อบรมนักบริหารมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ(นบก.) รุ่นที่13 (17)


จิตวิทยาการบริหารทีมงาน

การบริหาร :จิตวิทยาในการบริหารทีมงาน

วิทยากร    :รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย  อุตสาหจิต

วันที่ 1 ตุลาคม  2552  เวลา 09.00 – 12.00 น.

สรุปองค์ความรู้โดย       

21.นายมนัส  สุดเจริญ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

2..นางสุนิตย์  เทพไพฑูรย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

3.นายสมพร  มีแสงแก้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

4.นายคงศักดิ์  นาคทิม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยากรเริ่มต้นให้ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรม โดยจัดทำโลโก้สะท้อนลักษณะบุคลิกภาพของตนเองจากเส้นลวด 2 เส้น 2 สี จากนั้นให้แต่ละคนเก็บโลโก้เพื่อมาทำกิจกรรมกลุ่ม โดยรวมโลโก้ให้เป็นภาพสะท้อนของการทำงานเป็นทีมในช่วงท้ายของการบรรยาย

เนื้อหาสาระของการบรรยาย

1. การส่งเสริมประสิทธิผลขององค์กร

องค์กร (Organization) จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง( Effectiveness) จะต้องส่งเสริมและรักษาระดับความร่วมมือระหว่างสมาชิกในองค์กร และจะต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของ สิ่งแวดล้อมภายนอก โดยมีอาศัยทักษะต่างๆ เหล่านี้

  1. Interpersonal Skills ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ส่วนบุคคล
  2. Small-Group Skills ทักษะการทำงานเป็นทีมที่จะต้องเรียนรู้ร่วมกัน
  3. Personal Attitudes ทัศนคติระดับบุคคล มองโลกอย่างไร แบ่งเป็น 4 ด้าน

-           I am OK                   You are OK

-           I am OK                   You are not OK

-           I am not OK             You are OK

-           I am not OK             You are not OK

  1.  Technical Competencies ความสามารถในเชิงวิชาชีพหรือเทคนิค
  2. Commitment ความผูกพัน
  3. High Levels of Psychological Energy  การทำงานแบบอิงกับงานโดยเวลาผ่านไปไม่รู้ตัว

2. บุคลิกภาพ

การมองบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เปลือกนอก หรือการรับรู้ทาง กาย รับรู้ได้ 15%  เนื้อ หรือการรับรู้ทางตา รับรู้ได้ 20% และแก่น หรือการรับรู้ทางใจ รับรู้ได้ 65%

บุคลิกภาพ มาจาก 3 ส่วน ประกอบการ คือ

1)      พันธุกรรม (Heredity) สูง ต่ำ ดำ ขาว  อารมณ์ร้ายหรือเยือกเย็น

2)      สิ่งแวดล้อม (Environment) พันธุกรรมไม่ดี อาจทำให้เป็นคนดีได้จากการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ดี

3)   สถานการณ์ (Situation) บุคลิกที่แท้จริง เช่น คนที่เคยตกน้ำ โตขึ้นจะไม่กล้าลงน้ำ  หรือการตัดสินใจที่ต้องอาศัยสถานการณ์ เช่นนักดนตรี 3 คน ในภาพยนตร์เรื่องไททานิก ที่จะต้องเล่นดนตรีร่วมกันจนวาระสุดท้าย

3. Competency

สมรรถนะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ทักษะความรู้ ทัศนคติ  ความเชื่อ ค่านิยม ภาพลักษณ์ตนเอง บุคลิกภาพ และแรงจูงใจ ในอดีต ให้ความสำคัญกับทักษะความรู้ ส่วนที่เหลือจะต้องได้รับการพัฒนามากๆ

4. Johari Window

  1. Open คนอื่นรู้ เรารู้
  2. Blind เราไม่รู้ คนอื่นไม่รู้
  3. Hidden เรารู้ คนอื่นไม่รู้
  4. Unknown เราไม่รู้ คนอื่นไม่รู้

Self Disclosure ภาพสะท้อนตนเอง ต้องเปิด OPEN ให้มากที่สุด

                                                แบบวัดบุคลิกภาพ

 

บุคลิกภาพ 4 ประเภทของบุคคล

แบบที่ 1  ให้ความสำคัญกับคน ชอบควบคุม ติดตามงาน เปรียบเหมือนกระรอก ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง กล้าแสดงออก ปรับตัวได้ตลอดเวลา คิดไว ทำไว

แบบที่ 2  ให้ความสำคัญกับคน ยอมรับ/ง่ายๆ อะไรก็ได้  เปรียบเหมือนปลาโลมา สนุกสนาน เข้าอกเข้าใจคนอื่น ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ลึกซึ้ง ให้ความร่วมมือ ไม่ชอบความขัดแย้ง

แบบที่ 3 ให้ความสำคัญกับงาน ควบคุม ติดตาม เปรียบเหมือนหมี มีความทะเยอทะยาน เน้นเป้หมาย เน้นลงมือปฏิบัติ การควบคุม

แบบที่ 4 ให้ความสำคัญกับงาน ยอมรับ/ง่ายๆ อะไรก็ได้ เปรียบเหมือนนกฮูก รักอิสระ ชอบตัดสินด้วยตนเอง ทำคนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆดี มีความใฝ่รู้ เที่ยงตรง แม่นยำ

5. ข้อดีของทีม

1)  ข้อมูลและความรู้มากขึ้น

2)  ความคิดเห็นและมุมมองหลากหลาย

3)  การยอมรับผลการตัดสินใจสูงขึ้น

6. ข้อเสียของทีม

1)  Groupthink กลุ่มทิ้ง

2)  Hidden agenda วาระซ่อนเร้น มีอยู่ในใจ กลุ่มเป็นตัวรอง

3)  Free rides โดยสารฟรี ถึงที่หมายสบายผิดกัน

7. พัฒนาการของทีม มี 5 ระยะ คือ

1)  Forming  กำหนดสมาชิก

2)  Storming ปรับตัว

3) Norming รวมตัว

4) Performing สร้างผลงาน

5)  Adjourning แยกย้าย เฉพาะกิจ

8. ลักษณะทีมที่ดี

1) วัตถุประสงค์ชัดเจน เป็นที่เข้าใจร่วมกัน

2)  สื่อสารตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์

3)  ตัดสินใจโดยใช้มติกลุ่ม

4) ใช้ความคิดสร้างสรรค์

5) มีเข็มมุ่ง ทิศทางชัดเจน

9. บทบาทในทีมของแต่ละคน

 1) ผู้แนะนำ (Adviser)

2)  ผู้เชื่อมโยง (Linker)

3)  ผู้เสนอความคิด (Creator)

4)  ผู้สนับสนุน (Promoter)

5)  ผู้ประเมิน (Assessor)

6) ผู้วางแผนจัดการ (Organizer)

7)  ผู้ปฏิบัติและติดตาม (Producer)

8)  ผู้ควบคุม (Controller)

9)  ผู้ป้องกัน (Maintainer)

10. ผู้บริหารกับการสื่อสาร

ใช้เวลา 75- 80% ของเวลาทำงาน  การสื่อสารในงาน งานประจำในหน้าที่ (work-related) ความคิดสร้างสรรค์ในงาน (Innovation-related) ความสัมพันธ์กับบุคคล (maintenance-related)

11. มิติสำคัญของความไว้วางใจ

- ความซื่อสัตย์ (Integrity)

-  ความสามารถ (Competence)

- ความสม่ำเสมอ (Consistency)

- ความภักดี (Loyalty)

- ความเปิดเผย ตรงไปตรงมา (Openness)

 

12. ธรรมะกับผู้นำ

การวิเคราะห์ปัญหาและวิจารณญาณ

 อริยสัจ 4      ทุกข์              คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมา

                   สมุทัย             กำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

                   นิโรธ              การเข้าถึงภาวะดับทุกข์

                    มรรค             การฝึกปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับทุกข์

การบริหารจัดการคนเพื่อผลงาน

พรมวิหาร 4  เมตตา              ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

                     กรุณา                     ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

                     มุทิตา                      ความยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี

                     อุเบกขา                  การรู้จักวางเฉย

สัปปุริสธรรม 7 ธัมมัญญุตา                       การรู้จักเหตุ

                    อัตถัญญุตา                       การรู้จักผล

                    อัตัญญุตา                        การรู้จักตน

                    มัตตัญญุตา                       การรู้จักประมาณ

                           กาลัญญุตา                 การรู้จักกาล

                          ปริสัญญุตา                 การรู้จักชุมชน

                          ปุคคลัญญุตา               การรู้จักบุคคล

การสอนงานและเป็นแบบอย่างที่ดี

อิทธิบาท 4  ฉันทะ                                 ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

                      วิริยะ                             ความพากเพียรในสิ่งนั้น

                     จิตตะ                             ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

                    วิมังสา                             ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

คุณลักษณะภายในตนเอง

กัลยาณมิตรธรรม 7    ปิโย                      ความน่ารัก เป็นที่สบายใจ และสนิทสนม

                            ครุ               น่าเคารพ ประพฤติตนตามควรฐานะ

                            ภาวนิโย        น่ายกย่อง มีความรู้ และภูมิปัญญาแท้จริง

                            วัตตา           รู้จักพูดให้ได้ผล

                            วจนขโม      อดทนต่อถ้อยคำ

                  คัมภีรัญจะกะถังกัตตา  สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้

                  โนจัฎฐาเนนิโยชะเย  ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหลหรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย

สังคหวัตถุ 4   ทาน         คือการให้ เสียสละ

                    ปิยวาจา    การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน

                    อัตจริยา     การสงเคราะห์หรือประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

                    สมัตตา      มีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย

หมายเลขบันทึก: 305662เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท