การบริหารจัดการที่ส่งเสริมต่อคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก


การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

ท่านที่เคารพครับ กระผมได้ทำการวิจัยระดับปริญญาเอก หัวข้อ" การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก" ที่เป็นวิจัย R&D มี 3 ขั้นตอน สำหรับตอนนี้อยู่ในขั้นที่ 2 ที่น่าสนใจคือ กระผมได้ออกไปศึกษา BestPracticeที่เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มี 5 องค์ประกอบ ใน 6 โรงเรียนขนาดเล็กที่ดีเด่น และผ่านการประเมิน สมศ.ระดับดี และดีมาก ทั้ง 14 มาตรฐาน ใน 3 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต การ Focus Group ขอสรุปว่า

 ระบบกลไก ที่สำคัญที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้นประสบผลสำเร็จในการบริหารคือ

1 ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำเชิงบารมี(Charisma) มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่เป็นแบบอย่างและสร้างศรัทธา ให้ครูและชุมชนมีความเชื่อมั่นในแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ

2 ครูมีความมุ่งมั่น  ทุ่มเท เชื่อถือ ศรัทธาในระบบกลไกการบริหาร มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ มีความรับผิดชอบมุ่งความก้าวหน้าในวิชาชีพ  มีขวัญกำลังใจ ทำงานเป็นทีม ที่เป็นระบบ มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่เน้นคุณภาพผู้เรียน

3  มีสื่อ เทคโนโลยี ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม รวมทั้งใช้ระบบการนิเทศ พัฒนาครู กำกับ ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอด้วยสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ

4 ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง สนับสนุนในทุกด้านเพื่อพัฒนา และยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

5 มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ปรับให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนขนาดเล็กแต่ละแห่งทั้งรวมชั้น คละชั้น และแบบทั่วไป

ส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรูปแบบ มีทั้งหมด 35 ยุทธศาสตร์ สังเคราะห์ลงได้   7 ยุทธศาสตร์ คือ

1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียน

2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการระดมสรรพกำลังในการบริหาร

3 มุ่งเน้น การบริหารจัดการที่ประกันคุณภาพการศึกษา โดยยึดวงจรคุณภาพ (PDCA)

4 พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นทีมงานยกระดับคุณภาพโรงเรียน

5 การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)

6 ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมอย่างหลากหลายในการบริหารจัดการและการเรียนกรสอน

7  การบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพแบบองค์รวมเชิงบูรณาการ (TQM)

8 เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มเข็งของโรงเรียน

จึงขอเสนอเพื่อเป็นแนวทางที่โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมิน น่าจะนำไปทดลองใช้ดู มีผลประการใด ขอความกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย

หมายเลขบันทึก: 305563เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากกับผู้บริหารโรงเรียนทุกคนเลยครับ 

                                                       ซันโย สังวรดี

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองปลาซิว

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากทีเดียว ถ้าเป็นไปได้ใคร่ขอความอนุเคราะห์รายละเอียดให้มากกว่านี้ได้ไหมคะ

ปัจจุบันดิฉันเป็นผอ.โรงเรียนประถมขนาดเล็ก สังกัด สพป.ฉะเชิงเทรา 1 สนใจที่จะพัฒนาโรงเรียนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท