ปรัชญาการศึกษาไทย


ปรัชญาการศึกษา

ในช่วงต้นของการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ระหว่างปี พ.ศ.2325-2426ความมุ่งหมายของการศึกษาในขณะนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน-เขียนภาษาไทย และคิดเลข สมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศยุโรป พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบขึ้น สมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยเริ่มมีแผนการศึกษาและเริ่มมีการนำปรัชญาและทฤษฏีการศึกษาจากประเทศยุโรปมาดัดแปลงใช้ในโรงเรียนฝึกหัดครู

  1. ปรัชญาการศึกษา ตามแนวพุทธธรรมโดยพระธรรมปิฏก

จากพระธรรมปิฏกตั้งแต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชวรมุนี ได้อธิบายว่า ชีวิตเกิดจาการรวมตัวขององค์ประกอบต่าง ๆ จำนวนมากจึงได้จัดเป็น 2 ประเภท คือ องค์ประกอบทางร่างกายและจิตใจ ซึ่ง ทุกส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไปตามสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยต่าง ๆ “การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัวในการที่กำหนดความเป็นอยู่ของตนให้มากที่สุด

  1. การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความจริง เพื่อประโยชน์ในการ

ปรับตัวและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง การทำลายอวิชชา เป็นภาวะแห่งความไม่รู้หรือหลงผิดและการทำลายตัณหา

  1. การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่ การพัฒนาทางองค์ประกอบทางด้านร่างกายให้มี

สุขภาพดี แข็งแรง และการพัฒนาองค์ประกอบทางด้านจิตใจให้มีสติปัญญา และคุณธรรมมากขึ้น

  1. การรู้จักและเข้าใจ ถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อมและการรู้จักปรับสิ่งแวดล้อมเป็น

ประโยชน์แก่ตน โดยการรู้จักเอาประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแต่พอสมควรเท่าที่มีอยู่

  1. ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านต่าง ๆที่เปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม

ความหมายของการศึกษา

            จากกระแสพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจต่าง ๆ การศึกษาเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อช่วยให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

            การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้

แนวทางการจัดการศึกษา

            เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา การจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝน ขัดเกลาทางความคิดความประพฤติและคุณธรรมโดยให้มีความเข้าใจในหลักเหตุผล มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักรับผิดชอบและตัดสินใจในทางที่ถูกต้อง

  1. ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม จากการวิเคราะห์ของสาโรช บัวศรี

สาโรช บัวศรี ได้เชิญชวนให้นักศึกษาไทยหันมาพิจารณาถึงการสร้างปรัชญาการศึกษาไทย จากพุทธศาสนา

ขึ้นแทนการรับเอาปรัชญานอกประเทศมาใช้ โดยได้เสนอโครงสร้างของปรัชญาการศึกษาซึ่งประกอบด้วย

  1. ความหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
  2. แนวนโยบายของการศึกษาหรือแนวทางที่จะให้ถึงจุดหมาย
  3. วิธีการของการศึกษา

 

ความหมายและจุดมุ่งหมายการศึกษา

            การศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ การพัฒนาขันธ์ 5 ของบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อให้บรรลุชีวิตที่ร่มเย็น ก็คือชีวิตที่มีอกุศลมูล คือ ความโลภ โกรธ หลง น้อยที่สุด

นโยบายหรือแนวทางการศึกษา

            แนวทางตามหลักพุทธธรรมที่จะนำไปสู่จุดหมายของการศึกษาดังกล่าวได้ก็คือ มรรค 8 ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ  และปัญญา นอกจากนั้นผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ

  1. ตนเอง
  2. สิ่งแวดล้อม
  3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม

วิธีการของการศึกษา

            กระบวนการตามหลักพุทธธรรมที่สามารถช่วยให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเหมาะสมได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจ 4 ซึ่งได้แก่ ทุกข์  สมุทัย นิโรธ  มรรค

           

ปรัชญาการศึกษาปฎิรูปนิยม

ความเป็นมาของการศึกษา

  • ปฎิรูป หมายถึง บูรณะหรือทำใหม่
  • เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1930
  • เกิดนักคิดกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า นักคิดแนวหน้า
  • ที โอดอร์ บราเมลล์ คือ ผู้ที่ทำให้ปรัชญาการศึกษาปฎิรูปนิยมเป็นที่จัก
  • จอห์น ดิวอี้ คือ ผู้นำของปรัชญาการศึกษาปฎิรูปนิยมตอนแรก

ปฎิรูปนิยม

  • กลุ่มนี้มีความคิดว่า สังคมอยู่ในสภาวะวิกฤตทางวัฒนธรรม ดังนั้นการศึกษาไม่ควรทำหน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมแต่ควรแก้ไข
  • การพัฒนาสังคมไม่สามารถพึ่งส่วนอื่นๆ ไม่ได้ไม่ว่า จะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สื่อมวลชน
  • การศึกษาคือความหวัง เพราะแก่นของการศึกษาคือ ความรู้ซึ่งมีพลัง และคุณธรรม

หลักการสำคัญ

  • จุดหมายหลัก คือ สร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม
  • สังคมใหม่ที่สร้างนั้นต้องเป็นสังคมประชาธิปไตย
  • การศึกษาจะต้องช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดของคนให้เป็นในทางที่ดี
  • เด็กโรงเรียน และการศึกษาต้องมีส่วนร่วมต่อการวางแผนพัฒนาสังคม
  • ครูต้องทำให้นักเรียนมีความเข้าใจการสร้างสังคมใหม่ขึ้น แต่ต้องเปิดให้เด็กแสดงออกอย่างเสรี
  • วิธีการและจุดมุ่งหมายของการศึกษาต้องทันสมัย
  • เนื้อหาวิชา วิธีสอน ระเบียบการบริหารงาน และวิธีการฝึกอบรมครูต้องได้ปฎิรูปใหม่ให้สอดคล้องกับทฤษฎีธรรมชาติของมนุษย์

ความเชื่อทางการศึกษา

  • การศึกษาช่วยส่งเสริมและแก้ปัญหาสังคมที่เป็นอยู่
  • การศึกษาต้องสร้างระเบียบใหม่ของสังคมบนรากฐานของประชาธิปไตย
  • การศึกษาต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของส่วนรวมควบคู่กับตนเอง

ลักษณะของหลักสูตรตามแนวทางของปรัชญาปฎิรูปนิยม

            -ยึดหลักสูตรแบบแกน(Core Curriculum)

            -เน้นด้านสังคมเป็นเกนสำคัญ

            -เนื้อหาสาระมาจากปัญหาสังคม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมในการคิดหาแนวทางแก้ปัญหา

            -ศึกษาเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคต

            -ต้องการให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการปฎิรูปสังคม

            -เป็นที่มาการตั้งโรงเรียนชุมชน

ลักษณะของการจัดกิจกหรรมการเรียนการสอน

            1.คล้ายคลึงกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม

            2.เป็นการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการต่างๆเช่น

                        2.1วิธีการทางวิทยาศาสตร์

                        2.2 วิธีแบบโครงการ

                        2.3 วิธีการแก้ปัญหา

                        2.4 วิธีการทางประวัติศาสตร์

                        2.5 วิธีการทางปรัชญา

            ปรัชญานี้เชื้อว่าการพัฒนาสังคม ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในสังคมด้วยการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังคม เน้นหาสาระของหลักสูตรก็จะสอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน เน้นประสบการณ์ และกระบวนการทางประชาธิปไตย

กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี

            เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธศาสนามาประยุกตใช้กับการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4  เป็นรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ประยุกต์หลักธรรมอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์   สมุทัย  นิโรธ  และมรรค  โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกกว่า   "กิจในอริยสัจ 4"  ประกอบด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้)  ปหานะ (การละ)  สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ)   โดยประกอบด้วยกระบวนการแก้ปัญหา 4 ขั้น ดังนี้

   ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือ การให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข

   ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือ การให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และตั้งสมมติฐาน

   ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือ การให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล

   ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป

 

ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจาการวิเคราะห์ของสาโรชบัวศรี

ความหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา  คือ  การพัฒนาขันธ์  5  ของบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจ  เพื่อให้บรรลุชีวิตที่ร่มเย็น 

นโยบายหรือแนวทางการศึกษา  แนวทางตามหลักพุทธธรรม  ที่จะนำไปสู่จุดหมายของการศึกษาดังกล่าวได้ก็คือ  มรรค 8  ซึ่งย่อได้เป็น  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  ควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ (1)  ตนเอง  (2)  สิ่งแวดล้อม  (3)  การปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม    โดยให้เรียนวิชาต่างๆเพื่อจะได้พบว่าตนเองถนัดอะไร  มีศักยภาพไปในทางใด

วิธีการของการศึกษา  การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจ ซึ่งได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

 

 

การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ

               ดร.สุวิทย์ มูลคำ.(2547: 45-51) ได้นำเสนอการจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ ไว้ดังนี้

                   ความหมาย การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ โดยผู้เรียนพยายามค้นคิดวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้ลำดับขั้นตอนทั้งสี่ขั้นของอริยสัจ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

                   วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนคิดค้นแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้ลำดับขั้นตอนทั้งสี่ของอริยสัจเป็นแนวทางการแก้ปัญหา

                   องค์ประกอบสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  1. หัวข้อปัญหา
  2. ลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา
  3. สรุปแนวทางการแก้ปัญหา

ความเป็นมาของวิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ

              ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิธีสอนของไทย  ความเป็นมาของวิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ ไว้ดังนี้............ เนื่องจากอริยสัจสี่ เป็นคำสอนที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง เราจึงพยายามทำการคาดหมายหรืออนุมานเอาวิธีสอนมาจากอริยสัจสี่ ...จากการอนุมานก็พอจะมองเห็นหรือพอที่จะอนุโลมได้ว่า  วิธีการแห่งปัญญา หรือวิธีการคิดแบบ Reflective Thinking นั้น คล้ายกับวิธีการอริยสัจสี่อย่างที่สุด ดังที่จะได้พยายามเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้

 

หมายเลขบันทึก: 303531เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมกำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนาตามแนวอริยสัจสี่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ครับ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง โดยเฉพาะบทที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และอยากจะได้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ ไม่ทราบว่าอาจารย์ท่านใดพอจะอนุเคราะห์ได้บ้าง

นายวัฒนา พวงสวัสดิ์

ขอบคุณอาจารย์มากครับผมกำลังนั่งเรียนปรัชญาการศึกษาของท่านดร.จักรพรรดิ วะทาบทสรุปของอาจารย์ศศิฌามนตร์ มีประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท