ใช้ระเบิดจิ๋วรักษามะเร็ง


วันนี้เป็นวันวิชาการของแผนก กำหนดให้เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องหาข้อมูลความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง รังสีรักษา หรือข้อมูลอื่นๆที่คิดว่าเป็นประโยชน์ น่าสนใจ มาเล่าให้สมาชิกในแผนกฟัง ไม่เว้นแม้แต่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ค่ะ ^___^

 

วันนี้เจอเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนึง บางครั้งนิยายแนววิทยาศาสตร์ที่เราดูๆกันนั้น บางอย่างเราก็คิดไม่ถึงว่าจะสามารถทำให้เป็นจริงได้ แต่ก็อย่างว่าล่ะค่ะ ไม่มีอะไรเกินความสามารถของมนุษย์

 

ในนิยายเชิงวิทยาศาสตร์เคยมีการกล่าวถึงการส่งหุ่นยนต์จิ๋วเข้าไปในร่างกายมนุษย์เพื่อเสาะหาและทำลายสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการอย่างแพร่หลาย แนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบันโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Nanjing University และ Georgia Institute of Technology นำทีมโดย Bin Kang และ Yaodong Dai

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้นำปรากฏการณ์ที่เรียกว่า photoacoustic effect (ปรากฏการณ์ที่พลังงานแสงถูกสสารหรืออนุภาคดูดกลืนแล้วสะสมจนเกิดรังสีความร้อนแผ่ออกมา ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้เกิดความดันที่เปลี่ยนแปลงรอบ ๆ อนุภาคนั้นเกิดเป็นคลื่นเสียงที่สามารถตรวจจับได้) เพื่อสร้างลูกระเบิดขนาดจิ๋วที่มีความสามารถทั้งค้นหาและทำลายเป้าหมายที่เป็นเซลล์มะเร็งได้

Professor Dai กล่าวว่า จากความสามารถในการสร้างระเบิดขนาดจิ๋วนี้โดยการฉายแสงเลเซอร์ลงไปยัง carbon nanotube เขาจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า จะเป็นอย่างไรหากเจ้า carbon nanotube กลายเป็นอาวุธที่สามารถระเบิดเซลล์มะเร็งให้กลายเป็นจุลได้

วิธีการเหล่านั้นเริ่มต้นจากการทำ carbon nanotube ให้มีความจะเพาะเจาะจงที่จะเลือกไปจับกับเซลล์มะเร็งด้วยการติดหมู่ฟังก์ชันของ folate acid ลงไปบน carbon nanotube เมื่อ carbon nanotube ไปจับอยู่กับเซลล์มะเร็งเรียบร้อยแล้งจึงทำการจุดชนวนระเบิดโดยการฉายแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1054 nm เจ้า carbon nanotube จะดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นนี้ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่เซลล์และส่วนอื่น ๆ ในร่างกายเราไม่ดูดกลืนเลยจึงทำให้ไม่เกิดอันตรายกับเซลล์บริเวณรอบ ๆ โดยเมื่อ carbon nanotube ดูดพลังงานจากแสงเลเซอร์แล้วก็จะเกิดความร้อนส่งผลให้เกิดแรงดันมหาศาล (มหาศาลในที่นี้หมายถึงเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเซลล์เล็ก ๆ เท่านั้นนะ อย่าเข้าใจผิดว่ามหาศาลจนถึงขึ้นผิวทะลุ: ผู้แปล) ภายในเวลาเพียงแค่ 20 วินาทีพบว่าเซลล์ที่มี carbon nanotube เกาะติดอยู่ถูกทำลายมากถึง 85% ในขณะที่เซลล์อื่นรอบ ๆ บริเวณนั้นไม่ได้รับอันตรายสูงถึง 90%

นอกจากนั้น Professor Dai ยังกล่าวอีกว่าเทคนิค photoacoustic นี้มีข้อดีเหนือกว่าเทคนิค photothermal ซึ่งเป็นวิธีเก่าในการรักษามะเร็ง เนื่องจากเทคนิค photoacoustic ใช้พลังงานน้อยกว่าเทคนิค photothermal หลายร้อยเท่าจึงไม่ทำให้เกิดความร้อนที่สูงมากจนเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง

สำหรับงานวิจัยขั้นต่อไปนั้น จะเป็นการทดลองรักษามะเร็งในหนู ถ้าหากว่าประสบผลสำเร็จก็จะขยายผลไปยังสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น กระต่ายหรือสุนัข เป็นต้น Professor Dai ยังเตือนว่า สำหรับการรักษาในคนนั้น ต้องมีการศึกษาอีกมากนัก จึงยังไม่ควรนำไปทดลองรักษาเอง

 

 

ที่มา วิชาการ.คอม
คำสำคัญ (Tags): #photoacoustic#ระเบิดจิ๋ว
หมายเลขบันทึก: 302698เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • น่าสนใจมากๆๆ
  • ได้ความรู้ใหม่เลย
  • แต่ยังเป็นการทดลองนะครับ
  • ภาพนี้ทางขวามือดอกสาละครับ
  • เป็นไม้สมัยพุทธกาลไง
  • ส่วนทางซ้ายมือ
  • ขาของใครของใครก็ห่วง ปรื๋ยส์ๆๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

ใช่ค่ะเป็นความรู้ใหม่ ที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้

แต่ใครจะรู้ ขนาดคนยังบินขึ้นไปบนฟ้าได้เลย จริงป่าวคะ อะไรก้อเป็นไปได้

ไม่เกินความสามารถของมนุษย์

แต่หนึ่งว่า จะให้ดี มะเร็งเนี่ยป้องกันไม่ให้เกิดน่าจะดีที่ซู้ดดค่า ^____^

ปล.ขอบคุณค่าสำหรับข้อมูลดอกไม้ ^___^ แต่จนเด๋วนี้หนึ่งยังไม่รู้เลยว่าเจ้าของขาข้างนี้คือครายยยยย.....

สวัสดีครับ คุณ Hana

เข้ามารับความรู้ใหม่ๆครับ

ขอบคุณครับไปทักทายกัน

สวัสดีครับ น้อง Hana

       นำภาพ คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) มาฝากครับ เผื่อเอาไปแปะไว้ในบันทึกได้ (ถ้าตรงกับเรื่อง)

       ภาพแรกเป็นแบบจำลอง (โมเดล) แสดงโครงสร้างของนาโนทิวบ์ หรือ ท่อนาโนใน 3 มิติครับ จุดแต่ละจุดที่มี 3 เส้นมาพบกันคือตำแหน่งของอะตอมคาร์บอน

     

           ส่วนภาพนี้เป็นภาพแอนิเมชัน หมุนให้ดูว่ารูปร่างโดยรวมเป็นยังไง 

            และภาพสุดท้าย เป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope) หรือเรียกย่อๆ ว่า ทีอีเอ็ม (TEM) ครับ แสดงภาพตัดขวางของท่อนาโน

           

 

        มีเรื่องบังเอิญด้วย คือ พี่จบจาก Georgia Institute of Technology ครับ เรียกย่อๆ ว่า Georgia Tech สถาบันนี้มีสัญลักษณ์เป็นรูปผึ้งครับ เดี๋ยวจะหาภาพมาให้ชม ;-)

น้อง Hana

           นำผึ้งสัญลักษณ์ของ Georgia Tech มาฝากครับ

             

น้อง Hana ครับ

        พี่เลยถือโอกาสนำ comment ไปเปิดบันทึกใหม่ โดยอ้างกลับมาตรงนี้ซะเลย ขอบคุณสำหรับเรื่องสนุกๆ ที่นำมาฝากพวกเรานะครับ

                โครงสร้าง นาโนทิวบ์ (Nanotube) ต่อยอดบันทึกคุณ Hana

สวัสดีค่ะพี่อาจารย์ชิว..(ขออนุญาตเรียกพี่อาจารย์นะคะ อิอิ)

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับรูปภาพ และข้อมูลค่ะ ^___^

ดีจังเลยค่ะ มีภาพคาร์บอนนาโน ด้วยทำให้กระจ่างขึ้น มองเห็นภาพมากขึ้นค่ะ ว่ามันน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง

นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรักษาด้วยวิธีการทีทันสมัย ผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติก็น้อยกว่าวิธีเดิม

ดีจังเลยค่ะ ^____^

ปล.สัญลักษณ์ GT เป็นรูปผึ้งน่ารักมากเลยค่ะ (เดาว่าเค้าใช้สัญลักษณ์นี้เพราะลักษณะของรังผึ้งใช่ป่าวค้า)

สวัสดีค่ะคุณคาปูชิโน่

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่า ^___^

สวัสดีค่ะ

ตามมาจาก blog ของ ดร.ชิวค่ะ

ได้ความรู้ใหม่ๆ เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณชาดา ~natadee

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ ^___^

น้อง Hana สวัสดีครับ

        Georgia Tech นี่ใช้สัญลักษณ์เป็นผึ้งมานานแล้วครับ...แต่พี่ยังไม่เคยไปค้นว่าทำไม...แหะ..แหะ

        ส่วนรูปหกเหลี่ยมของท่อนาโน (nanotube) นี่เป็นความบังเอิญว่าไปเหมือนกับรังผึ้งครับ

ปล. เรียก 'พี่ชิว' เฉยๆ ก็พอครับ เหมือนเจ้าเดย์ เมฆน้อย ฯลฯ ไม่ต้องอาจารย์หรอกครับ ว่าแต่จะให้พี่เรียกเราว่าอะไรดีล่ะ? (Hana-ฮานะ แปลว่า ดอกไม้ ใช่ไหม ภาษาญี่ปุ่น?)

      

ขอบคุณค่า ^___^

สวัสดีค่ะพี่ชิว เฉยๆ อิอิ

Hana ภาษาญี่ปุ่นแปลว่าดอกไม้ ก็น่ารักดีค่า

แต่จริงๆ Hana ชื่อนี้มาจากภาษาเกาหลีค่ะ แปลว่า "หนึ่ง"

(เพื่อนเกาหลีเค้าตั้งชื่อให้ค่ะ อิอิ หนึ่งเห็นว่าน่ารักดีเลยใช้ชื่อนี้)

พี่ชิวเรียกหนึ่ง หรือน้องหนึ่งก็ได้ค่า ^___^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท