มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้


เจ้าหน้าที่ในสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ดีเพียงใด และมีทัศนคติต่อการจัดการความรู้อย่างไร

       สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพงานส่งเสริมการเกษตร ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2552 โดยในวันที่ 25 ช่วงบ่ายมีการอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ซึ่งผู้เขียนจะนำบรรยากาศและสาระที่ได้จากการกิจกรรมครั้งนี้ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

       แนวคิด  ในการจัดอภิปรายกลุ่มย่อยครั้งนี้ เกิดจาก ผลสรุปในการจัดเวทีสรุปบทเรียน KM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ KM ทีมมีแนวคิดว่าจะทำคู่มือ "การจัดการความรู้" ฉบับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้บุคลากรในสำนักงาน มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้

       จุดเริ่ม  ดังนั้นก่อนการเขียนคู่มือนี้ ผู้เขียนคิดว่า เราต้องรู้ก่อนว่า เจ้าหน้าที่ในสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ดีเพียงใด และมีทัศนคติต่อการจัดการความรู้อย่างไร จึงเกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมา

       ดำเนินการ  ในการอภิปรายกลุ่มย่อยครั้งนี้ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม เพื่ออภิปรายใน 5 ประเด็น ดังนี้

                  

       ประเด็นที่ 1 ความหมายและความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร  โดยสมาชิกกลุ่มให้ความหมายไว้ว่า

  • เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลออกมาบันทึกเป็นความรู้ให้แก่ผู้อื่น
  • เป็นการนำประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ ออกมาเป็นความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
  • การจัดสรรความรู้ออกมาให้เป็นระบบ มีการจัดการที่ดี สามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ นำไปใช้ได้จริง

       ส่วนความสำคัญของการจัดการความรู้ต่องานประจำก็คือ

  • สามารถนำองค์ความรู้ ไปจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้
  • สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในงานด้านวิชาการได้
  • นำไปปรับใช้กับงานประจำให้เหมาะสม

       โดยมีสมาชิกจากกลุ่มอื่น ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการต่อยอดองค์ความรู้ และสามารถนำงานวิจัยมาใช้ควบคู่กับการจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี

                 

       ประเด็นที่ 2 ความหมายและวิธีการการกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ โดยสมาชิกกลุ่มให้ความหมายไว้ว่า

  • เป็นการนำความต้องการของเกษตรกร/บุคคลเป้าหมายมากำหนดว่าต้องการอะไร
  • เป็นการนำภูมิปัญญาที่มีอยู่มากำหนดเป้าหมาย

       ส่วนวิธีการ ก็คือ

  • พบเจออะไรที่ดี นำมาจัดการความรู้
  • ประชาพิจารณ์
  • ดำหนดเรื่อง/ระยะเวลา
  • การประยุกต์ใช้

       โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไว้ว่า ในการกำหนดเป้าหมายควรมุ่งเน้นไปเพือ่การพัฒนาคน งาน และองค์กร

                      

       ประเด็นที่ 3 ความหมายและวิธีการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมาชิกกลุ่มให้ความหมายไว้ว่า

  • เป็นการเสนอความคิดเห็นของแต่ละบุคคล เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ
  • การนำความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละคนมาศึกษา แลกเปลี่ยนทัศนคติและเกิดการทำงานร่วมกัน

       ส่วนวิธีดำเนินการก็คือ

  • การจัดเวทีเสวนา
  • สภากาแฟ
  • ปรึกษาหารือ

       โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การศึกษาดูงาน ก็เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน

                        

       ประเด็นที่ 4 ความหมายและวิธีการการบันทึกและจัดเก็บองค์ความรู้  สมาชิกกลุ่มได้ให้ความหมายไว้ว่า เพื่อกันลืม ใช้ในการทบทวน ตรวจสอบย้อนกลับ และเผยแพร่  ส่วนวิธีการบันทึก ได้แก่

  • การใช้สัญญลักษณ์
  • การใช้สมองจดจำ
  • บันทึกลงในเอกสาร
  • ภาพถ่าย
  • ศิลาจารึก
  • บันทึกในคอมพิวเตอร์

       ส่วนวิธีการจัดเก็บ มีดังนี้

  • ออกแบบก่อน
  • ยกร่าง
  • จัดหมวดหมู่
  • ประมวลความรู้
  • จัดเก็บตามรูปแบบที่กำหนด เช่น เอกสาร CD WWW

       โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ควรแยกประเภทการบันทึกและจัดเก็บให้เหมาะสมและสะดวกต่อผู้ใช้

                        

       ประเด็นที่ 5 การใช้ประโยชน์จากการจัดการความรู้  สมาชิกกลุ่มได้ระดมความคิดเห็นไว้ดังนี้

  • การถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลเป้าหมาย
  • พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้
  • ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน
  • รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบทอดต่อไป
  • เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้สู่บุคคลภายนอก
  • สร้างรายได้และอาชีพให้ชุมชน
  • สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่บุคคลที่สนใจ
  • สร้างเอกลักษณ์แก่ชุมชน
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

       คิดต่อ  ผู้เขียนและ KM ทีมจะนำผลที่ได้จากการอภิปรายกลุ่มครั้งนี้ มาใช้เป็นฐานในการเขียนคู่มือการจัดการความรู้ โดยในบางประเด็นที่สมาชิกกลุ่มอาจมีความรู้ ความเข้าใจ คลาดเคลื่อน แตกต่างไปจากหลักของการจัดการความรู้ไปบ้าง KM ทีมก็จะปรับฐานความรู้ ความเข้าใจ แลเน้นในประเด็นนั้น โดยยกตัวอย่างให้เห็นชัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่รู้ เข้าใจ และสามารถนำการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานประจำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 302083เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2009 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • ทีมทำงานที่เข้มแข็งมากนะครับ
  • ค่อยคิดค่อยทำ และกลมกลืนกับธรรมชาติในการทำงาน
  • องค์กรก็จะไปสู่เป้าหมายที่หวังไว้ได้อย่างไม่ยากเย็น
  • ขอเอาใจช่วย
  • ทำเสร็จแล้วแบ่งปันกันให้ได้เรียนรู้บ้างนะครับ

 

  • แวะมาเยี่ยมเยียน
  • แวะมาให้กำลังใจ ครับ

P

สวัสดีค่ะ พี่สิงห์ป่าสัก

  • พักนี้ยุ่งมากๆ ไม่ค่อยได้เข้าไปแวะเยี่ยมเยียนใครเลยค่ะ
  • คาดว่าคู่มือ การจัดการความรู้ ฉบับของสนง.กษจ. ประจวบฯ คงจะเสร็จภายในปีนี้ค่ะ แล้วจะนำมาแบ่งปันค่ะ

 

P

สวัสดีค่ะ คุณสามสัก

ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท