ความยุติธรรมที่หาไม่เจอ 2


ความยุติธรรมที่หาไม่เจอ

    ในคดีจราจรโดยส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ใช้ยวดยานพาหนะ ในกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นบนเส้นทางจราจรอาจปรับใช้กฎหมายตามคดีจราจรซึ่งอาจมีโทษทางอาญา และในส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของคู่กรณีก็สามารถเรียกร้องไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ในส่วนของคดีละเมิดหรือสิทธิตามสัญญาประกันภัยหรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

     แต่หากเป็นกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ชีวิตก็ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าทั้งตัวผู้เสียหายและผู้ที่ประมาทจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยหลักในกรณีที่เกิดรถชนกันแล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าเสียหายทั้งในส่วนแพ่งและส่วนอาญา และคู่กรณีที่ถูกกล่าวหาว่าประมาทก็มีสิทธิต่อสู้คดี

   จะเห็นได้ว่าในกรณีดังกล่าวไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาก็เป็นสิ่งที่น่าเศร้าทั้งสิ้นเพราะจะเกิดความยุ่งยากในทางคดีที่จะต้องต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมกันทั้งสองฝ่ายซึ่งเราต้องยอมรับกันว่าในคดีบนท้องถนนที่เกิดจากความประมาทนั้นคงไม่มีไครอยากให้เกิดขึ้น

  แม้ว่ากฎหมายจะให้สิทธิในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาและให้สิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมในฐานะผู้เสียหายก็ตาม แต่ในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นยังมีบางคดีที่ผู้เสียหายไม่สามารถจะเรียกร้องความเป็นธรรมได้เพราะไม่รู้ตัวผู้ต้องหา หรือไม่แน่ใจว่าผู้ต้องหาคือไครเพราะขาดหลักฐานในการเอาผิด มีข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยสรุปซึ่งปรากฎตามบักทึกการสอบสวนของตำรวจว่าในที่เกิดเหตุพบศพผู้ตายอยู่ในสภาพศพแหลกเหลวห่างจากรถจักรยายนต์ซึ่งอยู่ในสภาพบุบบี้ของผู้ตายประมาณ 50 เมตร ในที่เกิดเหตุพบรถยนต์ที่ชนทับผู้ตายและผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวในที่เกิดเหตุ ผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวให้การว่าตนเองขับรถยนต์มาด้วยความเร็วประมาณ 130 กม/ชม. และเจอผู้ตายนอนอยู่กลางถนนในสภาพรถจักรยานยนต์ของผู้ตายล้มคว่ำอยู่ไกล้ๆกันซึ่งเขาเชื่อว่าผู้ตายอาจจะตายอยู่ในที่เกิดเหตุก่อนหน้าแล้ว ทำให้ตนเองไม่สามารถที่จะเบรครถได้ทันและชนผู้ตายดังกล่าว

  เบื้องต้นมีคำให้การของพยานซึ่งก็คือหน่วยกู้ภัย สนับสนุนคำให้การของผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ ว่าผุ้ตายถูกรถยนต์ ไม่ทราบหมายเลขทะบียนเฉี่ยวชนมาก่อนหน้านั้นแล้ว และขณะหน่วยกู้ภัยจะลงไปเก็บหรือให้ความช่วยเหลือผู้ตาย ก็ถูกรถยนต์ของคู่กรณีวิ่งมาทับผู้ตายเสียก่อน

  สรุปก็คือไม่ทราบว่าตายตอนใหน ตายตอนชนหรือตายอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งหากจะพูดความยุติธรรมแล้วเห็นได้ชัดว่าเกิดความคลุมเครือ แต่หากดูตามกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 437 ได้วางหลักกฎหมายเพื่อเป็นข้อสันนิษฐานว่า     "บุคคลใด ครอบครอง หรือ ควบคุมดูแล ยานพาหนะ อย่างใดๆ อันเดินด้วย กำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้น จะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหาย อันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น"

จากข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อสันนิษฐานในทางแพ่งว่าบุคคลผู้ควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล ในที่นี้คือคนขับรถยนต์ จะต้องรับผิดชอบในผลแห่งความตายดังกล่าวของผู้ตาย แต่ทั้งนี้ก็เว้นเสียแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของผู้เสียหายเอง ดังนั้นหน้าที่ในการนำสืบพิสูจน์ว่าผู้ตายๆอยู่ก่อนแล้วหรือตายตอนชนจึงเป็นหน้าที่ในการพิสูจน์ของคนขับรถยนต์ที่ขับไปทับร่างของผู้ตาย แต่ในประเด็นดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิของผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง

แต่ในคดีอาญาในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายในเบื้องต้นการตั้งข้อหาดังกล่าว ก็เป็นหน้าที่ของตำรวจว่าจะมีความเห็นอย่างไร ซึ่งหากจะตั้งข้อหาให้คนขับรถกระบะที่ไปชน แต่มีความคลุมเครือว่า ผู้ตายตายก่อนชนหรือหลังชน ทำให้ตำรวจก็ไม่แน่ใจ คดีนี้ตำรวจจึงไม่ได้ตั้งข้อหากับคนขับรถกระบะที่เกิดเหตุและได้ปล่อยตัวไป

ฝ่ายญาติผู้ตายก็รู้สึกว่าความยุติธรรมช่างหามีไม่ในโลกใบนี้ จะเอากำลังอะไรไปต่อสู้ เพราะอยู่ในที่ห่างไกลจากโอกาสในการต่อสู้ พ่อแม่ของผู้ตายก็ร้องให้คิดถึงลูกที่ตายไปทุกวัน

ฝ่ายคนขับรถกระบะที่ไปชนก็คงอกสั่นขวัญหายเพราะกลัวว่ากฎหมายต้องพิสูจน์เอาผิดกับตน ในประเด็นความคลุมเครือว่าตนทำเขาตายหรือไม่ ก็อยู่ด้วยความหวาดระแวงไม่มีความสุขกลัวติดคุกติดตะราง หรือต้องขึ้นโรงขึ้นศาล และก็คิดว่าผู้ตายต้องตายอยู่ก่อนแล้วแน่ๆ ถ้าตัวเองต้องติดคุกเพราะเรื่องนี้คงไม่มีความยุติธรรมอีกแล้ว

เห็นมั้ยครับว่าคดีแต่ละเรื่อง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในบางคดี(เช่นคดีนี้) ในห้วงเวลาของความคลุมเครือ มันเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณี หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ยินได้ฟัง ต่างก็ต้องหดหู่ และเป็นข้อเท็จจริงที่แสนจะทรมาน มีรอยคราบน้ำตาของคดี

แม้ปัจจุบันโลกได้ก้าวหน้าทางด้านวิทยาการต่างๆ แต่เรื่องของความยุติธรรมในบางที่ๆอยู่ห่างไกลหรือในเมืองก็ตาม บางครั้งมันก็หาไม่ค่อยจะเจอ เหมือนหมอกหนาที่ทำให้เกิดความคลุมเครือว่าอะไรมันคือความยุติธรรมกันแน่

หมายเลขบันทึก: 304730เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องเกี่ยวกับ "กฎหมาย" ค่ะ

1 ปี ผ่านไปกลับมาเขียนใหม่

อาจารย์แหววคงดีใจที่ยังไม่ลืม g2k

น้องเก่งขึ้นเยอะเลย

สักวันอาจได้ใช้บริการทนายความคนเก่ง

ก็พยายามหาเหมือนกันก็หาไม่เจอครับ

ขอบคุณมากค่ะที่เขียนบันทึกให้อ่าน สะท้อนชีวิตมาก บางครั้งชีวิตคนเราก็ไม่ต้องการอะไรมากมาย (คิดแบบปรัชญาพอเพียง)แค่พอใช้ชีวิตอยู่ได้ แบบไม่ทรมาร แต่สิ่งที่เราต้องการคือการเท่าเทียม โดนใจมากค่ะ ขอพระคุณอีกครั้งที่มีสิ่งดีๆสะท้อนถึงความเป็นจริงในสังคม ให้เราได้รับรับรู้

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณ ไปเยี่ยมที่ blog และมาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

สวัสดีครับคุณเลอสรรค์

        มาเยี่ยมมาร่วมเรียนรู้กฎหมายด้วยคนครับ.

ความยุติธรรมถ้ามีอยู่ ..เราคงหามันเจอนะค่ะ..

แต่...ที่ไม่แน่ใจมันมีไหม..

มาช่วยหา "ความยุติธรรม" ค่ะ

อืม แนนว่ายังพอมีอยู่นะคะ แต่ว่ายังอยู่ในหลืบ ในซอกที่เราล้วงไปไปค่อยถึง(ฮ่าๆๆ) อะไรมันจะอยู่ลึกปานนั้น...

ที่จริงกฏหมายที่เรามีใช้กันอยู่ มันก็มักมีช่องว่างเสมอแหละค่ะ และช่องว่างนี่เอง ที่ทำให้ความไม่ยุติธรรม ก่อเกิดได้อย่างง่ายดาย โดยที่บางคนอาจจะไม่รู้ตัว???

แต่ก็ยังอยากให้สังคมของเรา มีน้ำใจ ให้กันเยอะๆนะคะ...

ขอบคุ่ะ ที่แวะไปเยี่ยมบล็อก...

 

มาช่วยหา "ความยุติธรรม" ค่ะ

อืม แนนว่ายังพอมีอยู่นะคะ แต่ว่ายังอยู่ในหลืบ ในซอกที่เราล้วงไปไปค่อยถึง(ฮ่าๆๆ) อะไรมันจะอยู่ลึกปานนั้น...

ที่จริงกฏหมายที่เรามีใช้กันอยู่ มันก็มักมีช่องว่างเสมอแหละค่ะ และช่องว่างนี่เอง ที่ทำให้ความไม่ยุติธรรม ก่อเกิดได้อย่างง่ายดาย โดยที่บางคนอาจจะไม่รู้ตัว???

แต่ก็ยังอยากให้สังคมของเรา มีน้ำใจ ให้กันเยอะๆนะคะ...

ขอบคุณ ที่แวะไปเยี่ยมบล็อกนะคะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท