มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายแรงที่ป้องกันได้


มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทย

 

 

 

 

  เมื่อวานนี้วันที่ 5 ตุลาคม 2552 ผมได้มีโอกาสไปร่วมประชุมทางวิชาการที่ โรงแรม โนโวเทล สยามแสควร์ เรื่อง “มะเร็งปากมดลูกภัยร้ายที่ป้องกันได้ “ โดยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ การเข้าร่วมประชุม

 

เป็นการเสริมความรู้หลังจากเมื่อเดือนที่แล้วก็เข้าร่วมประชุมวิชาการหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันที่โรงแรมสยามซิตี้(Siam City Hotel) ถนนศรีอยุธยา ซึ่งการประชุมครั้งนั้นมีแพทย์เป็นส่วนใหญ่และเภสัชกรจำนวนหนึ่งเข้าร่วมประชุม โดยแพทย์เฉพาะทางเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้การบรรยาย

 

        สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการให้ความรู้โดยแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเช่นเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นแพทย์ เภสัชกรโรงพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีไทยทั่วๆไปควรจะฟังและรับรู้ไว้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตโดยตรง ผมขอนำมาเผยแพร่ด้วยความเข้าใจง่ายๆดังนี้

 

 

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย มีการดำเนินโรคที่ช้า สามารถตรวจพบแต่เริ่มแรกได้ และรักษาให้หายได้ แต่ที่น่าเสียดายที่ผู้หญิงไทยจำนวนมาก อายแพทย์ไม่มารับการตรวจทำให้สูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคในระยะเริ่มแรก ปล่อยจนมีอาการก็สายไปเสียแล้ว 

 

-         หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกกันมากที่สุดพอๆกับมะเร็งเต้านม  

-         ตรวจพบ 6 พันคนต่อปี ครึ่งหนึ่งมักจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

-         สาวไทยมักเป็นอย่างไม่รู้ตัว เพราะก้มลงก็มองไม่เห็น ก็คิดว่าไม่ได้เป็นอะไร

-         กว่าจะรู้ตัวเชื้อก็เกิดการพัฒนาเป็นมากไปแล้ว ถ้าลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะข้างเคียงก็หมดหวัง

 

เชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกคือ ไวรัส Human Papilloma Viruses (HPV)

 

เชื้อตัวนี้นอกจากทำให้เกิดมะเร็งที่ปากมดลูกที่พบมากที่สุดแล้วยังทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอดและมะเร็งที่ปากช่องคลอดได้

 

เชื้อ HPV เป็นไวรัสที่มีกว่า 100 สายพันธุ์

เชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 16 และ สายพันธุ์ที่ 18 เป็นสายพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกสูง

 

การติดเชื้อมะเร็ง HPV ง่ายมาก ติดมือล้างก็ไม่ออก

 

มะเร็งปากมดลูกติดต่อกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กัน แค่เอามือลูบคลำก็ติดมือมาได้ เชื้อตัวนี้ตายยาก ทนต่อความร้อนกว่าร้อยองศา

 

มะเร็งปากมดลูกส่วนมากเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งผู้ชายเป็นตัวนำเชื้อทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แม้จะใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันได้

 

เพราะเชื้อนี้อยู่ที่โคนอวัยวะเพศชายก็มี ติดที่มือจากการสัมผัสก็มี

คนที่มีคู่นอนหลายคนมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายมาก

 

 

เชื้อ HPV ที่เป็นกลุ่มความเสี่ยงต่ำ ได้แก่สายพันธุ์ที่ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิด หูดและหงอนไก่ที่อวัยวะเพศทั้งหญิงและชาย ถ่ายทอดกันไปมาระหว่างหญิงและชายได้เช่นเดียวกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก

 

ตรวจพบผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 99.90 มี DNA ของเชื้อ HPV ติดอยู่ 

 

มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทย

 

ผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เจ้าตัวมักจะไม่รู้ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีเลือดออกทางช่องคลอด  หรือมีเลือดออกทางปัสสาวะและอุจจาระ กลิ่นมักรุนแรง

 

คนที่เป็นมะเร็งปากมดลูกจะมีเลือดออกเวลาร่วมเพศ หรือมีตกขาวปนเลือด

 

Cell ที่ปากมดลูกเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

 

การทำ Pap Smear (ตรวจเนื้อเยื่อ) ทำให้รู้ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่

เมื่อติดเชื้อจะใช้เวลาในการพัฒนานาน 10 – 15 ปี     

 

 

การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ( Pap Smear )  เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาเพื่อการหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น เพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ

 

เพราะ ภาวะก่อนมะเร็งและต้องใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นมะเร็งระหว่าง 10-15 ปี

 

เชื้อไวรัสชนิด Human papillomaviruses (HPV) เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

 

การติดเชื้อไวรัส จะเกิดในช่วงที่มีเพศสัมพันธุ์ อายุ 16-30 ปี

ภาวะก่อนมะเร็ง มักจะเกิดในช่วงอายุ 30-40 ปี

และ มะเร็งปากมดลูก มักเกิดในช่วงอายุ 50-60 ปี

 

 พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ไม่เคยตรวจ เช็คมะเร็งปากมดลูก  

 

สตรีที่มีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อยมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกภายหลังได้มาก เพราะชั้นเซลล์ที่ปากมดลูกยังแบบบาง ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ถ้ามีอาการก็จะแย่แล้วคือเข้าทางทวารหนักและกระเพาะปัสสาวะ  ผู้ชายมักเป็นที่ทวารหนักและอวัยวะเพศชายแต่เกิดน้อยกว่าผู้หญิง 40 %

 

 

กลไกการทำงานของ HPV

ถ้ามีการปริแตกเนื้อเยื่อเซลล์ปากมดลูก virus จะแทรกตัวไปถึงเซลล์ชั้นพื้นฐานเซลล์ปากมดลูกที่มีอยู่หลายๆชั้น

 

เซลล์ชั้นบนไม่แบ่งตัว เซลล์ชั้นล่างมีการแบ่งตัว  HPV จุแทรกตัวลงมาที่ชั้นนี้ เซลล์ที่ติดไวรัสจะหลุดร่วงมาที่ปากมดลูก เชื้อ HPV ยังสามารถแทรก DNA ของมันไปที่เซลล์ปากมดลูก

 

-         เชื้อ HPV อยู่ที่ผู้ชาย การร่วมเพศ  สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีอายุน้อยจะมีโอกาสเป็นมากกกว่าคนที่มีอายุมาก

-         การมีคู่นอนคู่เดียวไม่ค่อยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

-         ไม่มีเพศสัมพันธ์เลยก็ไม่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก

 

 

  

 

ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้ามีการผลิต Vaccine ป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV สายพันธ์ ที่ 6 และ 11 ได้ถึงร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูก และป้องกัน ไวรัสสายพันธ์ 16 และ 18  ได้ร้อยละ 90 ของหูดและหงอนไก่

 

 

ถ้าติดเชื้อ HPV ที่ปากมดลูกแล้วได้รับวัคซีนตรงกับสายพันธ์ของเชื้อ การฉีดวัคซีนก็สามารถป้องกันการเป็นมะเร็งที่ช่องคลอดและปากช่องคลอดได้ 100 %

 

การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบ 3 เข็ม โดยแบ่งเป็นวันแรกที่ฉีด 1 ครั้ง เดือนที่ 2 หนึ่งครั้ง และเดือนที่ 6 อีกหนึ่งครั้ง

 

   บางประเทศออกเป็นกฎหมายให้เด็กหญิงตั้งแต่อายุ 12 ปี ขึ้นไปต้องฉีดวัคซีนตัวนี้

 

ปัจจุบันหญิงไทยเริ่มสนใจฉีดวัคซีนตัวนี้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในอนาคต

 

สาวใดที่คิดว่าชีวิตนี้จะไม่แต่งงานหรือคาดว่าขึ้นคานทองแน่ๆแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนตัวนี้ให้เจ็บเนื้อเจ็บตัวฟรีๆ ครับ 

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีหนึ่งที่รักษาชีวิตของสตรีไทยให้รอดพ้นจากการคุกคามของมะเร็งปากมดลูกได้

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มะเร็งปากมดลูก
หมายเลขบันทึก: 303766เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (71)

สวัสดีค่ะ ข้อมูลของอาจารย์ก็มีประโยชน์มากนะคะ

ขอบคุณที่จะติดตามฟังรายการค่ะ

พรุ่งนี้ พี่ตุ๊บปอง-เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป ผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

จะมาเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังค่ะ

แล้วพบกันในรายการนะคะ

ยินดีต้อนรับสู่รายการเด็กค่ะ

ฟังได้ที่ www.radiothai.fm ค่ะ

เวลา 15.00 น.

P
นกน้อย (ทำรังแต่พอตัว)
เมื่อ พ. 07 ต.ค. 2552 @ 01:47
#1594335 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ ข้อมูลของอาจารย์ก็มีประโยชน์มากนะคะ

ขอบคุณที่จะติดตามฟังรายการค่ะ

พรุ่งนี้ พี่ตุ๊บปอง-เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป ผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก

จะมาเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังค่ะ

แล้วพบกันในรายการนะคะ

ยินดีต้อนรับสู่รายการเด็กค่ะ

ฟังได้ที่ www.radiothai.fm ค่ะ

เวลา 15.00 น.

 

ขอขอบคุณคุณนกน้อยทำรังแต่พอตัวมากนะครับที่มาแวะอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจที่เกิดกับสตรีเพศ
โรคนี้เป็นภัยร้ายแรงต่อสตรีที่ทำให้เกิดสาเหตุการตายมากที่สุด
ด้วยเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านโดยเฉพาะท่านสุภาพสตรี
จึงได้นำเรื่องที่ไปประชุมทางวิชาการทั้งสองครั้งรวมมาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับทุกๆท่านครับ

 

บันทึกนี้ดีมากคะ เป็นการเตือนผู้หญิงให้ใส่ใจในการพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน
มีประโยชน์สำหรับชีวิตลูกผู้หญิงคะ
ขอบคุณคะ

กรุณาอธิบายความหมายของ PAP SMEAR ด้วยค่ะว่าคืออะไร มีขั้นตอนเตรียมตัวอย่างไรคะ

คุณตรรกะนนท์ ครับ

ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
โรคที่คุกคามชีวิตของหญิงไทยที่ทำให้หญิงไทยต้องเสียชีวิตสูงสุด
คือมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
สองโรคนี้เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่มีการบอกอาการล่วงหน้า
นอกจากไปรับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ท่านสุภาพสตรีจึงอย่าประมาท
หมั่นไปพบแพทยเพื่อรับการตรวจสม่ำเสมอ
ระยะเริ่มแรกรักษาหายได้ครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์สุวัฒน์

-ให้ความรู้สำหรับผู้หญิงดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากที่มีบันทึกดีๆนำมาให้ความรู้สำหรับผู้หญิง

สวัสดีคะ
สาระดีมากคะ ทำให้เข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกกระจ่างชัดคะ
มีความรู้สึกว่า อยากป้องกันตนเองคะ

P
สุรีย์พร ดวงมณี
เมื่อ พ. 07 ต.ค. 2552 @ 14:47
#1595266 [ ลบ ]

กรุณาอธิบายความหมายของ PAP SMEAR ด้วยค่ะว่าคืออะไร มีขั้นตอนเตรียมตัวอย่างไรคะ

 


Pap ย่อมาจากชื่อของคนที่ชื่อ Papanicolaou ซึ่งเป็นผู้ค้นพบวิธีย้อมสีเซลล์
โดยค้นพบว่าเซลล์ปกติและเซลล์ผิดปกติมีการติดสีแตกต่างกันเมื่อย้อมเซลล์
จึงเรียกวิธีย้อมนี้โดยย่อว่า Pap smear หรือเรียกชื่ออื่นๆ เช่น Papanicolaou test,  Pap test, cervical smear, or smear test
วิธีการดังกล่าวสามารถตรวจเซลล์จากทุกอวัยวะได้
นิยมตรวจที่เซลล์ปากมดลูกมากที่สุด เพราะเก็บเซลล์ง่าย

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อย ในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 1
ในขณะ ประเทศแถบตะวันตกเขาแนะนำให้สตรีอายุเพียง 12 ปี ให้เริ่มฉีด vaccine ป้องกันมะเร็งปากมดลูกกันแล้ว

ที่ประเทศที่เจริญ ประชาชนมีความรู้ทางสาธารณสุขค่อนข้างดีเช่น
 USA อังกฤษ ออสเตรเลีย, จะพบมะเร็งปากมดเป็นอันดับท้ายๆ
เพราะรัฐบาลและประชาชนมีการใส่ใจสุขภาพไปรับการตรวจ Pap Smear อย่างสม่ำเสมอ
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจ Pap smear ปีละครั้งหรือตามแพทย์นัด

การไปตรวจทำให้สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ได้ตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งแท้จริง
หรือเริ่มเป็นมะเร็งระยะต้นยังไม่ลุกลาม
เมื่อรักษาตั้งแต่ต้น ก็เป็นการตัดวงจรของการกลายเป็นมะเร็งได้

 

สวัสดีค่ะ...

อ่านบันทึกแล้วทำให้ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเคลืบคลานอยู่ใกล้ ๆ ตัว...จริงอย่างท่านว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่กล้าไปตรวจเพราะอาย...Vij เคยปวดท้องตอนรอบเดือนใกล้จะมา ปวดอย่างหนัก หนักมาก หน้าซีด ตัวสั่น หนาว วิงเวียนศรีษะ...เลยไปอุลตร้าฯ ไม่พบก้อนเนื้อใด ๆ คุณหมอบอกว่าฮอร์โมนผิดปกติ จึงให้ยาปรับฮอร์โมนมา...รอดูผล ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นอันว่าโล่งค่ะ...

ขอบพระคุณสาระดี ๆ จากบันทึกนี้ ทำให้ตระหนักมากขึ้นหลายเท่านัก....ขอบพระคุณมากค่ะ

พี่ที่ทำงานฝากถามคะว่า

จะเตรียมตัวไปรับการตรวจ Pap smear จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

คิดว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้ด้วยคะ

 

P
Noo-on
เมื่อ พ. 07 ต.ค. 2552 @ 17:43
#1595593 [ ลบ ]

-ขอบคุณมากคะที่เขียนให้อ่านได้ความรู้ดีมาก

และขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

แล้วอย่าลืมเขียนวิธีป้องกันโรคเกี่ยวกับผู้หญิงให้อ่านอีกนะจ๊ะ

------------------------------------

สวัสดีครับคุณครูหนูอร Noo-on
ยินดีมากครับที่คุณได้รับประโยชน์จากการอ่านบันทึกนี้
เรื่องมะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับสตรีไทยที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
เพราะหมายถึงการรักษาชีวิตไว้ก่อนที่ภัยจะมาถึง
จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้หญิงทุกคนที่มีภาวะเสี่ยงต้องไปรับการตรวจสม่ำเสมอ

ขอขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับความสุขที่คุณมอบให้

 

 

 

P
น้องลก กะดาดื้อ
เมื่อ พ. 07 ต.ค. 2552 @ 23:40
#1596436 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะอาจารย์สุวัฒน์

-ให้ความรู้สำหรับผู้หญิงดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากที่มีบันทึกดีๆนำมาให้ความรู้สำหรับผู้หญิง

 

สวัสดีครับ น้องลก กะดาดื้อ
หญิงไทยอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกมาก
เพราะความอายทำให้ไม่กล้าไปรับการตรวจภายใน
เมื่อเกิดโรคกว่าจะตรวจพบทำให้โรคมีการดำเนินลุกลามไปจนแก้ไขไม่ได้ครับ

 

 

P
นวลจิรา รุจิเรศ
เมื่อ พฤ. 08 ต.ค. 2552 @ 01:56
#1596501 [ ลบ ]

สวัสดีคะ
สาระดีมากคะ ทำให้เข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกกระจ่างชัดคะ
มีความรู้สึกว่า อยากป้องกันตนเองคะ

 

ยินดีครับที่คุณได้รับประโยชน์จากการอ่านบันทึกนี้

การเฝ้าระวังหมั่นใสใจสุขภาพในเรื่องนี้ถือเป็นการป้องกันตนเองให้พ้นจากภัยโรคมะเร็งปากมดลูก

ขอบคุณครับ

 

อ่านแล้วเห็นภัยเงียบของมะเร็งปากมดลูกจริงๆคะ
เป็นภัยร้ายแรงต่อชีวิตของลูกผู้หญิงที่ต้องเผชิญในหลายๆโรค
ทุกวันนี้มัวยุ่งกับงาน ต้องหาเวลาไปตรวจแล้วนะคะ
อยากทราบคะว่าผู้หญิงควรจะไปตรวจเมื่ออายุได้เท่าไรคะ

 

9.
P
Vij
เมื่อ พฤ. 08 ต.ค. 2552 @ 15:57
#1597601 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ...

อ่านบันทึกแล้วทำให้ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเคลืบคลานอยู่ใกล้ ๆ ตัว...จริงอย่างท่านว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่กล้าไปตรวจเพราะอาย...Vij เคยปวดท้องตอนรอบเดือนใกล้จะมา ปวดอย่างหนัก หนักมาก หน้าซีด ตัวสั่น หนาว วิงเวียนศรีษะ...เลยไปอุลตร้าฯ ไม่พบก้อนเนื้อใด ๆ คุณหมอบอกว่าฮอร์โมนผิดปกติ จึงให้ยาปรับฮอร์โมนมา...รอดูผล ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นอันว่าโล่งค่ะ...

ขอบพระคุณสาระดี ๆ จากบันทึกนี้ ทำให้ตระหนักมากขึ้นหลายเท่านัก....ขอบพระคุณมากค่ะ

 

สวัสดีครับคุณ Vij

ยินดีด้วยครับที่ผลการตรวจคุณไม่เป็นอะไร
เพื่อความมั่นใจในสุขภาพควรไปรับการตรวจตามที่แพทย์แนะนำอีกนะครับ
อ่านบันทึกของคุณเป็นข้อเขียนเชิงคุณภาพ
คุณเป็นนักจิตวิทยามีผลงานที่น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับ

 

อาจารย์เก็บรายละเอียดได้น่าสนใจมากครับ

10.
P
ยุพดี ศรีจันทร์
เมื่อ พฤ. 08 ต.ค. 2552 @ 16:09
#1597634 [ ลบ ]

พี่ที่ทำงานฝากถามคะว่า

จะเตรียมตัวไปรับการตรวจ Pap smear จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

คิดว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้ด้วยคะ

 

แนวทางตรวจสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไป
Pap smear ตรวจเมื่อสตรีเริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุ 35 ปี ปีละ 1ครั้ง x 3 ปี หลังจากนั้นตรวจทุก 3 ปี
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจ Pap Smear
ไม่ใส่ยาในช่องคลอดหรือล้างช่องคลอดก่อนตรวจ 24-48 ชั่วโมง
งดเพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง
ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
ไม่ควรตรวจในช่วงมีประจำเดือน หรือถ้ามีการอักเสบที่ปากมดลูกควรรักษาให้หายเสียก่อน

 

บันทึกนี้ดีมากคะ อ่านแล้วได้ทั้งประโยชน์และความรู้ในการระวังโรคภัยใกล้ตัว

มะเร็งปากมดลูกเป็นแล้วตายได้ น่ากลัวจัง

การตรวจ Pap Smear เจ็บไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ ตามมาอ่านภัยเงียบสำหรับสตรีค่ะ....

ตอนนี้ดาวฉีดวัคซีน HPV เรียบร้อยแล้ว ประกอบกับอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตรวจ screening ค่ะ

อ้อ ตอนนี้ vaccine เริ่มลดราคาแล้วนะคะ...แนะนำว่าให้รีบๆ ไปฉีดกันค่ะ

อุ๊ย ขอโทษค่ะ พอดีว่าดาวใช้คอมพ์พี่นก (giant bird) อยู่ ข้อความที่ดาวบันทึกเลยกลายเป็นพี่นกบันทึกไปซะงั้น

ตอนแรกว่าจะปล่อยเลยตามเลย แต่พี่นกไม่ยอมรับว่าอายุไม่ถึงเกณฑ์ ดาวเลยต้องเข้ามาแก้ข่าวให้ค่ะ

พี่เค้าตรวจทุกปีนะคะ เพราะว่ากลัวตายด้วยมะเร็งปากมดลูก (อายเค้าตายเลย)

ตอนนี้ดาวฉีดวัคซีน HPV เรียบร้อยแล้ว แล้วอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตรวจ screening ค่ะ แต่ก็จะแนะนำคนอื่นๆ ให้ไปตรวจอยู่เรื่อยๆ ค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชมบล็อกของดาวนะคะ ^-^

ขอบคุณคะที่เขียนเรื่องดีๆ ให้คุณผู้หญิงได้รู้จักดูแลตนเองก่อนที่จะสายเกินไป

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

ขอบคุณความรู้ดี ๆ ที่มอบให้ค่ะ

อ่านแล้วก็  รู้สึกกลัว

สงสัย...ไม่แต่งงานดีกว่า...

สวัสดีคะ...

ได้อ่านเรื่องราวอย่างละเอียดทำให้เข้าใจภัยอันตรายของผู้หญิงเรื่องมะเร็งปากมดลูก
เราสามารถป้องกันได้โดยไปรับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อนฝากถามว่า ตอนนี้อายุ 25 ตรวจได้ยังคะ

ขอบคุณมากคะ

 

"ป้า" ของแหม่ม เคยตัดมดลูก และปากมดลูกออกไปแล้ว ยังต้องไปทำ Pap smear อีกไหม ?
ถ้าหญิงแต่งงานแล้ว ควรจตรวจก่อนมีประจำเดือนหรือหลังมีประจำเดือนคะ

ขอบคุณคะ

 

 

14.

P
น.ส. ดวงกมล แหวน รัตนกุล
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 08:18
#1598894 [ ลบ ]

อ่านแล้วเห็นภัยเงียบของมะเร็งปากมดลูกจริงๆคะ
เป็นภัยร้ายแรงต่อชีวิตของลูกผู้หญิงที่ต้องเผชิญในหลายๆโรค
ทุกวันนี้มัวยุ่งกับงาน ต้องหาเวลาไปตรวจแล้วนะคะ
อยากทราบคะว่าผู้หญิงควรจะไปตรวจเมื่ออายุได้เท่าไรคะ

 

สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคน ควรตรวจทุกปี หรือ 2 ปี
หากได้ผลปกติ 2-3 ครั้ง ก็สามารถจะเว้นระยะห่างออกไปได้เป็น 3 ปี หรือ 5 ปี
แต่ถ้าหากไม่สามารถจะทำได้ตลอด อย่างน้อยก็ควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปี และตรวจทุก 5 ปี จนอายุ 60 ปี

สตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
เมื่ออายุครบ 35, 40, 45, 50, 55, และ 60 ปีควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์
เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง..เช่นเดียวกัน

ส่วนใหญ่ที่ตรวจมะเร็งปากมดลูก
ผลจะปกติ มีบางรายเท่านั้นจะมีผลผิดปกติ
ถ้าผลการตรวจผิดปกติ ต้องรีบพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจและรักษา
หากปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นมะเร็งระยะลุกลาม รักษายากและตายสถานเดียว

 

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ

ไม่ได้พบคุณสุวัฒน์นานมาก

ขอบคุณค่ะที่แวะเข้าไปเยี่ยม

 

16.
P
หมอสีอิฐ
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 14:33
#1599467 [ ลบ ]

อาจารย์เก็บรายละเอียดได้น่าสนใจมากครับ

 

 

สวัสดีครับอาจารย์ หมอสีอิฐ 

รู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านอาจารย์เข้ามาทักทายหยอดคำชม
ด้วยเห็นว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องสำคัญเป็นภัยร้ายแรงที่คุกคามชีวิตของสตรี
จึงตั้งใจนำรายละเอียดทุกแง่มุมเพื่อจูงใจให้ท่านสุภาพสตรีชาวโกทูโน
ได้ตระหนักถึงภัยและหาทางป้องกันดูแลตนเองให้ปลอดจากภาวะเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก

ผมไปเยี่ยมชมบล็อกอาจารย์มาแล้ว
รอยบันทึกบ่งชี้ว่าอาจารย์หมอสีอิฐ เป็นนักบริหารที่มีศักยภาพ มีภาวะผู้นำสูง
ก็ขอคารวะครับ

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่เอามาแบ่งปันกันนะคะ

ค่าฉีดแพงไหมคะ

เป็นการนำเสนอที่ละเอียอดมาก เข้าใจง่าย ขอบคุณมากๆคะ

  • เป็นบันทึกที่มีประโยชน์
  • CA cervix อันตรายของผู้หญิง
  • หากเป็นระยะเริ่มต้น ก็สามารถรักษาได้
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะท่านสุวัฒน์..ไม่พบกันนานมากค่ะเพราะติดตามบทกลอนจากท่านกับบล็อกน้องพิมญดา..ไม่ทราบว่าไปไหนแล้วเนอะ..กลอนไพเราะมากอยากอ่านอีกค่ะ

เป็นกระทู้ที่ดีมีประโยชน์มาก
ขอขอบคุณอาจารย์ด้วยคะที่นำมาเตือนภัยกัน
โดยส่วนตัวแล้วเคยสูญเสียญาติใกล้ชิดเพราะโรคชนิดนี้มาแล้ว
เป็นความรู้สึกที่แย่เอามากๆและไม่อยากให้ใครต้องมาพบเจอกับโรคนี้อีกคะ

 

18.

30
สมหญิง [IP: 203.155.224.222]
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 15:56
#1599636 [ ลบ ]

บันทึกนี้ดีมากคะ อ่านแล้วได้ทั้งประโยชน์และความรู้ในการระวังโรคภัยใกล้ตัว

มะเร็งปากมดลูกเป็นแล้วตายได้ น่ากลัวจัง

การตรวจ Pap Smear เจ็บไหมคะ

 

การทำ Pap Smear ที่ถูกต้องตามวิธีการโดยได้รับความมือจากผู้รับการตรวจ
จะทำให้การตรวจทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย
โดยเริ่มตั้งแต่การจัดท่านอนตรวจ ขนาดของเครื่องมือที่ใช้ต้องเหมาะสม
การกระทำต่างๆ ที่บริเวณปากมดลูก เช่น การขูด ตัด จี้ นั้นผู้ถูกกระทำอาจจะรู้สึกได้ แต่ไม่เจ็บครับ

 

19.

P
Giant bird
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 18:02
#1599833 [ ลบ ]

ขอบพระคุณค่ะ ตามมาอ่านภัยเงียบสำหรับสตรีค่ะ....

ตอนนี้ดาวฉีดวัคซีน HPV เรียบร้อยแล้ว ประกอบกับอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตรวจ screening ค่ะ

อ้อ ตอนนี้ vaccine เริ่มลดราคาแล้วนะคะ...แนะนำว่าให้รีบๆ ไปฉีดกันค่ะ

20.
P
blue_star
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 18:10
#1599848 [ ลบ ]

อุ๊ย ขอโทษค่ะ พอดีว่าดาวใช้คอมพ์พี่นก (giant bird) อยู่ ข้อความที่ดาวบันทึกเลยกลายเป็นพี่นกบันทึกไปซะงั้น

ตอนแรกว่าจะปล่อยเลยตามเลย แต่พี่นกไม่ยอมรับว่าอายุไม่ถึงเกณฑ์ ดาวเลยต้องเข้ามาแก้ข่าวให้ค่ะ

พี่เค้าตรวจทุกปีนะคะ เพราะว่ากลัวตายด้วยมะเร็งปากมดลูก (อายเค้าตายเลย)

ตอนนี้ดาวฉีดวัคซีน HPV เรียบร้อยแล้ว แล้วอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ตรวจ screening ค่ะ แต่ก็จะแนะนำคนอื่นๆ ให้ไปตรวจอยู่เรื่อยๆ ค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชมบล็อกของดาวนะคะ ^-^

 

ขอขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากๆ ครับ ทั้งคุณ Giant bird และคุณ blue_star
ที่แวะมาส่งข่าวว่าได้รับการฉีด Vaccine เรียบร้อยแล้ว

การแสดงความคิดเห็นปรากฏตัวยืนยันว่าได้รับการฉีดเรียบร้อยแล้ว
ถือว่าเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้สตรีรู้จักป้องกันตนเองให้รอดปลอดภัยจากการคร่าชีวิตของมะเร็งปากมดลูก
ได้บุญกุศลมากโขเชียวครับ

ขณะนี้ราคายาฉีดก็ลดลงมากแล้ว ราคาไม่แพงอย่างที่คิดครับ

 

  • สวัสดีค่ะ
  • บันทึกนี้ได้ความรู้มากจริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวจริง ๆ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ค่ะ

สวัสดียามเช้า

  • ขอชมว่าบันทึกนี้ให้ประโยชน์กับสุภาพสตรีมากที่สุด
  • อ่านแล้วทำให้สุภาพสตรีนึกถึงอันตรายจากโรคนี้ให้มาก จากบันทึกทำให้ทราบว่าโรคนี้รักษาได้หากว่าได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น
  • ขอบคุณมากจริงๆ

 

21.

ขอบคุณคะที่เขียนเรื่องดีๆ ให้คุณผู้หญิงได้รู้จักดูแลตนเองก่อนที่จะสายเกินไป

 

ขอบคุณเช่นกันครับที่คุณสุให้เกียรติแวะมาอ่านเรื่องราวที่นำเสนอ

ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ

 

 

22.
P
°o.O ปลายฟ้า O.o°
เมื่อ ศ. 09 ต.ค. 2552 @ 21:35
#1600352 [ ลบ ]

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

ขอบคุณความรู้ดี ๆ ที่มอบให้ค่ะ

อ่านแล้วก็  รู้สึกกลัว

สงสัย...ไม่แต่งงานดีกว่า...

 

ใจเย็นๆครับ ทานไอสครีมหน้าหวานเย็นอร่อยต้องใจเย็นๆ

ฉีด vaccine แล้วป้องกันได้ครับถ้าสายพันธ์เดียวกัน

ในโลกนี้ใครๆก็แต่งงานกัน ไม่มีอะไรน่ากลัวเลยครับ

 

 

 

23.
P
ตรรกะนนท์
เมื่อ ส. 10 ต.ค. 2552 @ 06:20
#1600819 [ ลบ ]

สวัสดีคะ...

ได้อ่านเรื่องราวอย่างละเอียดทำให้เข้าใจภัยอันตรายของผู้หญิงเรื่องมะเร็งปากมดลูก
เราสามารถป้องกันได้โดยไปรับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อนฝากถามว่า ตอนนี้อายุ 25 ตรวจได้ยังคะ

ขอบคุณมากคะ

 

คำถาม  ถามว่าขณะนี้อายุ 25 ปี ตรวจได้หรือยัง

คำตอบคือ เพื่อนคุณอายุ 25 ปี เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือยัง
ถ้ามีควรตรวจทุกปี หรือ 2 ปี
หากได้ผลปกติ 2-3 ครั้ง ก็สามารถจะเว้นระยะห่างออกไปได้เป็น 3 ปี หรือ 5 ปี
แต่ถ้าหากไม่สามารถจะทำได้ตลอด อย่างน้อยก็ควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปี
และตรวจทุก 5 ปี คือ  35, 40, 45, 50, 55, และอายุ 60 ปี

สตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
เมื่ออายุครบ 35, 40, 45, 50, 55, และ 60 ปีควรได้รับการตรวจแปปสเมียร์
เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง..เช่นเดียวกัน

 

 

26.
P
ครูอรวรรณ
เมื่อ ส. 10 ต.ค. 2552 @ 12:41
#1601330 [ ลบ ]

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ

ไม่ได้พบคุณสุวัฒน์นานมาก

ขอบคุณค่ะที่แวะเข้าไปเยี่ยม

 

ขอบคุณมากครับที่ยังจำได้

ครอบครัวคุณครูเป็นครอบครัวที่อบอ่นนะครับ

ผมแวะเข้าไปดูแล้ว ผมซาบซึ้งความเป็นลูกกตัญญูของคุณครูครับ

 

 

น่ากลัวจังเลยนะคะ ..โรคนี้ ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้อย่างละเอียด และอ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

.

P
สมิหลา นรากร
เมื่อ ส. 10 ต.ค. 2552 @ 15:54
#1601598 [ ลบ ]

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่เอามาแบ่งปันกันนะคะ

ค่าฉีดแพงไหมคะ

 

เมื่อคราวที่วัคซีนตัวนี้ออกมาใหม่ๆเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว ราคาแพงมาก 3 เข็ม หมื่นกว่าบาท

ปัจจุบันราคาลดลงมามากแล้ว

อัตราข้างล่างนี้เป็นราคาค่าฉีดในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่

Package 3 เข็ม
1. วัคซีน HPV 2 สายพันธุ์(Cervarix) ราคา 6,800 บาท
2. วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์(Gardasil) ราคา 7,800 บาท 
*ราคารวมค่าแพทย์

ยังมีท่านสุภาพสตรีไปหาซื้อวัคซีนฉีดในราคาที่ถูกกว่านี้คือ

เฉพาะค่าวัคซีนสามารถหาซื้อได้ในราคาประมาณ 5,500 บาท ไม่รวมราคาค่าแพทย์ครับ

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์

หนูเจอขุมความรู้..ซ่อนอยู่ที่นี่เอง

แล้วจะแวะเวียนมาอ่านบ่อยๆค่ะ^-^

29.
P
mena
เมื่อ ส. 10 ต.ค. 2552 @ 15:57
#1601601 [ ลบ ]

เป็นการนำเสนอที่ละเอียอดมาก เข้าใจง่าย ขอบคุณมากๆคะ

 

สวัสดีครับ เมื่ออ่านง่ายแล้ว ช่วยบอกเพื่อนหญิงต่อๆกันด้วย

เพื่อเตือนภัยและป้องกันตนให้รอดพ้นจากโรคร้ายดังกล่าวครับ

ขอบคุณมากครับ

 

 

30.

เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ

 

ยินดีครับที่แวะเข้ามาอ่าน

เมื่อเห็นว่าดีมีประโยชน์ช่วยกันสื่อสารกันถึงคุณผู้หญิงท่านอื่นๆด้วยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

 

บันทึกนี้อ่านแล้วได้ความรู้และประโยชน์มากคะ
อยากทราบเพิ่มเติมคะว่าหญิงกำลังตั้งครรภ์ (พี่สาวคะ) ฉีดได้ไหมคะ
หรือว่าฉีดไปแล้วต่อมาก็ตั้งครรภ์ภายหลังที่ฉีดวัคซีนไปแล้วสองเข็ม...จะทำอย่างไรดีคะ

 

มะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบอันตรายจริงๆนะคะ

ขอบคุณสำหรับบทความที่ดีมากๆคะ

 

31.
P
เกด เกศนี บุณยวัฒนางกุล
เมื่อ ส. 10 ต.ค. 2552 @ 19:19
#1601832 [ ลบ ]
  • เป็นบันทึกที่มีประโยชน์
  • CA cervix อันตรายของผู้หญิง
  • หากเป็นระยะเริ่มต้น ก็สามารถรักษาได้
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ อาจารย์ เกศนี บุณยวัฒนางกุล
ระดับเช่นคุณเปี่ยมไปด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิมีประสบการณ์ทางวิชาชีพ
นับเป็นบุคคลากรที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ

ทัศนะของท่านให้ประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมมากครับ

 

 

32.
P
rinda
เมื่อ อา. 11 ต.ค. 2552 @ 16:34
#1603402 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะท่านสุวัฒน์..ไม่พบกันนานมากค่ะเพราะติดตามบทกลอนจากท่านกับบล็อกน้องพิมญดา..ไม่ทราบว่าไปไหนแล้วเนอะ..กลอนไพเราะมากอยากอ่านอีกค่ะ

 

สวัสดีครับคุณ rinda

ยินดีครับที่คุณแวะเข้ามาอ่านสาระน่ารู้ทางสุขภาพ


สำหรับงานกลอนผมเขียนเป็นส่วนตัวของผมเอง
ไม่ได้ต่อกลอนกับคุณพิมญดาตั้งแต่กลางเดือนมกราคมต้นปีนี้เป็นต้นมา

ขอบคุณมากครับที่มีความสนใจเรื่องสุขภาพที่นำเสนอ
"มะเร็งปากมดลูก" นี้เป็นภัยและอันตรายต่อหญิงไทยเราจริงๆครับ

 

 

33.
P
ศรัญญา
เมื่อ จ. 12 ต.ค. 2552 @ 16:32
#1605433 [ ลบ ]

เป็นกระทู้ที่ดีมีประโยชน์มาก
ขอขอบคุณอาจารย์ด้วยคะที่นำมาเตือนภัยกัน
โดยส่วนตัวแล้วเคยสูญเสียญาติใกล้ชิดเพราะโรคชนิดนี้มาแล้ว
เป็นความรู้สึกที่แย่เอามากๆและไม่อยากให้ใครต้องมาพบเจอกับโรคนี้อีกคะ

 

-------------------------------------------------------------------------------

 

คุณศรัญญามีประสบการณ์เรื่องนี้จากญาติใกล้ชิดทำให้มีความรู้สึกที่ไม่ดีฝังใจ
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
แต่อย่างน้อยเรื่องที่คุณนำมาบอกเล่ากันก็เป็นอุทาหรณ์เตือนเพื่อนหญิงด้วยกันให้ระวังภัยจากโรคร้ายนี้นะครับ
มีประโยชน์ครับ
ขอบคุณมากครับ

 

 

 

36.

P
เบดูอิน
เมื่อ อ. 13 ต.ค. 2552 @ 13:42
#1607264 [ ลบ ]

ได้ความรู้มากเลยครับ

 

คุณเบดูอินถือได้ว่าเป็นญาติใกล้ชิดคนหนึ่งของผมคนหนึ่ง

แวะเวียนมาเยี่ยมอยู่หลายครั้งหลายคราในหลายๆบันทึก

ต้องขอขอบคุณที่มีไมตรีที่ดียิ่ง

บันทึกนี้ไม่มีพิษภัยอ่านได้ประโยชน์ทั้งชายและหญิงครับ : )

 

 

37.
P
บุษรา
เมื่อ อ. 13 ต.ค. 2552 @ 20:34
#1607992 [ ลบ ]
  • สวัสดีค่ะ
  • บันทึกนี้ได้ความรู้มากจริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวจริง ๆ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ค่ะ

 

สวัสดีครับคุณบุษรา

  • ยินดีมากครับที่บันทึกนี้ให้ประโยชน์และได้รับความสนใจจากสมาชิกโกทูโนและแขกผู้เยี่ยมเยียน
  • ขอบคุณเช่นกันครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้อื่นได้เห็นความสำคัญและตระหนักในอันตรายของมะเร็งปากมดลูก

 

 

 

38.
P
อนันดา
เมื่อ พ. 14 ต.ค. 2552 @ 05:51
#1608674 [ ลบ ]

สวัสดียามเช้า

  • ขอชมว่าบันทึกนี้ให้ประโยชน์กับสุภาพสตรีมากที่สุด
  • อ่านแล้วทำให้สุภาพสตรีนึกถึงอันตรายจากโรคนี้ให้มาก จากบันทึกทำให้ทราบว่าโรคนี้รักษาได้หากว่าได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น
  • ขอบคุณมากจริงๆ

 

ขอบคุณมากครับคุณอนันดาที่เห็นประโยชน์จากบันทึกนี้
โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คุกคามสตรีไทยมากครับ
เปอร์เซนต์ของอุบัติการณ์ก็แข่งกันทำอันดับต้นๆที่เป็นสาเหตุให้หญิงไทยต้องเสียชีวิตมากที่สุด
ถึงกับมีรายงานปีต่อปีที่สลับกันติดอันดับแช้มป์การเสียชีวิต

 

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณบันทึกที่มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ ต่อตนเอง และผู้สนใจใส่ใจในสุขภาพทุกคนค่ะ มีมูลเหตุของการสนใจโรคนี้ด้วยค่ะ http://gotoknow.org/blog/learn2512/307347
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

 

43.
P
มนัสนันท์
เมื่อ พฤ. 15 ต.ค. 2552 @ 09:50
#1611190 [ ลบ ]

น่ากลัวจังเลยนะคะ ..โรคนี้ ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้อย่างละเอียด และอ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

สวัสดีครับคุณมนัสนันท์ ยินดีครับที่บันทึกนี้มีประโยชน์

บันทึกของคุณก็น่าสนใจ มีเสน่ห์ อ่านง่ายน่าติดตามเช่นกันครับ

 

 

 

 

 

48.
P
ครูน้อย
เมื่อ ศ. 16 ต.ค. 2552 @ 19:36
#1614227 [ ลบ ]

บันทึกนี้อ่านแล้วได้ความรู้และประโยชน์มากคะ
อยากทราบเพิ่มเติมคะว่าหญิงกำลังตั้งครรภ์ (พี่สาวคะ) ฉีดได้ไหมคะ
หรือว่าฉีดไปแล้วต่อมาก็ตั้งครรภ์ภายหลังที่ฉีดวัคซีนไปแล้วสองเข็ม...จะทำอย่างไรดีคะ

 

หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังจากฉีดไปหนึ่งเข็ม แนะนำให้หยุดฉีดวัคซีนจนกระทั่งคลอดบุตรแล้วจึงฉีดต่อ
ไม่แนะนำให้ฉีดขณะกำลังตั้งครรภ์
ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวี จะมีผลต่อการมีบุตร การตั้งครรภ์ หรือผลเสียต่อทารกแต่อย่างใด

 

 

 

49.
30
มณีจันทร์ [IP: 112.142.45.175]
เมื่อ จ. 19 ต.ค. 2552 @ 18:27
#1620566 [ ลบ ]

มะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบอันตรายจริงๆนะคะ

ขอบคุณสำหรับบทความที่ดีมากๆคะ

 

ขอบคุณครับที่แวะมาแสดงความคิดเห็น

หากว่าจะนำไปใช้ประโยชน์จากการอ่านก็คงจะดีไม่น้อยนะครับ

หรือไม่ก็ช่วยเผยแผร่ก็ไม่ขัดข้องครับ

 

ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมไหมคะ

 

 

 

57.
P
phayorm แซ่เฮ
เมื่อ อ. 27 ต.ค. 2552 @ 13:04
#1636638 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณบันทึกที่มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ ต่อตนเอง และผู้สนใจใส่ใจในสุขภาพทุกคนค่ะ มีมูลเหตุของการสนใจโรคนี้ด้วยค่ะ http://gotoknow.org/blog/learn2512/307347
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

 

สวัสดีครับคุณครูพวงพยอม

  • ขอบคุณมากครับที่แวะเข้ามาให้ข้อมูลที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ผมเข้าไปดูแล้วครับ มีประโยชน์แก่สาธารณชนมากคับ
  • รำลึกนึกถึงเสมอเช่นกันครับ

 

 

  • ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
  • เป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้และควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

64.
  • ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
  • เป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้และควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมชม
  • ด้วยเห็นประโยชน์สำหรับสุภาพสตรีที่สามารถใส่ใจดูแลตนเองเพื่อป้องกันภัยร้ายจากโรคนี้ได้ครับ
  • จำคุณครูได้เสมอ ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

 

61.
P
มะลิวัลย์ กรรชัยพร
เมื่อ พ. 04 พ.ย. 2552 @ 19:36
#1654548 [ ลบ ]

ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมไหมคะ

 

 

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก

           - การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
           - การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
           - การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
           - การสูบบุหรี่
           - การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์ 
           - การสูบบุหรี่
           - พันธุกรรม
           - การขาดสารอาหารบางชนิด

           ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก

           - ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
           - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
           - ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
           - ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
           - ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน

 

1.ขอบคุณมากค่ะ ความรู้ที่นำสนใจมาให้อ่านและศึกษา เพิ่งจะเข้ามาในคอลัมน์นี้ ค้นหาอยู่นาน

2.อยากจะให้ช่วยเป็นสื่อ สอบถามท่านใดมีประสบกาณ์ วิธีการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มคนไข้ที่มีเซล์ผิดปกติ มาช่วยแชร์กัน

เพราะคนไข้กลุ่มนี้ หากปล่อยปละละเลยขาดการเฝ้าระวัง โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง นำไปสู่ปัญหาอื่นๆตามมา

มีกลุ่มงานหรือทีมใดบ้างที่เล็งเห็นปัญหาและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างจริงจัง.. อย่ารอ..ให้งบรักษาเมื่อ..เป็นมะเร็ง..สงสารคนไข้

3.ประสบการณ์จริงที่เจ็บปวด...ตรวจโดยวิธี pap smear(รัฐบาลจ่าย).. ใช้การป้ายบนแผ่นสไลด์...ตรวจทุกๆปี..ผลปกติ..เผอิญมีเลือดหยด..ทั้งที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน..ขอเปลี่ยนวิธีตรวจโดยใช้ ตรวจแบบ Thinprep(จ่ายเงินเอง) ผลเป็นมะเร็ง ระยะที่ 2..เกืดอะไรขึ้น..

เวลาที่ผ่านมา..ถามว่าเรียกคืนได้ไหม..ใครช่วยได้..รัฐบาลไม่มีงบ..แต่มี..งบให้..เมื่อเป็นมะเร็ง..

4.ประสบการณ์..ต่างชาติมาตรวจ..เขา..ถามหา..Thinprep..

5.ทุกวันนี้..เจอปัญหาคนไข้ขาดความรู้ ไม่ตระหนักถึงการผลตรวจรักษา การมาตามนัด หนีปัญหา เข้าใจผิดว่า..

กล่าวหาว่าป่วย วิ่งไปตรวจที่อื่นและเชื่อในผลตรวจที่สถานพยาบาลนั้น บอกว่าปกติ.

ตัวอย่าง 1 ราย..ไม่เชื่อผลตรวจ..ปิดการติดต่อ...สุดท้ายหลายปีผ่านไป..ย้อนกลับมาตรวจใหม่ที่นี่..พบว่าเป็นมะเร็ง..ร้องไห้โฮ..บอกว่าไปเช็คที่อื่น..ทุกปีผลปกติ..

1...ก่อนนี้..จำได้ไหมคะ..ทางกระทรวงให้เก็บรายงานคนไข้ในช่วง35/40/45/50/55/60 ปี และมีผลตรวจผิดปกติ..ก็..รู้สึกแปลกใจ..เพราะ..คนไข้ที่ดูแลอยู่..ในรายงาน..เฝ้าระวังติดตาม..มีแทบทุกอายุ..ตั้งแต่ 19 ปี จนเลย 60ปี..ทำไมเฝ้าระวัง..ทิ้งช่วง..นานมาก..

ไม่เป็นไรอยากได้ตัวเลขแค่นั้นก็..จัดให้..อายุอื่นๆๆ..เฝ้าระวังและดูแลเองได้..และสุดท้าย..ก็..เปลี่ยนตัวเลขแล้ว..ดีใจ..แทนหญิงไทยทุกๆๆ..คน ...แม้จะได้มา..ไม่มีกลุ่ม 20 ขึ้นไป..

2.เอกสารของอาจารย์..ที่นำเสนอ..จะขออนุญาตไปประยุกต์ใช้กับคนไข้..ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

3.หากอาจารย์..มีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาช่วยแนะนำด้วยนะคะ เนื่องจากเพิ่งจะลุยงานนี้..ไม่นานมากนัก..เปิดบทความเจอแต่..ด้านอายุรกรรม ศัลย์ รอ..อ่านสูตินรีเวชอยู่...

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

65.
P
ทักษิณา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 23:33
#1697196 [ ลบ ]

1.ขอบคุณมากค่ะ ความรู้ที่นำสนใจมาให้อ่านและศึกษา เพิ่งจะเข้ามาในคอลัมน์นี้ ค้นหาอยู่นาน

2.อยากจะให้ช่วยเป็นสื่อ สอบถามท่านใดมีประสบกาณ์ วิธีการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มคนไข้ที่มีเซล์ผิดปกติ มาช่วยแชร์กัน

เพราะคนไข้กลุ่มนี้ หากปล่อยปละละเลยขาดการเฝ้าระวัง โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง นำไปสู่ปัญหาอื่นๆตามมา

มีกลุ่มงานหรือทีมใดบ้างที่เล็งเห็นปัญหาและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างจริงจัง.. อย่ารอ..ให้งบรักษาเมื่อ..เป็นมะเร็ง..สงสารคนไข้

3.ประสบการณ์จริงที่เจ็บปวด...ตรวจโดยวิธี pap smear(รัฐบาลจ่าย).. ใช้การป้ายบนแผ่นสไลด์...ตรวจทุกๆปี..ผลปกติ..เผอิญมีเลือดหยด..ทั้งที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน..ขอเปลี่ยนวิธีตรวจโดยใช้ ตรวจแบบ Thinprep(จ่ายเงินเอง) ผลเป็นมะเร็ง ระยะที่ 2..เกืดอะไรขึ้น..

เวลาที่ผ่านมา..ถามว่าเรียกคืนได้ไหม..ใครช่วยได้..รัฐบาลไม่มีงบ..แต่มี..งบให้..เมื่อเป็นมะเร็ง..

4.ประสบการณ์..ต่างชาติมาตรวจ..เขา..ถามหา..Thinprep..

5.ทุกวันนี้..เจอปัญหาคนไข้ขาดความรู้ ไม่ตระหนักถึงการผลตรวจรักษา การมาตามนัด หนีปัญหา เข้าใจผิดว่า..

กล่าวหาว่าป่วย วิ่งไปตรวจที่อื่นและเชื่อในผลตรวจที่สถานพยาบาลนั้น บอกว่าปกติ.

ตัวอย่าง 1 ราย..ไม่เชื่อผลตรวจ..ปิดการติดต่อ...สุดท้ายหลายปีผ่านไป..ย้อนกลับมาตรวจใหม่ที่นี่..พบว่าเป็นมะเร็ง..ร้องไห้โฮ..บอกว่าไปเช็คที่อื่น..ทุกปีผลปกติ..

 

 

สวัสดีครับคุณทักษิณา 65

1.  ยินดีมากครับที่คุณแวะเข้ามาอ่านในหัวข้อที่ตรงกับความสนใจของคุณที่ค้นหาอยู่นาน
2.  วิธีการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มคนไข้ที่มีเซล์ผิดปกติ คนไข้กลุ่มนี้จะต้องตระหนักถึงภัยอันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากปล่อยปละละเลยขาดการเฝ้าระวัง โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง จึงต้องทำการไปตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปีห้ามขาดเด็ดขาด
หากมีการเฝ้าระวังอย่างเกาะติดสถานการณ์ทางสถานพยาบาลจะต้องมีหนังสือแจ้งไปยังคนไข้ที่มีรายชื่อกลุ่มคนไข้ที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ หากคนไข้รายใดไม่มารับการตรวจจะต้องติดตามให้ไปรับการตรวจอย่างเข้มงวด
3. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีหลายวิธี โดยวิธีที่นิยมใช้กันมานานคือ การตรวจทางเซลล์วิทยา ซึ่งในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ
1. การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap smear ) (  แบบเก่า  )
2. การตรวจตินเพร็พ  ( Thin  Prep  ) (  แบบใหม่  )

       การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap smear ) (  แบบเก่า  )  เป็นวิธีการที่ใช้ตรวจหามะเร็งปากมดลูก โดยทำการตรวจหาเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกหรือตรวจหาเซลล์ที่อาจจะกลายเป็นมะเร็ง โดยแพทย์ผู้ตรวจจะใช้อุปกรณ์ทำจากไม้แผ่นบาง ๆ ป้ายนำเยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูกแล้วป้ายลงแผ่นสไลด์แก้ว  ส่งไปย้อมสีและส่องชันสูตรด้วยกล้องจุลทรรศน์

วิธีนี้มีข้อเสียคืออาจจะมีการปนเปื้อนของมูกและเซลล์เม็ดเลือด หรืออาจเกิดการซ้อนทับกันของเซลล์หนาแน่นเกินไปซึ่งจะปิดบังเซลล์ที่มีความผิดปกติ
นอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์ที่เก็บโดยวิธีเก่านั้นจะหลุดหายไปกับอุปกรณ์เก็บตัวอย่างทั้งหมดนี้เป็นข้อจำกัดของการตรวจแบบเก่า ทำให้ไม่พบความผิดปกติที่มีอยู่แล้ว

      การตรวจตินเพร็พ  เป็นการใช้อุปกรณ์เฉพาะในการเก็บตัวอย่าง ป้ายเยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูกเช่นเดิม
แต่จะนำเซลล์ตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาเพื่อรักษาสภาพเซลล์
ผลจะทำให้ได้เซลล์อย่างครบถ้วนมากขึ้น แล้วเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์ลงบนสไลด์แก้วจะมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนของมูกเซลล์เม็ดเลือดออกไป
หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

    การตรวจตินเพร็พ  เป็นมาตราฐานใหม่ของวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลุกมีข้อมูลวิจัยจากสถาบันทั่วโลกพบว่าการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธี “ ตินเพร็พ  ”  ละเอียดกว่าการตรวจแบบเก่าประมาณ 65 % แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

    สตรีที่ควรได้รับการตรวจหาเซลล์มะเร็งด้วยวิธี “ ตินเพร็พ  ”
แพทย์เห็นควรให้มีการตรวจด้วยวิธี “ ตินเพร็พ  ”  ซึ่งมีข้อบ่งชี้กรณีพิเศษดังนี้
- สตรีที่มีผลการตรวจแบบแปปสเมียร์ผิดปกติ
- สตรีที่มีผลการตรวจแบบแปปสเมียร์พบการอักเสบติดต่อกัน 2 ครั้ง
- สตรีที่เคยเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือระยะก่อนลุกลามที่ได้รับการรักษาแล้ว
- สตรีที่ปากมดลูกยากต่อการเก็บเซลล์ ได้แก่ ไม่ผ่านการคลอดบุตรตามธรรมชาติ หมดประจำเดือน ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน 

   จากที่ยกมาข้างต้นจะเป็นคำตอบได้ในข้อคำถามของคุณที่ว่า
ตรวจโดยวิธี pap smear(รัฐบาลจ่าย).. ใช้การป้ายบนแผ่นสไลด์...ตรวจทุกๆปี..ผลปกติ..เผอิญมีเลือดหยด..ทั้งที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน..ขอเปลี่ยนวิธีตรวจโดยใช้ ตรวจแบบ Thinprep(จ่ายเงินเอง) ผลเป็นมะเร็ง ระยะที่ 2..เกิดอะไรขึ้น..

4.    แน่นอนครับชาวต่างย่อมมีความทันสมัย และคนคนนั้นเขาคงมีประสบการณ์มาอยู่ก่อนแล้ว จึงรู้จักวิธี Thinprep หากเป็นคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็คงไม่รู้จัก
5.    การทำความเข้าใจกับคนไข้เป็นสิ่งจำเป็น ยอมเสียเวลาอธิบายให้ชัดแจ้งเพื่อให้ตระหนักและตัดสินใจ อธิบายชนิดการตรวจทั้ง 2 วิธีถึงข้อจำกัดที่เขาจะต้องพบไม่ว่าจะไปรับบริการที่ไหน และให้เขาเชื่อมั่นในสมรรถนะของสถานบริการ  ตัวอย่างที่คุณยกมาเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนไข้รายอื่นๆได้ดี

แต่อย่างไรก็ตามตรวจโดยวิธี pap smearยังมีความจำเป็นและยังใช้ได้อยู่ในขณะนี้

 

 

66.
P
ทักษิณา
เมื่อ พ. 25 พ.ย. 2552 @ 23:57
#1697249 [ ลบ ]

1...ก่อนนี้..จำได้ไหมคะ..ทางกระทรวงให้เก็บรายงานคนไข้ในช่วง35/40/45/50/55/60 ปี และมีผลตรวจผิดปกติ..ก็..รู้สึกแปลกใจ..เพราะ..คนไข้ที่ดูแลอยู่..ในรายงาน..เฝ้าระวังติดตาม..มีแทบทุกอายุ..ตั้งแต่ 19 ปี จนเลย 60ปี..ทำไมเฝ้าระวัง..ทิ้งช่วง..นานมาก..

ไม่เป็นไรอยากได้ตัวเลขแค่นั้นก็..จัดให้..อายุอื่นๆๆ..เฝ้าระวังและดูแลเองได้..และสุดท้าย..ก็..เปลี่ยนตัวเลขแล้ว..ดีใจ..แทนหญิงไทยทุกๆๆ..คน ...แม้จะได้มา..ไม่มีกลุ่ม 20 ขึ้นไป..

2.เอกสารของอาจารย์..ที่นำเสนอ..จะขออนุญาตไปประยุกต์ใช้กับคนไข้..ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

3.หากอาจารย์..มีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาช่วยแนะนำด้วยนะคะ เนื่องจากเพิ่งจะลุยงานนี้..ไม่นานมากนัก..เปิดบทความเจอแต่..ด้านอายุรกรรม ศัลย์ รอ..อ่านสูตินรีเวชอยู่...

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

ตอบคุณทักษิณา 66

1.  การให้เก็บรายงานคนไข้ในช่วง35/40/45/50/55/60 ปี นั้นมีเหตุผลค่าเฉลี่ยจากข้อมูลดังนี้
1.  เพราะหลังจากติดเชื้อไวรัสแล้วเข้าสู่ภาวะก่อนมะเร็งและต้องใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นมะเร็งใช้เวลาระหว่าง 10-15 ปี
2.  การติดเชื้อไวรัส จะเกิดในช่วงที่มีเพศสัมพันธุ์ อายุ 16-30 ปี
3.  ภาวะก่อนมะเร็ง มักจะเกิดในช่วงอายุ 30-40 ปี
4.  มะเร็งปากมดลูก มักเกิดในช่วงอายุ 50-60 ปี
ในรายที่เพิ่งติดเชื้ออาจยังไม่พบความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อ
โดยหลักการแล้วเพื่อลดอัตราเสี่ยงอาจจะขยับลดอายุให้น้อยลงมาอีกก็ได้เพื่อตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง
เพราะเมื่อติดเชื้อไวรัสจะเกิดรอยโรคก่อนมะเร็ง
2.    ยินดีมากครับที่นำไปประยุกต์เผยแพร่ ถือเป็นการทำงานด้วยจิตสาธารณะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนะครับ
3.    ขอบคุณมากครับ และจะขอเป็นกำลังใจให้คุณทำงานในเรื่องนี้อย่างเต็มกำลังครับ

 

ขอบคุณ ข้อแนะนำของอาจารย์มากๆค่ะ..ทำให้ได้สาระเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การพัฒนางานให้ดียิ่งๆขึ้นไป ..

 

69.
P
ทักษิณา
เมื่อ อา. 06 ธ.ค. 2552 @ 17:21
#1718067 [ ลบ ]

ขอบคุณ ข้อแนะนำของอาจารย์มากๆค่ะ..ทำให้ได้สาระเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การพัฒนางานให้ดียิ่งๆขึ้นไป ..

 

ขอบคุณเช่นกันครับที่มาช่วยกันเติมเต็มด้วยจิตสาธารณะเพื่อประชาชน

 

 

ขออนุญาตถามหน่อยนะค่ะว่าทำไมต้องเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต้องมีอายุ 35 40 45 50 55 60 ปีค่ะ ทำไมไม่เป็น 30-60 ไปเลยล่ะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท