  2. กลุ่มสัตว์ Eucoelom ที่เป็น Protostome คือ Phylum Molusca, Annelida และ Arthropoda
  3. กลุ่มสัตว์ Eucoelom ที่เป็น Deuterostome คือ Phylum Echinodermata และ Chordata
  4. เรื่องที่จะต้องสอนคือ Phylum Arthropoda : Jointed leg Animal ทบทวนลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum นี้
  5. ทบทวนเรื่อง Taxonomy ว่าประกอบด้วย Classification,Identification และ Nomenclature และ ทบทวนเรื่อง Taxonomic categories รวมทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ระดับ Species จะต้องประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำแรกเป็น Genus คำที่สองเป็น Specific epithet ยกตัวอย่าง เช่น กุ้งก้ามกรามมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii เป็นต้น
  6. สอน Classification ในระดับ Subphylum และ Class ของ P. Arthropoda
  7. ให้นิสิต ไปค้นชื่อวิทยาศาสตร์ ของสัตว์ พวก กุ้ง กั้ง ปู มา 20 ชื่อ และให้ส่งการบ้านทาง weblog ของชมรมคนรักสัตว์มีกระดูกสันหลัง
  8. ขอให้ไป Trip ในวันที่ 27-28 สิงหาคมนี้ แล้วเก็บตัวอย่างสัตว์มาเรียนกันในห้องครับ


        หลังจากผ่านการสอนในห้องแล้ว ให้นิสิตไปทำงานภาคปฏิบัติ เรื่อง KM คือ ไปเอาความรู้ของคนอื่นมาใส่บล็อกของเรา และก็มีคนทำได้แล้ว คือ ให้ไปหาชื่อวิทยาศาสตร์มา กุ้ง กั้ง ปู มา 20 ชื่อ ขอขอบคุณนิสิตที่ช่วยกันเรียนรู้และ Share ประสบการณ์กันครับ    

                       
 "ผมคิดอยู่แล้ว ว่าพวกคุณต้องทำได้ ผมภูมิใจในพวกคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 3062เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2005 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์

เรียน ผู้ควบคุมระบบ

       เวลาผมเขียนข้อความ ถ้าผม copy ข้อความมาจาก blog โดยตรงมันจะมีปัญหา ข้อความมันซ้อนทับกัน เกิดปัญหา อ่านไม่รู้เรื่อง ดังนั้น ผมต้อง copy ไปใส่ใน MS word ก่อน แล้วจึง copy มาใส่ในบล็อกอีกทีครับ

เรียน อาจารย์สมลักษณ์

ดิฉันเขียนแนะนำการแก้ปัญหาไว้ที่บันทึกนี้คะ

การแก้ปัญหาการคัดลอก (copy) ข้อความจากซอฟต์แวร์หรือเว็บไซต์มาแปะ (paste) ใส่ในบันทึก

ขอบคุณคะ

จันทวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท