จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

คำตอบจากคำถามที่ได้รับ


ผมได้รับเมลถามเกี่ยวกับการสอนหลายๆ ภาษาให้ลูกมาหลายฉบับแล้วครับ วันนี้ได้มาอีกหนึ่งฉบับ เลยคิดว่า เมื่ออยู่ในความสนใจของหลายท่าน ก็น่าจะเอามาเล่าสู่กันฟังในบล็อกเลยแล้วกัน 
คำถามมีอยู่ว่า
ชื่อ: ...............
อีเมล:
หัวเรื่อง: หัดให้ลูกพูดได้หลายภาษา
ข้อความ:
รบกวนขอข้อมูล
ตอนนี้ลูกสาวอายุ 4 เดือน พ่อ+แม่ พูดกลาง
ตา+ป้าพูดภาษาใต้(นครศรีรรมราช) โดยส่วนตัวอยากให้ลูกพูดอังกฤษได้ด้วย แต่ก็ไม่เก่งภาษา คือพูดได้ประโยคง่ายๆ
ถามว่า 
ถ้าให้ตา+ป้าพูดภาษาใต้กับลูก ส่วนยายและคนอื่นๆพูดไทยกลาง 
และตัวดิฉันเองจะพยายามพูดภาษาอังกฤษกับลูก เด็กจะสับสนไหมค่ะ
และควรเริ่มพูดกับลูกตอนไหนคะ
ขอบคุณค่ะ

คำตอบที่ผมตอบไปมีว่า
สวัสดีครับ คุณ.....................
การเรียนรู้หลายภาษาไม่ได้ทำให้ลูกสับสนครับ
การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์มากครับ เราเรียนรู้ภาษาโดยเริ่มต้นจากการรู้จักชื่อของสิ่งต่างๆ ซึ่งการให้ความหมายของสิ่งต่างๆ นั้นสามารถให้ความหมายได้หลายๆ คำพร้อมๆ กัน เพียงแต่ผู้ที่ให้ความหมายสำหรับเด็กนั้นต้องมีทักษะการเชื่อมโยงครับ
1. อย่างแรกที่ผมเห็นจากเมล คือ มีผู้ที่ให้ความหมายของสิ่งต่างๆ ในบ้าน ซึ่งทุกคนยอมรับความหมายที่แตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นขั้นแรกของความสำเร็จในการสอนภาษาให้กับลูกครับ คือ ถ้าบังเอิญลูกพูดภาษาอีกภาษาหนึ่งกับคนๆ หนึ่งในบ้าน คนๆ นั้นจะต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจในภาษาที่ลูกพูดครับ แต่จะต้องให้ศัพท์ใหม่แก่ลูกทันที อันนี้สำคัญมากเลย
2. ทุกคนให้คุยกับลูกในภาษาที่รับผิดชอบครับ เช่น ถ้าแม่จะพูดภาษาอังกฤษกับลูก แม่ก็ต้องพูดภาษานี้ตลอดเวลากับลูกครับ ถ้าแม่เปลี่ยนภาษาไปภาษามาจะทำให้ลูกสับสนได้ครับ
3. เวลาเราสอนศัพท์ เราจะสอนไปพร้อมกับรูปประโยค ดังนั้นเราจะไม่ถามว่า นี่อะไร? แล้วตอบให้ลูกฟังว่า cat ครับ 
4. อีกเงื่อนไขความสำเร็จคือ ต้องมีเวลาของการพูดในแต่ละภาษาที่เหมาะสมกันนะครับ โดยเฉพาะในช่วงสองสามปีแรกของลูกครับ ประสบการณ์ของผมคือ มีบางช่วงลูก แม่พาลูกไปอยู่กับยายเป็นสัปดาห์ ซึ่งตลอดสัปดาห์พูดแต่ภาษามลายู พอกลับมาอยู่บ้าน ลูกๆ จะเปลี่ยนมาพูดมลายูกับผมด้วย ซึ่งเราก็ต้องพยายามให้เวลาชดเชย คุยภาษาไทยเพิ่มขึ้น จนกว่าเขาจะกลับมาพูดภาษาไทยกับเราเป็นปกติครับ
5. สำหรับผม ตอนนี้ลูกคนแรกอายุ 4 ขวบ ซึ่งสองภาษาแรกเขาใช้เป็นธรรมชาติมากแล้วครับ ผมจึงจะเพิ่มภาษาที่สามและสี่ครับ คือภาษาอังกฤษและอาหรับ แต่ติดประเด็นความสามารถของผมเองในการสื่อสารด้วยสองภาษานี้ที่มีจำกัด ดังนั้นผมจึงยังไม่สามารถสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติกับลูกด้วยสองภาษานี้ได้ ผมเลยใช้วิธีการคุยเป็นประโยคๆ ที่ผมพอจะคุยได้ เช่น การทักทาย การแนะนำสิ่งของต่างๆ ด้วยภาษาอังกฤษ เป็นต้นครับ แล้วเราก็เรียนภาษาไปพร้อมๆ กับลูกครับ
6. ผมให้ัความสำคัญกับการเรียนภาษาของลูกคนแรกครับ เพราะคนที่สองและสาม (หรือคนต่อๆ ไปเรื่อยๆ) จะเรียนรู้ภาษาของพี่ไปโดยอัตโนมัติครับ
มีประเด็นเดียวครับที่ผมไม่แน่ใจในความสำเร็จคือ เรื่องของสำเนียงครับ เนื่องจากภาษาใต้กับภาษากลางเป็นภาษาเดียวกัน ศัพท์เดียวกันแต่สำเนียงต่างกัน อันนี้ตอบยากมากครับ ผมเองยังทำไม่สำเร็จ (อยากให้ลูกพูดได้ทั้งกลางและใต้เหมือนกัน แต่สุดท้ายได้แค่กลาง) และจากที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนที่มีภรรยาเป็นคนอินโดนีเซีย และพยายามจะให้ลูกได้ทั้งสองแบบ ก็ไม่สำเร็จครับ

Jaruwat Songmuang
department of teaching Profession
yala islamic university
a.yarang ch.pattani
94160


หมายเลขบันทึก: 304604เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นสิ่งที่น่าสนใ และน่าปฏิบั มาก เอาใ ช่วย ขอโทษแป้นพิมพ์แถวบนขัดข้อง

ขอบคุณครับคุณวราภรณ์

เป็นการเอาประสบการณ์ตรงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

  • มาหนุนด้วย...ยกมือเป็นพวกค่ะอาจารย์ขา
  • เด็กเขาเก่งกว่าผู้ใหญ่ในเรื่องภาษามากๆๆอย่างไม่น่าเชื่อ
  • จนน่าสนใจวิธีเรียนและวิธีแยกแยะในสมองของเขา
  • ช่างน่าอัศจรรย์จริงๆ
  • ผู้ใหญ่อย่างเราเลียนแบบได้ยากค่ะ

ขอบคุณครับคุณหมอ หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ 

เป็นความเห็นที่ตรงกันเป็นอย่างยิ่งครับ นี่คือมหัศจรรย์ที่พระเจ้าประทานมาให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท