ข้อสังเกตต่อ 2 คำพิพากษากรณีนางหนุ่ม ไหมแสง


ประสบการณ์จากตอนทำหนังสือถอดบทเรียนคดีสิ่งแวดล้อม อย่างหนึ่งก็คือ "การฟ้องคดี มัีกเป็็นหนทางสุดท้้าย หรือเกือบบบบสุดท้าย-เสมอ", เรื่องนี้ น่าจะเป็น "หลักทั่วไป" ไปแล้ว, เพราะหลายปีที่ติดตามสถานการณ์คนที่มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ ก็เป็นแฮะ!! ----------------------------------------------------------------------------------นางหนุ่ม ไหมแสง แรงงานชาวไทใหญ่ ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน, ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจเซนต์ชื่อมอบอำนาจให้ทนายไปฟ้องคดี หนทางและเครื่องมือหลายอย่างถูกหยิบมาใช้อย่างมุ่งมั่น (แม้แต่ในระหว่างการฟ้องคดี เครื่องมือ/หนทางต่างๆ ก็ยังคงดำเนินคู่ขนานกันไป) ไม่ถึง 1 ปี คดีแรกและคดีที่ 3 จบลงด้วยการที่ศาลมีคำสั่ง "ยกฟ้อง"

คดีของนางหนุ่ม ไหมแสง.. กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นที่พึ่งของนางหนุ่มถึง 3 คดี (ศาลแรงงาน 2 คดี และศาลปกครอง 1 คดี)

มีหลายประเด็นที่น่าเขียนถึง น่าศึกษา น่าถอดบทเรียน.. ตอนนี้เอาประเด็นหลักๆ ที่ปรากฎในคำพิพากษากันก่อน:

1. กรณีนางหนุ่ม ไหมแสงยื่นฟ้องตามพ.ร.บ.เงินทดแทน 2537 เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้คณะกรรมการฯ สั่งให้กองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนให้กับนางหนุ่ม ไหมแสง  (ดู คำพิพากษาหมายเลขดำที่ 33/2551 คดีหมายเลขแดงที่ 124/2551, ศาลแรงงานภาค 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2551)

1.1 นางหนุ่ม ไหมแสง เป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่อาจเป็นลูกจ้างตามนัยของพ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 สำนักงานประกันสังคม จึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แทนนายจ้าง –จริงหรือ? (อ้างจากคำให้การของจำเลย ในคำพิพากษาฯ,อ้างแล้ว, หน้า 2)

1.2.นางหนุ่ม ไหมแสง ไม่มีสิทธิเรียกให้กองทุนเงินทดแทนเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนให้นางหนุ่ม เนื่องเพราะนางหนุ่มไม่มีคุณสมบัติ/ข้อเท็จจริงตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ถึงแนวปฏิบัติในการจ่ายเงินทดแทน ปรากฏตาม หนังสือที่ รส.0711/ว.751 ลว.25 ตุลาคม 2544 (คำพิพากษาฯ อ้างแล้วฯ หน้า 17)

1.3 หนังสือที่ รส.0711/ว.751 ลว.25 ตุลาคม 2544 ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ และไม่ขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี (คำพิพากษาฯ อ้างแล้ว, หน้า 18-19-20)

สถานะของคดี: อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

3. คดีฟ้อง “ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน” (คดีหมายเลขดำที่ 164/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 232/2552 ศาลแรงงานภาค 5 วันที่ 21 กันยายน 2552)

3.1 มีข้อสังเกตต่อหัวเรื่องที่ปรากฏในคำพิพากษา เพราะในคำพิพากษาระบุว่า คดีนี้เป็นการฟ้องร้อง “ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน”  แต่โดยเนื้อหาคำฟ้องแล้ว นางหนุ่มและพวก ต้องการฟ้องขอให้ “เพิกถอนแนวทางปฏิบัติ หนังสือที่ รส.0711/ว.751 ลว.25 ตุลาคม 2544”

3.2 คำฟ้องในคดีที่สองนี้ ศาลแรงงานภาค 5 เห็นว่ามีประเด็นฟ้องเดียวกับคดีแรก คือ ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของหนังสือที่ รส.0711/ว.751 ดังนั้น จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (คำพิพากษา, หน้า 4-5) 

3.3 โจทก์ที่ 2 และ 3 ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ที่ 2 และ 3 เป็นลูกจ้าง ไม่ใช่นายจ้าง จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน จึงไม่ใช่ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ (หน้า 5)

หมายเลขบันทึก: 302558เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท