บทความวิทยานิพนธ์


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก และการลบ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การ
บวก และการลบ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.

The Development of Computer Assisted Instruction on The Subject of to Add and Minus in Mathematics for Pratomsuksa 4 Students.

ผู้วิจัย นายสัณห์ศักดิ์ ศรีทองเพชร
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ กลางใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเดช เฉยไสย
ภาควิชา.........................................สถาบันการศึกษา.................................................
บทคัดย่อ
สัณห์ศักดิ์ ศรีทองเพชร. (2551). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
การบวก และการลบ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ ค.ม.(เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะกรรมการควบคุม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.บุญเลิศ กลางใจ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช เฉยไสย
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และ การลบ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการสอนตามปกติวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทรใหญ่จำนวน 40 คน เพื่อใช้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบวก และการลบ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.35/88.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 85/85 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ t-test พบว่ากลุ่มผู้เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าจากกลุ่มผู้เรียนจากการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ : ………………………………, ………………………………
Abstract
Sansak Srithongphet. (2008). The Development of Computer Assisted Instruction on theSubject of to Add and Minus in Mathematics for Pratomsuksa 4 Student. Master Thesis, M.Ed. (Educational Technology and Communications.) Bangkok : Graduate School, Chandrakasem Rajabhat University. Advisor Committee : Asst.Prof. Dr.Boonlert Glangjai, Asst.Prof. Somdej Cheaysai.
This current research aimed to develop Computer Assisted Instruction (CAI) on the Subject of to add and minus in Mathematics for Pratomsuksa 4 Students to match effective criteria at 85/85 and compare achievement of students who used CAI and studied with a traditional teaching method.The sampling group for CAI development were 40 students of 1 room from Watsaiyai School. And take more 2 room for the sampling group of this research were 60 students. The students were organized into experimental and control groups with each having 30 participants. The instruments used in the experimental stage included 1) CAI on the Subject of to add and minus in Mathemetics 2) a 4 – choice achievement test included 20 and 3) a CAI usability appraisal.
The results of the study were as follows. The CAI of this current study was developed to reach the effective criteria at 89.35/88.25 which was higher than the established requirement. Data were analyzed through a t-test. The students who used CAI were gather higher achievement rather than students who studied in traditional method significant statistically at 0.01 levels.

Keyword (s) : ……………………, …………………………, ……………………, ………………………….
บทนำ
การจัดการศึกษาของชาติทุกวันนี้ต้องยึดหลักว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละระดับการศึกษา ได้แก่ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษาโดยเฉพาะการใช้ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของนักเรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
ในเรื่องการสอนของครูยังเป็นการสอนที่ให้นักเรียนลอกเลียนความรู้มากกว่าการป้อนข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้นักเรียนสร้างความรู้ของนักเรียนเอง ปัจจุบันการเรียนของนักเรียนยังอยู่ในรูปที่ครูบอกให้ทำกำหนดโจทย์เลขให้คิด และมีความรู้ที่ครูบอกหรือเท่าที่ครูกำหนด คิดนอกเหนือจากที่ครูบอกไม่ได้ หรือตั้งโจทย์เลขของตนเองและแก้ปัญหาโจทย์นั้นๆ ของตนเองไม่ได้ นับเป็นการเรียนที่ไม่เป็นความสุขและไม่ท้าทายให้อยากเรียน ความสุขของนักเรียนน่าจะเกิดจากการทำงานที่ตนชอบและทำได้สำเร็จ เมื่อเรียนไม่มีความสุขในที่สุดเด็กก็ถูกทำร้ายจิตใจทั้งจากครูและพ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง การเรียนการสอนเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกฝ่ายจะต้องทุ่มเท ใช้พลังงานและพลังความคิดในการจัดการเรียนการสอนในการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาคน มิใช่การเรียนการสอนเพียงเพื่อเลือกสรรคน การวัดผลประเมินผลเป็นระบบที่สำคัญอีกระบบหนึ่งของระบบการศึกษา ที่แสดงให้เห็นว่าครูผู้สอนนั้นเป็นผู้ชำนาญการในระดับมืออาชีพ เป็นนักวิจัย (Teacher as Researchers) และพัฒนา เพราะการวัดผลประเมินผลนั้นเป็นกระบวนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาแก้ไขปัญหาที่เกิดกับการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน นับว่าสามารถเอาข้อมูลจากการวัดประเมินนักเรียนมาจัดการในด้านการปรับปรุงการเรียนของนักเรียนและการสอนของตนได้ มิใช่นำเอาผลการวัดและประเมินมาใช้เพียงแค่การตัดสินได้-ตก หรือการจัดทำระดับคะแนนและใช้คะแนนเป็นเครื่องมือทำร้ายจิตใจเด็ก ดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการวัดและประเมินผลเป็นวิธีการทดสอบอย่างผิวเผินจากการใช้ข้อสอบแบบปรนัยไม่สามารถเขียนข้อสอบที่วัดให้ลึกซึ้งได้ ขาดการวัดผลด้านการปฏิบัติและชี้ให้เห็นว่ามิได้สอนให้เด็กปฏิบัติงานและสอนให้เป็นชีวิตจริงหรือได้ประสบการณ์จริง และมิได้กำหนดมาตรฐานและหรือตัวบ่งชี้ด้านการปฏิบัติงานอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษา การรู้ระดับคะแนนไม่สามารถบอกได้ว่านักเรียนทำอะไรได้บ้าง ผู้ปกครองจึงไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้เท่าที่ควร
ในกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งถ้ามองในภาพกว้างๆ แล้วก็จะเห็นว่านักเรียนต้องฝึกให้มีทักษะอยู่ 4 อย่างได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหารกับจำนวนตัวเลขต่างๆ ที่เรียกว่าจำนวนนับซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา นักเรียนที่พอเข้าสู่สถานศึกษาก็เริ่มต้นการเรียนรู้เรื่องการนับเลข จากนั้นก็เริ่มบวกเลขรู้จักนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนมารวมกันแล้วเกิดเป็นจำนวนใหม่ หรือการนำจำนวนนับนั้นมาหักออกด้วยอีกจำนวนหนึ่งทำให้เกิดจำนวนใหม่ที่มีค่าน้อยกว่าจำนวนทั้งสองนั้น ก็คือการลบเลขนั่นเอง หากนักเรียนที่ผ่านช่วงชั้นที่ 1 (ป.1–3) ยังมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เรื่อง บวก ลบ อยู่เมื่อเข้าสู่ ช่วงชั้นที่ 2 (ป.
4–6) นักเรียนจะต้องเรียนสิ่งที่ยากขึ้นคือ การคูณ การหาร ความคับข้องจะเกิดขึ้นกับนักเรียนเอง แล้วจะทำให้เบื่อไม่สนใจเรียน จนถึงไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าพื้นฐานของคณิตศาสตร์ก็คือการบวก และการลบ ที่ควรจะวางพื้นให้นักเรียนเกิดทักษะเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการวิจัยพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักที่จะเรียนคณิตศาสตร์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในด้านการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูผู้สอนจึงควรหาวิธีการพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา และการคิดอย่างมีเหตุผล มีความท้าทาย เร้าความสนใจ และเกิดความสนุกไปในตัว จึงต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้สื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่เร้าใจและเป็นรูปธรรม ซึ่งได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทำให้นักเรียน เรียนได้ดีและรับรู้รวดเร็วกว่าการสอนตามปกติ ลดการสิ้นเปลืองเวลาของนักเรียนลง สามารถยืดหยุ่นตารางเรียนได้ตามสถานที่ที่สะดวกไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือที่ทำงาน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการที่ปฏิสัมพันธ์การโต้ตอบ พร้อมทั้งการได้รับผลย้อนกลับอย่างสม่ำเสมอกับเนื้อหา และกิจกรรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียน นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างนักเรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังสามารถประเมินและตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนได้ตลอดเวลา ผู้สอนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปช่วยการสอนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ “งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า นักเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนจะใช้เวลาเพียงสองในสามของนักเรียนที่สอนตามปกติ” ในขณะเดียวกันนักเรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเอง โดยปราศจากข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ในการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อนสามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนเพิ่มเติมนอกเวลาได้ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541 : 7- 8)
ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลของการเรียนรู้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจึงได้สร้าง “บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวก และการลบ เพื่อก่อให้เกิดความรักที่จะเรียน และเข้าใจในวิธีการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นเสริมสร้างพัฒนาในการเรียนรู้มากขึ้นทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น และยังส่งผลให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิภาพ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ ให้ได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 85/85
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบ กับการสอนตามปกติ
วิธีการวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทรใหญ่ ต. ไทรน้อย อ. ไทรน้อย จ. นนทบุรี สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 4 ห้องเรียน ทั้งหมด 160 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จากนักเรียนโรงเรียนวัดไทรใหญ่ สุ่มจากนักเรียน 4 ห้องเรียนเอามา 1 ห้องเรียนจำนวน 40 คน เป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จากนั้นสุ่มแบบเจาะจงนักเรียนที่เรียนเก่งมา 3 คน ที่เรียนปานกลาง 4 คน ที่เรียนอ่อน 3 คน และสุ่มเอานักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และเรียนอ่อนมาอย่างละ 1 คน เพื่อใช้ทดลองเป็นรายบุคคล ส่วนที่เหลือ 7 คนนำไปทดลองเป็นกลุ่มย่อย และที่เหลืออีก 30 คน นำมาใช้ทดลองกับห้องเรียนจริง ดังนี้
ทดลองรายบุคคล 3 คน
ทดลองเป็นกลุ่มย่อย 7 คน
ทดลองเป็นห้องเรียน 30 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 2 ห้องเรียนในแต่ละห้องสุ่มให้เหลือห้องละ 30 คน และสุ่มให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ดังนี้
(1) กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยตนเอง
(2) กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนที่เรียนจากการสอนโดย ครูผู้สอนใช้ แผนการสอนตามปกติ

ผล / สรุปผลการวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการสอนตามปกติ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถสรุป อภิปรายผล ได้ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.35/88.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (85/85)
2. นักเรียนที่จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนจากการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ข้อเสนอแนะ
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการสอนที่มีทั้งภาพ เสียง เนื้อหา และแบบทดสอบ การออกแบบ เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ แต่ละสาขาร่วมมือกัน เพื่อพัฒนา ให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพ หากผู้ที่จะวิจัยพัฒนา เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำเพียงคนเดียว ก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดด้านต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นี้สามารถนำไปใช้ในการสอนซ่อมเสริม นักเรียน ที่มีความสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหา
3. ควรมีการศึกษาสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ ในการศึกษาทุกระดับให้มีการใช้งานอย่างพอเพียง เนื่องจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีมากขึ้น

บรรณานุกรม
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : ภาควิชา โสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทักษิณา สวนานนท์. (2540). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.
ทัศนีย์ จันธนะไทยเอก. (2539). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนเสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมสำหรับนักเรียนอายุ 7 – 10 ปีที่มีอาการสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนุช วรรธนวหะ. (2535). คู่มือการใช้ระบบโปรแกรมสร้างบทเรียนไทยทัศน์. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2526). การประเมินผลการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
. (2545). ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา (หน่วยที่ 3). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บูรชัย ศิริมหานคร, สัมฤทธิ์ ศุภมัง และพัดชา กวางทอง. (2544). แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ป.4. กรุงเทพฯ : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.
พัทยา การะเจดีย์. (2541). การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 5 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไพฑูรย์ นพกาศ. (2535). "การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับสอนซ่อมเสริม วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3". วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (30 พฤศจิกายน 2551). ความหมายของการวิจัยและพัฒนา.
http://www.drpaitoon.com/modules.php.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล. (13 พฤศจิกายน 2551). ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. http://elearning.pharmacy.psu.ac.th.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2537). “การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน”. ไมโครคอมพิวเตอร์
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ด.
ยุพิน พิพิธกุล. (2524). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา อาษาชำนาญ. (7 มีนาคม 2550). หลักการออกแบบ CAI. http://gotoknow.org/blog/asachamnanpuk/21339.
วาณิช กาญจนรัตน์. (2543). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียวิชาการออกแบบจัดหน้าสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
วิชาการ, กรม, กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). หลักสูตรคณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2539 ใน หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วีระ ไทยพานิช. (2525). บทบาทและปัญหาของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ในการรวมบทความเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2533). คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Alessi, Stephen M. and Trollip R. Stanley. (1991). Computer-Based Instruction : Methods and development. Englewood Cliff, New Jersey : Prentice – Hall.
Betty Jane. (1996). “The Students Mastery of Basic Mathematics Skills : A comparison of Two Instructional Computer – Assisted Instruction, Lecture, Drill and Practice”. Dissertation Abstracts International. 36(40) : 1380604 – A.
Borg, Walter R. and Gall, Merrit D. (1989). Educational Research. New York : Longman.
Carol A. Beard. (31 July 2007). “A Comparison of Computer-Aided Instruction Versus Traditional in Apparel Design Programs”. http://www.lib.umi.com/disertations.
Clanton, Patrice Blandly. (February 1977). “The Effectiveness of the letter Close Procedure as a Method of Teaching spelling”. Dissertation Abstracts International. 38 : 7226 – A.
David B. Almond. (31 July 2007). “Ancient Oriental Covenants”. http://www.lib.umi.com/disertations.
Elmore. Garland C. (February 1991). “ Planning and Developing a Multimedia Learning Environment”. The Technological Horizons in Education, 18(7) : 125.
Friedman. L.T. (August 1974). “Programmed Lessons in RPG computer Programming for New York City High School Seniors Zvolumes I and II”. Dissertation Abstracts International. 35(2) : 799 – A
Goranson, W.S. (1997). “A comparative Study on the Cost Effectiveness of computer Assisted Instruction and the Traditional Lecture”. Request – Dissertation Abstracts on Disc.
Hall, K.A. (1982). “Computer – Based Education”. In Encyclopedia of Educational Research. Vol.3 Ed. E.M. Harold. 362 – 363. New York : Free Press.
Hannifin, M.J. and Peck, K.L. (1988). The Design Development and Evaluation of instructional Software. New York : Macmillan.
Heynie, T.R. (1989). “The Effects of Computer – Assisted Instruction on the Mathematics Achievement of Selected Group of Elementary School Students”. Dissertation Abstracts International, 50(6). 1558 – A.
Malone, T.W. (1980). What Makes Things Fun to Learn : A Study of Intrinsically Motivation Computer Games. Cognitive and Instructional Sciences Series. CIS-7. Palo Alto Research Center. Palo Alto. California, in press.









  
 




หมายเลขบันทึก: 305330เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท