การคำนวนเพื่อหาพลังงานที่ผู้ป่วยต้องการในแต่ละวัน Energy requirement


การคำนวนเพื่อหาพลังงานที่ผู้ป่วยต้องการในแต่ละวัน (Energy requirement)

 ในการฝึกภาคปฏิบัติต้องมีการทำ nursing care plan ทุกครั้งค่ะ และเนื่องจากหนึ่งดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เรื่องที่เรามักจะละเลย หลงลืม ในการประเมินปัญหาผู้ป่วยนั่นคือ เรื่องภาวะโภชนาการ ซึ่งมีความสำคัญมากอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งค่ะ ซึ่งในการประเมินภาวะโภชนาการเบื้องต้นคือดูจาก BMI หากพบว่าต่ำกว่าเกณฑ์ สิ่งที่เราต้องทำคือให้อาหารเสริมใช่ป่าวคะ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าจะเสริมเท่าไหร่ ยังไง มาลองดูสูตรคำนวนพลังงานที่ผู้ป่วยต้องการในแต่ละวันกันเลยค่ะ 

พลังงานที่ผู้ป่วยต้องการในแต่ละวัน ผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการพลังงานต่างกันค่ะ ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น อายุ กิจกรรมที่ทำ ภาวะ stress ไข้ เป็นต้น

 

มีวิธีคำนวณได้ 3 วิธี คือ

ก. สูตร Harris-Benedict equation คือ

Male BEE       =      66 + (13.7 x Wt) + (5 x Ht) - (6.7 x A)

 

Female BEE   =   655 + (9.6 x Wt) + (1.8 x Ht) - (4.7 x A)

 

 

เมื่อ   BEE คือ basal energy expenditure

Wt = adjust body weight (kg.)

Ht = height (cm.)

A = age (year)มีเวบที่ช่วยคำนวณ BEE ด้วยค่ะ เผื่อใครหาเครื่องคิดเลขไม่เจอ เข้าไปในเวบนี้ได้เลยค่ะ แค่เติมข้อมูลลงในช่องแล้วคลิก อิอิ สะดวกดีค่ะ => คลิ๊กที่นี่เลยค่ะ 

 

ตัวอย่าง ค่ะ ^__^

ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก น้ำหนักตัว 34 กิโลกรัม สูง 154 cm อายุ 76 ปี มารับการรักษาด้วยรังสีรักษา ใช้เครื่องมือวัด stress พบว่ามี mild stress ค่ะ

แทนค่าลงในสูตร

Female BEE   =   655 + (9.6 x 34) + (1.8 x 154) - (4.7 x 76)

BEE = 901.4

จากประวัติข้างบนผู้ป่วยมี mild stress ต้องเอา BEE x 1.2 ค่ะ ก็จะได้ค่าเป็น 901.4 x 1.2 = 1081.68 นี่คือพลังงานที่ผู้ป่วยรายนี้ต้องการใน 1 วันค่ะ

 

ลองคำนวนความต้องการพลังงานของตัวเองดูนะคะ

วันหลังจะนำเครื่องมือวัดความเครียด (stress) มาลงให้ลองวัดความเครียดกันดูค่ะ ^___^

 

ข. สูตรของ Jeejeebhoy ได้แก่  

BEE = 25 kCal / kg

 สำหรับสูตรนี้ไม่ยากใช่ป่าวคะ อิอิ 25 X น้ำหนักตัวได้เลยค่ะ

BEE = 25 x 34 = 850

เมื่อได้ค่า BEE แล้วก็นำมาคูณกับ 1.2 (mild stress) ได้เลยค่ะ จะได้ค่า = 1.2 x 850 = 1020

 

ทั้งสองสูตร เมื่อคำนวณแล้ว ค่าที่ได้จะเป็นเพียง พลังงานพื้นฐานของผู้ป่วยเท่านั้น (basal energy expenditure) จำเป็นต้องคูณด้วย activity และ stress factor คือ

Minimal stress :    BEE x 1.2

Fever :               BEE x 1.1

Mild stress :         BEE x 1.2

Moderate stress :  BEE x 1.4

Severe stress :     BEE x 1.6

 

ค. การวัดพลังงานโดยเครื่องมือที่เรียกว่า Metabolic cart หรือ Indirect calorimetry โดยอาศัยหลักการที่ว่า พลังงานทั้งหมดของร่างกายจะสัมพันธ์กับ อัตราการใช้ออกซิเจนและอัตราการขับถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องมือนี้จึงวัด oxygen comsumption and carbondioixde production ในระยะเวลาประมาณ 30 นาที และคำนวณออกมาเป็น energy requirement ซึ่งนำไปใช้งานได้เลย เพราะมีการปรับ factor ต่างๆแล้ว เครื่องมือนี้จะถูกใช้วัดในผู้ป่วยหนักใน ICU เท่านั้น ไม่นิยมใช้กับผู้ป่วยทั่วไป

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยรายเดิม แต่ใช้สูตรคำนวนคนละสูตร จะได้ค่าพลังงานที่ต่างกันเล็กน้อยค่ะ ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรนึงนะคะ แต่แนะนำให้ใช้สูตรแรกค่ะ จะได้ข้อมูลที่ละเอียดกว่า เพื่อนำไปใช้ประกอบกับการกำหนดอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยต่อไปค่ะ

 

 

เอกสารอ้างอิง
1.       Blackburn GL, Bistrian BR, Maini BS, et al. Nutritional and metabolic assessment of hospitalized patient. JPEN 1977;1:11-22.
หมายเลขบันทึก: 306138เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับ

เข้ามารับความรู้ใหม่ๆครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณdid

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ ^___^

สวัสดีค่ะน้องหนึ่ง

  • สุดยอดมากเลยค่ะ
  • ขอนำสูตรนี้ไปใช้กับผู้ป่วย CVA ด้วยนะคะ
  • ถ้า moderate หรือ severe stress จะคูณด้วยเท่าไหร่คะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่สีตะวัน

สำหรับ moderate และ severe stress จะคูณด้วย 1.4 และ 1.6 ตามลำดับค่ะ

พลังงานที่ผู้ป่วยควรได้รับในแต่ละวัน(TEE) จะต้องนำ BEE x avtivity factor(AF) x stress Factor(SF) หรือ Metabolic Factor(MF) ค่ะ โดย

AF(Activity Factor)

ถ้าผู้ป่วย ออน respirator = 0.7 - 0.9

Bed rest = 1.2

Ambulatory & Maintenance = 1.3

ส่วน MF ดังนี้ค่ะ

Fever = 1.3

Minor operation = 1.2

Skeletal Trauma (long bone) = 1.35

Major sepsis = 1.4 - 1.6

Moderate infection = 1.2 - 1.4

Mild infection = 1.0 - 1.25

Peritonitis = 1.05 -1.25

Soft tissue trauma = 1.0 -1.3

cancer = 1.0 - 1.25

weight gain = 1

ยังไงหากมีอะไรเพิ่มเติมแนะนำหนึ่งด้วยนะคะพี่สีตะวัน ^___^

สวัสดีค่ะน้องพอลล่า

งือๆๆ เป็นโรคเดียวกะพี่เลยอ่ะค่า อิอิ

ขอบคุณมากมามายคร่า^^

สวัสดีค่ะน้องเด็กพยาบาล

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะคะ

สวัสดีค่ะคุณสุทธิรัก

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ ^^

ขอบคุณนะคะพี่ หาอยู่พอดีเลย

ต้องทำงานส่งอาจารย์ด้วย T^T

สวัสดีค่ะน้องjingjai

ยินดีจ้า ^^ เรียนจบไวๆนะจ๊ะ สู้ๆๆๆ

Thanks so much for your kindness on your blog.

อยากทราบว่าการคำนวณพลังงานของผู้ป่วย ในปัจจุบันเป็นหน้าที่ของพยาบาลหรอคะ หรือว่าเป็นหน้าที่ของนักกำหนดอาหารคะ

ดีมากเลยค่ะ ที่มีสูตรและคำนวณได้ด้วย ขอบคุณมากค่ะ 

ขอบคุณมากครับ นำไปใช้กับคนไข้แผล Burn

ต้องการหาสูตรคำนวนอาหารบริโภคของคนไข้โรคหัวใจว่าจะได้ปริมาณ ของkaclแบบไหนคะ อาหารผุ้ป่วยบวกกับอายุ45ของผุ้ป่วยเพศชายนะคะต้องทำแบบไหนคะ สมุติอาหารข้าวต้มปลา แล้วข้าวประมาณ50gจะได้เท่าไหร่ของkaclแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท