ฟ้อนผาง


ประวัติฟ้อนผาง

          ฟ้อนผางเป็นศิลปะการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณ เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลีลาการฟ้อนดำเนินไปตามจังหวะของการตีกลองสะบัดชัย มือทั้งสองจะถือประทีปหรือผางผะตี้บ แต่เดิมใช้ผู้ชายแสดง ต่อมานายเจริญ จันทร์เพื่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ดำริให้คณะครูอาจารย์หมวดวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับผู้หญิงแสดง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายมานพ ยาระณะศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดท่าฟ้อนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่ารำ

         โดยมีนายปรีชา งามระเบียบอาจารย์ 2 ระดับ 7รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่(ฝ่ายกิจกรรม) เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ การแต่งกายและทำนองเพลง

          ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบชาวไทยลื้อ สวมเสื้อป้ายทับข้าง เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” หรือ “เสื้อปั๊ดข้าง” ขลิบริมด้วยผ้าหลากสีเป็นริ้ว นุ่งผ้าซิ่นเป็นริ้วลายขวาง ประดับด้วยแผ่นเงิน รัดเข็มขัดเงินเส้นใหญ่ ติดพู่แผงเงิน ใส่ต่างหูเงินและสวมกำไลข้อมือเงิน

          สำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดฟ้อนผางให้ชื่อว่า “เพลงฟ้อนผาง” แต่งโดยนายรักเกียรติ ปัญญายศ อาจารย์ 3 ระดับ 8 หมวดวิชาเครื่องสายไทยวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

 

ที่มา:http://eventsbanrakthai.blogspot.com/2007/10/blog-post_3055.html

คำสำคัญ (Tags): #ประวัติฟ้อนผาง
หมายเลขบันทึก: 305832เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณครู

  • หนูเคยเห็นเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กแสดงฟ้อนผางแล้วค่ะ
  • แต่พึ่งจะทราบประวัติการฟ้อนผางจากคุณครูนี่แหละค่ะ
  • หนูยังประทับใจคุณครู เมื่อครั้งที่เรียนรำวงมาตรฐานและทัศนศึกษาการแสดงโขนตอน?ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
  • ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะเข้ามาฟ้อนค่ะ  งามขนาด! เน้อ..

รูปนี้ งามแต้ หนอ

หนูจะเอาเพลงนี้อ่ะค่ะไปสอบเข้าม.1นะคะ !! ^^

ยากมากเลยค่ะแปรเท้าน่ะ !!

ขอบคุณมากเลยค่ะที่ไห้ข้อมุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท