ทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ


หนูเพชรจ้า

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory)

ทฤษฎีนี้อธิบายว่า     เป็นสหวิทยาการ ต้องการความรู้จากเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา การบริหารธุรกิจ มาใช้ประยุกต์ ปรับปรุงการบริหารภาครัฐให้ดีขึ้น
ฐานคติ (Assumption)

1.   ปัจเจกบุคคลเป็นคนเห็นแก่ตัว ต้องการแสวงหาประโยชน์สูงสุด ทางเลือกสาธารณะจึงเสนอสิ่งจูงใจ (Incentives) เน้นการสร้างสิ่งจูงใจทางบวก (Positive Incentives) ยิ่งมีสิ่งจูงใจทางบวกมากเท่าไร ประชาชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐมากยิ่งขึ้น

2.   การจัดระบบการบริหารให้มี มีความสะดวก  มีความเสมอภาค  มีความเป็นธรรม  มีความโปร่งใสสุจริต  เกิดความพึงพอใจ ประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชน  สร้างรายได้แฝงให้ประชาชน

 3.   Voice  จัดระบบให้รับฟังความต้องการของประชาชน

4.   มีการแข่งขัน (Competition) ยิ่งมีการแข่งขันมากเท่าไร ประโยชน์ก็ยิ่งตกอยู่กับประชาชนผู้รับบริการมากขึ้นเท่านั้น

5.   ข้อมูล (Information) ถ้าประชาชนรู้ ประชาชนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง

6.   ระเบียบกฎเกณฑ์ (Regulation)

6.1   Mala inse การกระทำความผิดที่เป็นความผิดโดยตัวของมันเอง ความผิดประเภทนี้สามารถดำเนินการได้เลย

6.2   Mala Promibita เป็นความผิดที่บัญญัติขึ้นภายหลัง เช่น สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ บ้วนน้ำลายลงพื้น จอดรถในที่ห้ามจอด ฯลฯ ความผิดชนิดนี้ต้องมี Regulation และ Incentive เช่น ใครมีปืนเถื่อนในครอบครอง ให้นำมาคืนหลวง จะไม่เอาโทษ

7.   ความเหมือนและความแตกต่าง (Uniformity & Differentiation) ทางเลือกสาธารณะเสนอว่า ยิ่งเหมือนมีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการ ยิ่งต่าง ยิ่งสนองตอบต่อความต้องการได้ดีกว่า กฎระเบียบถ้าเหมือนกัน ก็ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละแห่งที่ต่างกัน

            8.   ประชาชนร่วมทำ (Citizen Co-Producers) ทางเลือกสาธารณะเสนอให้มีการขยายจากน้อยไปมาก เช่นแนวคิดอาสาสมัคร

            9.   มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ทางเลือกสาธารณะสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจในการให้บริการ เพราะเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้ดีกว่า และเป็นประชาธิปไตย

10.   ตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)

11.   รวมอำนาจ (Centralization) ในบางกิจกรรมของรัฐ เช่น การประกาศสงคราม นโยบายการต่างประเทศ นโยบายการเงินการคลัง

12.   ซ้ำเสริมและซ้ำซ้อน (Redundancy & Duplication) ซ้ำเสริม เช่น โรงพยาบาลต้องมีระบบปั่นไฟ เพื่อความมีเสถียรภาพมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 304463เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นประโยชน์มากเลยจ้า

ในด้านสุขภาพ ก็เป็นเช่นเดียวกันครับ 

ใน General Practice, First Line Health Services, Primary Care Unit (PCU) หรือ ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน สภานีอนามัย (Health Post) 

Quality Technical = CT, MRI, PET Scan ... 

Quality Functional = H+I+C 

มุ่งให้มี คุณภาพ Quality of Care และ Quality of Services Care 

= No Gap, No Overlaps 

No Gap 

โดยมีระบบส่งต่อ Refer 

No Overlaps 

ไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน เช่น ถ้า PCU ฉีดวัคซีนได้ รพ.ใหญ่ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่่เนื่องจาก PCU ของไทยไม่มีแพทย์ประจำเหมือนต่างประเทศ การตรวจพัฒนาการของเด็กโดยกุมารแพทย์ ในโรงพยาบาลใหญ่ จึงมีประโยชน์ จะเรียกว่า Overlaps ก็คงจะยังไม่ใช่ 

Services = D P P 

Decentralize กระจายอำนาจ ถ่ายโอนภาระกิจ 

Permanent บริการอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ไม่ใ่ช่หน่วยแพทย์เคลือนที่ สัปดาห์ละตรั้ง หรือเดือนละครั้ง 

Polyvalent จำนวนคนทำงานไม่มากนัก แต่ละคนทำงานได้หลายงาน ทำงานแทนกันได้ 

Care = H I C 

Holistic Care องค์รวม Bio+Psycho+Social + ... 

Integrated Care (Comprehensive Care) ส่งเสริม+ป้องกัน+รักษา+ฟื้นฟู 

Continuous Care ดูแลต่อเนือง Intra Episode, Inter Episode (from cradle to graveyard)

Link to: วารสารวิชาการสาธารณสุข 

การประเมินสถานบริการสาธารณสุขในประเทศเบลเยียม 
วารสารวิชาการสาธารณสุข Vol12 No2 2003

http://somed1.tripod.com/gp/miscellary1.pdf

Link to: General Practice 

http://somed1.tripod.com/gp/

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท