มิติ "การพัฒนา" คุณภาพชีวิตประชากร...


สำหรับผมแล้วผมมองว่าการพัฒนาที่แท้จริงหรือการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดขึ้นจากการพัฒนาในทุก ๆ ภาคส่วนอย่างเป็นองค์รวมนะครับ...

           ภายใต้ฐานคิดในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรที่แตกต่างกัน บางคนเชื่อมั่นในระบบโครงสร้างหน้าที่ทางสังคม บางคนเชื่อมั่นในมิติความเป็นมนุษย์ และบางคนก็เชื่อว่าการพัฒนานั้นคงต้องมองทั้งสองมิตินะครับ...

 

          และหากเรามองว่าการพัฒนาต้องเริ่มจาก "มิติความเป็นมนุษย์" ก่อน และเราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นให้ผู้คนในสังคม มีสองคำถามที่น่าสนใจจาก บันทึก คุณกะปุ๋ม บันทึกนี้ มาให้ชวนคิดครับ... 

 

เราศรัทธาต่อธรรมชาติแค่ไหน เมื่อเราขับเคลื่อนเรื่องการสร้างความรู้ ?

 

แล้วเรารู้จัก “มนุษย์” มากน้อยแค่ไหน? 

 

   

 

           สำหรับผมแล้วผมมองว่าการพัฒนาที่แท้จริงหรือการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดขึ้นจากการพัฒนาในทุก ๆ ภาคส่วนอย่างเป็นองค์รวมนะครับ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และต้องไม่มองข้ามมิติ "ความสุข" ของประชาชนในประเทศด้วยนะครับ...

 

           หากจะมองมิติการพัฒนาในระดับมหภาค ปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของนโยบายของภาครัฐ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ก็เกิดขึ้นจากฐานคิดที่แตกต่างกันของผู้ที่มีหน้าที่และมีความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายนะครับ ว่าเขามีมุมมองในเรื่องเหล่านี้อย่างไร...

 

          แต่ถึงอย่างไรเราในฐานะพลเมืองของสังคม คงต้องมีหน้าที่ในการช่วยกันขับเคลื่อนสังคมของเราไปด้วยกันนะครับ เริ่มต้นที่ระดับปัจเจกคือเริ่มต้นที่การพัฒนาตัวเรา ครอบครัวเรา และผู้คนที่รอบข้างตัวเรานะครับ หากทุกภาคส่วนเต็มที่และเต็มใจในการทำหน้าที่ของตนเอง สังคมไทยของเราคงจะขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นได้สักวันนะครับ...

หมายเลขบันทึก: 304426เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

มองทั้ภายใต้ฐานคิดในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรที่แตกต่างกัน บางคนเชื่อมั่นในระบบโครงสร้างหน้าที่ทางสังคม บางคนเชื่อมั่นในมิติความเป็นมนุษย์ และบางคนก็เชื่อว่าการพัฒนานั้นคงต้องงสองมิตินะครับ...

 

ดูเหมือนคุณตีกรอบความคิดว่า มนุษย์คิดตามคุณได้เท่านี้เอง

คุณตีกรอบความคิดคนอื่นต่ำเกินไปหรือเปล่าคะ

มนุษย์เราคิดมากกว่าที่คุณตีกรอบไว้มากมายนะคะ

 

สำหรับความคิดของแหวนไม่ได้คิดในกรอบที่คุณขีดไว้เลย

และไม่เคยคิดถึงเรื่องแบบนี้เสียด้วยซ้ำ

เพราะในชีวิตคนเราจะคิดแต่สิ่งที่ใกล้ตัวก่อน

และคิดในสิ่งที่อยากจะทำในชีวิต

และคิดว่าอยากจะทำอย่างไรอะไรให้สังคม

และอยากจะมีความสุขที่ไม่ต้องพึ่งใครคะ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ  ; )

ครับ... คุณ P น.ส. ดวงกมล แหวน รัตนกุล

ผมอธิบายภายใต้แนวคิดทฤษฎีหลักทางสังคมครับ...

และผมใช้คำว่า "บางคน" ซึ่งย่อมไม่ได้หมายความรวมถึงทุกคนนะครับ...

ยินดีสำหรับความคิดต่างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม...

เพราะความต่างจึงเกิดการสร้างสรรค์นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

 

มาอ่านค่ะ อ่านแล้วทำให้รู้มากขึ้นนะค่ะ

ครับ... P คุณ ศรีวิรัตน์

ขอบคุณมากนะครับที่ติดตามอ่าน...

สวัสดีค่ะ...Vij เห็นด้วยว่าการพัฒนาต้องอาศัยปัจจัยจากหลาย ๆ มิติ...แต่หากให้แคบลงสักนิด Vij มองว่าการพัฒนาใด ๆ ก็แล้วต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนค่ะ...ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องเข้าใจและเข้าถึงมนุษย์ >> การเข้าไปนั่งอยู่กลางใจคนเหล่านั้นหรือเรียกว่า "การบริหารคน" >> ก่อเกิดการพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่...ช้าหน่อยแต่ยั่งยืนค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

ครับ... P คุณ Vij

เห็นด้วยเลยครับ...

การพัฒนา "คน" แม้ต้องใช้เวลานาน แต่ว่า "ยั่งยืน" นะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

  • อ่านแล้ว รู้สึกดีอีกแล้วบันทึกนี้
  • ขอบคุณนะคะ

Dsc03108

มาซึมซับความแตกต่างของวิธีคิด

คือความงดงามที่หลากหลายของสรรพสิ่งคะ

ครับ... P คุณ แสงรวี ทรัพย์เจริญ

เพราะความต่างโลกจึงงดงามนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

ร่วมกันคิดในฐานะพลเมืองของสังคม

คิดดูแล้วก็เห็นด้วยกับ Mr.Direct ค่ะว่าภายใต้ฐานคิดในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรที่แตกต่างกัน บางคนเชื่อมั่นในระบบโครงสร้างหน้าที่ทางสังคม บางคนเชื่อมั่นในมิติความเป็นมนุษย์ และบางคนก็เชื่อว่าการพัฒนานั้นคงต้องมองทั้งสองมิติ

ขอบคุณค่ะ

ครับ... น้อง lukpla

เป็นอีกหน้าที่หนึ่งของพลเมืองในสังคมนะครับ...

ร่วมด้วยช่วยกันสังคมเราจะได้น่าอยู่นะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท