โครงสร้าง นาโนทิวบ์ (Nanotube) ต่อยอดบันทึกคุณ Hana


 

ผมได้ไปอ่านบันทึก ใช้ระเบิดจิ๋วรักษามะเร็ง

ในบล็อก บอกเล่าเก้าสิบ ของน้อง Hana

แล้วเพิ่งรู้สึกตัวว่า เฮ้! เราเป็นนักวัสดุศาสตร์นี่นา...น่าจะต่อยอดความรู้ได้บ้าง

แถมในบันทึกดังกล่าว

ยังอ้างถึง Georgia Institute of Technology (เรียกย่อว่า Georgia Tech)

สถาบันที่ผมได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้และอื่นๆ อีกมากมาย!

 

 

ไม่ได้การ...อย่างนี้ต้องขอเล่นบทนักวัสดุศาสตร์ซะหน่อยแล้ว!

(ครั้งแรกใน G2K เลยนะเนี่ย) ;-)

 


 

นาโนทิวบ์ (nanotube) หรือ ท่อนาโน เป็นผลผลิตหนึ่งของนาโนเทคโนโลยี (Nanotecnology) ครับ

มาดูหน้าตาของเจ้านี่กัน

 

ภาพแรกเป็นแบบจำลอง (โมเดล) แสดงโครงสร้างของนาโนทิวบ์ (ท่อนาโน) ใน 3 มิติครับ

จุดแต่ละจุดที่มี 3 เส้นมาพบกันคือตำแหน่งของอะตอมคาร์บอน

     

อย่างนี้นะครับ (ดูหลายๆ แบบ...น่าจะมีสักแบบที่เข้าใจล่ะน่า)     

     

 

 

ส่วนภาพต่อไปนี้เป็นแอนิเมชัน หมุนให้ดูว่ารูปร่างโดยรวมเป็นยังไง

 

สมมติว่าเริ่มจากคาร์บอนที่มาต่อกันเป็นแผ่นแบนๆ คล้ายผ้า หรือกระดาษ

จากนั้นก็ม้วนเป็นท่อ....อย่างนี้นะครับ


ที่มาของภาพ

 หมายเหตุ : ภาพข้างบนนี้เป็นภาพอย่างง่ายๆ ที่ช่วยให้เห็นโครงสร้างอย่างชัดเจนเท่านั้น

ในทางปฏิบัติ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้สังเคราะห์คาร์บอนนาโนทิวบ์อย่างนี้นะครับ

 

 

พอได้ท่อแล้ว ก็หมุนตามแนวแกนท่อซะหน่อย

โปรดสังเกตตำแหน่งอะตอมคาร์บอน (จุดกลมๆ)

 

 รอ link ที่มา

 

คราวนี้จับพลิกไป-พลิกมา ลูกกลมๆ แทนอะตอมคาร์บอนนะจ้ะ ^__^ 

รอ link ที่มา

           

ภาพสุดท้าย เป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope)

เรียกย่อๆ ว่า ทีอีเอ็ม (TEM) ครับ แสดงภาพตัดขวางของท่อนาโน

(ผมเคยทำงานกับเจ้ากล้องแบบนี้มาบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นถ่ายภาพอะตอมอย่างที่เห็น)

           

 

พอหอมปากหอมคอนะครับ มากกว่านี้เดี๋ยวจะหลับซะก่อน

ไว้คราวหน้า ใครมีประเด็นอะไรมันๆ ที่ผมต่อยอดได้ ก็จะนำมาฝากกันอีก


 

 

คำสำคัญ (Tags): #nanotube
หมายเลขบันทึก: 303844เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • ชอบภาพ animationครับ
  • เห็นภาพโดยรวมทั้งหมด
  • พี่ชิวสบายดีนะครับ
  • ลืมไปว่าพี่ชิวเป็นนักวัสดุศาสตร์ แป่วววว

สวัสดีครับพี่ชิว

เริ่มสนใจวิทยาศาสตร์ขึ้นมาแล้วซิครับ

แล้วไอ้ท่อเนี่ย มันทำมาจากวัสดุอะไรครับ

ทำได้ไงเน๊อะเล็จิ๋วหลิวซะขนาดนั้น

ตามมาอ่านบันทึกต่อยอดของพี่อาจารย์ชิวค่า ^___^

ขอบพระคุณมากๆๆค่ะ สำหรับข้อมูล และภาพ animation

หนึ่งเลยได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ

carbon nanotube เป็นแบบนี้นี่เอง ^___^

ปล.แอบเห็นว่าอาจารย์ชิว เล่นบทนักวัสดุศาสตร์ครั้งแรกใน G2K อิอิ

อ.แอ๊ด 014 สวัสดีคร้าบ....

      พี่ก็เพิ่งสำนึกตัวได้ว่าเป็นนักวัสดุศาสตร์ ที่ผ่านมาใน G2K นี่ทำตัวเหลวไหลมาก ;-) เอาแต่ดูเมฆ พับกระดาษ ฯลฯ แต่ไม่เคยนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาใช้เลย...ผิดไปแล้วคร้าบบบบ (ฮา)

      เพิ่มภาพ animation เข้าไปใหม่ คิดว่าน่าจะช่วยให้เห็นชัดแจ๋วยิ่งขึ้นไปอีกครับ (แต่ดูมากๆ ระวังตาลายเน้อ...อิอิ)

น้องหนานเกียรติ

        แต่ละกลมๆ คือ อะตอมของคาร์บอน (carbon) ครับ

        คาร์บอนนี๋...

            ถ้ามาต่อๆ กันในโครงสร้างแบบหนึ่ง ก็คือ แกรไฟต์ (ไส้ดินสอดำ)

            ถ้าต่อกันในอีกโครงสร้างหนึ่ง ก็คือ เพชร! <--- diamond!

            ถ้ามาต่อกันเป็นท่อ เป็นลูกบอลกลมๆ จะเรียกว่า ฟูลเลอรีน (fullerene) หมายความว่า คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) เป็นฟูลเลอรีนแบบหนึ่งนั่นเองครับ

      ไว้จะหาภาพมาให้ดู....เอ๊ะ! หรือให้การบ้านไปหาเอง...จะได้เข้าใจจริงๆ (ฮา)

       ส่วนวิธีการผลิต (สังเคราะห์) อดใจรอนิดหนึ่ง กำลังหาภาพประกอบเหมาะๆ อยู่ครับ

       

น้อง Hana สวัสดีคร้าบ....

        ต้องขอบคุณมากๆ เลยที่เปิดประเด็น เขี่ยลูกเริ่มต้นให้อย่างสวยงาม

        วิทยาศาสตร์นี่ ต่อให้ hi-tech ขนาดไหน ถึงที่สุดแล้ว ก็จะเกี่ยวข้องกับคนจนได้ครับ เพราะว่าคนนี่แหละคิดมันขึ้นมา ;-)

พี่ชิวครับ

ในฐานะที่ทำให้ผมสนใจวิทยาศาสตร์ขึ้นมา

เป็นความรับผิดชอบของพี่ต่อบรรดาคำถามของผมนะครับ (ฮิ ฮิ...)

อ้ะจึ๋ย...ไม่ใช่ความรับผิดชอบร่วมกันหรอกหรือครับ...แหะ..แหะ :-P

สวัสดี ครับ อาจารย์

เข้ามาเชียร์ บันทึกคุณภาพของอาจารย์

ก่อนกลับบ้าน ครับ

รักษาสุขภาพด้วย นะครับ

ด้วยความระลึกถึง

 

พี่ชิวครับ

ตอนเป็นเด็กเจอครูวิทยาศาสตร์แบบพี่ ป่านนี้ผมอาจจะเป็นนักวิทยาศาสตร์แบบพี่แล้วก็ได้ ใครจะรู้ ฮิ ฮิ...

สวัสดีค่ะ ดร.ชิว

  • กำลังนึกอยู่ในใจเหมือนพี่หนานเกียรติเลยค่ะ
  • ถ้าเจอ อาจารย์แบบนี้
  • ป่านนี้อาจเป็นลูกศิษย์อ.ดร.ชิวไปแล้ว...555
  • ขอบพระคุณค่ะ

คุณแสงแห่งความดี สวัสดีครับ

      แหม! แวะมาก่อนกลับบ้านอย่างนี้ แสดงว่ารักกันจริงครับ เดี๋ยวจะแวะไปเยี่ยมซะหน่อย พร้อม 'ปล่อยของ' ไว้ด้วย (ฮาฮา)

จ๊ากสส์....

      น้องหนานเกียรติอยากเป็น 'นักวิทยาศาสตร์กลายพันธุ์' หรือครับ (กลายพันธุ์แต่ไม่สูญพันธุ์นะ...ฮาฮา)

คุณอิง สวัสดีครับ

        เพิ่งกลับมาเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกครั้งในบันทึกนี้ครับ หลังจากเตลิดเปิดเปิงไปทำอย่างอื่นมานาน ^__^

        เดี๋ยวจะนำ ปริศนาขำๆ ไปฝากครับ ชุดเดียวกับที่ฝากคุณแสงแห่งความดีนั่นเลย!

พี่ชิวครับ ผมจำได้ว่าตนผมอยู่ปี 3 ประมาณปี 2530 ตอนนั้นเรื่อง Superconductor ดังมาก ถ้าจำไม่ผิดท่านศ.ดร.สุทัศน์ ท่านอธิบายปรากฎการณ์ด้วยสูตรสมการทางฟิสิกส์ให้ดูด้วยในฐานะนักทฤษฎีฟิสิกส์ในยุคนั้น ตอนนั้นมันแสดงอิทธิฤทธิ์หมุนตัวเหนือไนโตรเจนเหลว ผมยังไปช่วยอาจารย์ผสมและอัดเป็นเม็ดเท่าเม็ดยาพารา แล้วให้มันหมุนตัวโชว์ในงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มีเด็กนักเรียนมาดูกันใหญ่ ตอนนั้นเท่ห์จริงๆ เหมือนพ่อมดเลย 555

แต่ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้มันมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว และสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ที่อุณหภูมิสูงขึ้นได้แล้วหรือยัง วานพี่ชิวช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ ในฐานะนักวัสดุศาสตร์ เพราะช่วงหลังมานี้ผมแทบไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ Superconductor อีกเลย

อ.อ๊อด สวัสดีครับ

       มาตอบช้าไปหน่อย มัวเพลินกับการพับกระดาษที่งานมหกรรมหนังสือครับ ;-)

       เรื่อง Superconductor นี่พี่ก็เคยสนใจมากๆ เหมือนกันเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่ตอนนี้ไม่ได้ตามเลย เข้าใจว่าเรื่อง Room-Temp Hi-Tc Superconductor นี่ยังไม่สำเร็จครับ แต่หากสำเร็จเมื่อไร วงการพลังงานของโลกเกิดการปฏิวัติแน่!

สรุปงานเสวนา ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ที่ผ่านมาครับ

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/307280


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท