ห้องเรียนคุณภาพ


ห้องเรียนคุณภาพ

ห้องเรียนคุณภาพ

การพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ ตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาตติพ.ศ. 2542 ตามหมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษาตามมาตรา 22 -30 ได้นั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษา,ผู้บริหารสถานศึกษา,กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน,ชุมชน,ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจักการศึกษารวมถึงองค์กรอื่นๆมีความสำคัญและจำเป็นในการที่จะต้องเข้ามามีส่วนรวมเป็นองค์รวมต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบผู้สร้างและวางแนวทางการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้เก่งและดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข การจัดกิจกรรมการพัฒนาภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องสร้างให้ห้องเรียนมีคุณภาพต่อการพัฒนาได้นั้น โรงเรียนบ้านคลองมะละกอ ได้ดำเนินการประกอบด้วยองค์ประกอบการพัฒนาดังนี้ คือ

1. ผู้บริหารสร้างความตระหนัก ถึงความจำเป็นในการนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน ตามหลักการของ พ.ร.บ.การศึกษา 2542 โดยให้ความรู้ความเข้าใจจุดเน้นการพัฒนา เหตุผลความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา จัดกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน

2. จัดส่งครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าสู่การอบรมพัฒนาเพื่อสร้างเสริมความรู้ ต่อการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียน ผู้บริหารเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานโครงการโดยผู้มีส่วนร่วมทางการศึกษาต้องเข้ามามีส่วนร่วมเป็นทีมงานมีการนิเทศติดตามกำกับ ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาการศึกษาด้านตาย การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

3. นำสู่การปฏิบัคิด้วยกระบวนการหลักทฤษฎีการบริหารการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยวงจรเครมมิ่ง p-d-c-a มีการวางแผนพัฒนา การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ/กิจกรรมเป็นลำดับดังนี้

                3.1 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา,แผนยุทธศาสตร์,แผนกลยุทธิ์,แผนงานโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ โดยการจัดทำ swot  โดยการทำการวิเคราะห์ด้านปัจจัยและองค์ประกอบโดยการทำการ swot วิเคราะห์ปัจจัยด้านต่างๆ ขององค์ประกอบการพัฒนาและสร้างห้องเรียนคุณภาพ เช่น

  • องค์ประกอบด้านครู/หลักสูตร/กระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ
  • องค์ประกอบด้านนักเรียน/รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล/ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • องค์ประกอบด้านผู้บริหาร/การบริหารจัดการ/ภาวะผู้นำ
  • องค์ประกอบด้านสภาพของโรงเรียน/ห้องเรียน/แหล่งเรียนรู้/ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุน
  • องค์ประกอบด้านผู้ปกครอง/การมีส่วนร่วม
  • องค์ประกอบด้านชุมชน/การส่งเสริมการเรียนรู้

3.2 การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา,หลักสูตรท้องถิ่น

3.3 นำหลักสูตรมาวิเคราะห์แล้วจัดทำเป็นกำหนดการสอน

3.4 คณะครูนำกำหนดการสอนมาออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบองมาตรฐาน

3.5 นำกำหนดการสอนมาใช้เป็นแผนการสอน/ประเมินผลการสอน/ปรับปรุงพัฒนา/      ประเมินผลการใช้หลักสูตร

3.6 ใช้สื่อ ict เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอนห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ภายใน       และภายนอกสถานศึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา,ห้องวิทยาศาสตร์ โดยจัดกิจกรรม       การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

3.7 คณะครูจัดทำคลังข้อสอบ เพื่อนำมาใช้ในการวัดผลประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ        เพื่อตอบสนองจุดมุ่งเน้นเป้าหมายการศึกษา คือ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยจัด      กิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.8 จัดให้คณะครูดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ วิจัยในชั้นเรียน car โดยวิจัย       แก้จุดอ่อน,วิจัยเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนานักเรียนองค์ประกอบด้านพัฒนา       ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.9 สร้างวินัยเชิงบวกให้แก่นักเรียน เป็นผู้ที่มีเหตุ – มีผล รู้จักผิดชอบชั่วดี ด้วยปัญญา ร่วม       คิดร่วมทำ ร่วมค้นหาจุดด้อย/จุดเด่น ของตนเองแล้วได้รับการแก้ไข และพัฒนาตนเอง       ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการ

4. จัดบรรยากาศห้องเรียนให้สะอาดเรียบร้อย สวยงาม ตอบสนองต่อการเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียนที่เป็นประโยชน์ด้านต่างๆ

5. จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ เป็นรูปธรรมและเป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ส่งเสริม/สนับสนุน ผู้เรียนด้านต่างๆ

6. ผู้บริหารสถานศึกษาจัดระบบการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อการตรวจสอบ/ส่งเสริม สนับสนุน

งานวิชาการเรียนรู้การสอนของครู ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน

7.สถานศึกษาจัดระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยมอบหมายให้คณะครู/บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบงานพัฒนาการศึกษาด้านต่างๆ ของผู้เรียน,ตนเอง,ชุมชน การบริหาร สู่มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ

8.ดึงความมีส่วนร่วมของชุมชน.องค์กรส่งเสริมสนับสนุน เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา แก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมถึงการร่วมภูมิใจในความสำเร็จด้านต่างๆ

 ผลการดำเนินงานการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ

    การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพมีความจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆไปพร้อมๆ กันจึงจะส่งผลถึงคุณภาพโดยรวม พอสรุปได้ดังนี้

1. บุคลากร,ชุมชน,ผู้ปกครองนักเรียน มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านคลองมะละกอเป็นอย่างดียิ่ง ครูมีขวัญและกำลังใจ,มีความรับผิดชอบทุ่มเท,เสียสละต่อการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนเป็นอย่างดี ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,คุณธรรมจริยธรรม,สุขภาพอนามัย,คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เกิดหรือมีขึ้นพัฒนาขึ้นในตัวผู้เรียน จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน,ผู้ปกครอง,หน่วยงาน.ได้รับการประเมินคุณภาพ การสอบ O-net, NT, LAS และผลการสอบของสถานศึกษาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

2. ผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐาน จากสถานบันประเมินมาตรฐานการศึกษารอบที่ 2 ผลการประเมินด้านต่างๆอยู่ในระดับดีและดีมาก

3. นักเรียนมีความรู้/ความสามารถ/มีทักษะกระบวนการ เพื่อสามารถนำไปแสดงออกในการแข่งขันกิจกรรมต่างๆ ได้รับการยอมรับและมอบรางวัลในความสามารถของผู้เรียนด้านต่างๆ เช่น

  • การแข่งขันผลงานทางวิชาการในระดับกรมฯ
  • การแข่งขัน ได้รับรางวัลในระดับเขตการศึกษา
  • นักเรียนมีส่วนร่วมพัฒนาตนเองและสังคม
  • นักเรียนมีผลงาน/ชิ้นงาน ที่สะท้อนมาตรฐานและคุณภาพการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
  • นักเรียนใช้ ict เป็น
  • นักเรียนมีการพัฒนาอย่างรอบด้าน เช่น ด้านทักษะ/ด้านความรู้คู่คุณธรรม/กิจกรรมส่งเสริมฯ/คุณลักษณะที่พึงประสงค์

4. ด้านกายภาพ,คุณภาพของห้องเรียน สถานศึกษา คณะครูมีการผลิต,การใช้สื่อ สภาพของสื่อ มีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

  • สภาพห้องเรียน/ห้องสมุด,แหล่งเรียนรู้(ห้องปฏิบัติการ) ที่มีคุณภาพ
  • บรรยากาศห้องเรียน ครูจัดบรรยากาศได้ดีมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

5. ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนแนวใหม่ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

  • มีการจัดทำแผนการสอนที่อิงมาตรฐานทีมีประสิทธิภาพ
  • ครูมีการประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีประเมินที่หลากหลาย
  • ครูนำเสนอการรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนด้วยระดับคุณภาพ ครูมีการนำ ict มรใช้ในกระบวนการเรียนรู้ โดยครูมีทักษะในการใช้สื่อ ict ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้ ict ในกระบวนการเรียนรู้

6. ครูมีการพัฒนาระบบการดุแลช่วยเหลือนักเรียนจนได้รับรางวัลจากผู้เข้ามาประเมินผล/มีการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล

7. ครูมีการส่งเสริม,การป้องกันปัญหานักเรียน ด้วยการเสริมสร้างวินัยเชิงบวก ใช้หลักเหตุผล แทนการดุด่า เฆี่ยนตี

8. ครูนำผลการประเมินการเรียนการสอนไปพัฒนา,ไปทำการวิจัย เพื่อการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

9. ครูมีการศึกษา,อบรมพัฒนาตนเอง ด้วยการรับการนิเทศจากผู้รู้ ด้วยการยอมรับ,ศึกษาดูงาน สนใจใฝ่รู้ด้วยตนเองอยู่เสมอตลอดเวลา ครูมีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนสำหรับนักเรียน

10. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางบริหาร สามารถมีความรู้ไปนิเทศ,แนะนำกำกับแก่ครู ได้ครูมีความรู้ความสามารถและนำความรู้ไปพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลต่อการเรียนผ่านการประเมินผล,การประเมินผลรับต่างๆได้เป็นที่น่าพอใจ

หมายเลขบันทึก: 302102เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูคุณภาพ ผู้เรียนคุณภาพ ย่อมมาจากคุณภาพแบบองค์รวม ขับเคลื่อนการวิจัย การใช้ ICT มีวินัยเชิงบวก ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

เห็นรางวัลนักเรียนครูชื่นใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท