(ร่าง) โครงการอบรมสัมมนาวาทวิจารณ์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 (มหิดล)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

เนื่องจากการเรียน ในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรียนหนักมาก มีทั้งชั่วโมงเรียนภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ ซึ่งงาน lab ทางทันตกรรม  และปฏิบัติการทางคลินิกมีมาก และยังจะต้องเตรียมตัวสอบใบประกอบโรคศิลป์ทาง clinic  ไม่ค่อยมีเวลาว่างเละเวลาพักผ่อน เวลาปิดเทอมก็ไม่ค่อยมี    ดังนั้นการเรียนนี้ค่อนข้างจะเครียด รู้สึกว่าหนักมาก มีปัญหากันค่อนข้างมากทั้งกับเพื่อน อาจารย์ คนไข้  และบุคลากรข้างเคียง มีความไม่เข้าใจกัน    มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ช่วยเหลือกันน้อยลงเห็นแก่ตัวมากขึ้น ไม่ยอมช่วยเหลือกัน ไม่มีการเสียสละให้กัน มีการแก่งแย่งคนไข้ ทำให้เรียนอย่างไม่มีความสุข ร่างกายอ่อนเพลีย จิตใจเศร้าหมอง  ประสิทธิภาพของการเรียน ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เครียด

          สุนทรียสนทนา เป็นวิธีการสำหรับการฝึกส่งผลให้ร่างกายสงบ สบาย ผ่อนคลาย ควบคู่กับการฝึกการพูดและการรับฟังอย่างมีคุณภาพ  แบ่งกลุ่มหลักของคนตามฐานของจิตใจ  ออกเป็น  4  กลุ่ม  มีการสนทนาแบบโบห์ม  โดยผู้เข้าร่วมต้องเปิดใจพร้อมเปลี่ยนมุมมอง  และสมมุติฐานอย่างกล้าหาญ  พร้อมกับการนำเอาการฝึกสติในชีวิตประจำวันเข้ามาเพิ่มคุณภาพให้ผู้เข้าร่วมได้บ่มเพาะอารมณ์บวก  นำเอาความเป็นปกติความแจ่มใส  ปลอดโปร่งทั้งกายและใจกลับคืนมา  โดยการจัดการกับอารมณ์โกรธ  อารมณ์หงุดหงิด  อารมณ์ไม่พอใจของตนเองได้

โดยผู้สนทนาต้องฟังซึ่งกันและกัน  พร้อมที่จะทิ้งความคิดเก่า  และความตั้งใจเก่า  โดยพร้อมจะไปยังอะไรที่แตกต่างออกไป    โดยผ่านการคุยและการกระทำร่วมกัน  ดังนั้นการที่มีปัญหาต่า ๆ กัน เนื่องจากความไม่เข้าใจกัน การมองต่างมุม ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นและตรงกัน ทำให้การทำงาน การเรียน มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เครียด ไม่หนัก มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการเสียสละ ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์อันดี เรียนอย่างมีความสุข ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

 

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

 

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

  1. การเขียนโครงการ

ก.ค. – ส.ค. 52

  1. การปรับและเสนอโครงการ

ส.ค. – ก.ย. 52

  1. ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาชั้นปีที่  4   

ก.ย. – ต.ค. 52

  1. ติดต่อทันตแพทย์พิชิต งามวรรณกุล  และกลุ่มสำหรับเป็นกลุ่มวิทยากร

ส  ค. – ก.ย. 53

  1. จัดโครงการอบรมสุนทรียสนทนาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 4

มี.ค. – พ.ค. 53

 

หมายเลขบันทึก: 301840เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการ ........โครงการอบรมสัมมนาวาทวิจารณ์สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 4...

วันที่สรุปผลการประเมิน 18 ต.ค. 52

......

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

 

1.1 แผนงานฯ ระยะที่สองได้จัดสรรงบสมทบสำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านสุขภาพองค์รวมเอาไว้แล้ว (ไม่เกินคณะละ 50,000 บาท) แต่หากจะขอรับทุนเป็นโครงการอิสระ จำเป็นต้องมีการทดลองนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่ออีกระยะหนึ่ง  (2-3 เดือน) แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง เหมือนเป็นแบบฝึกหัดที่ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสทดลองนำความรู้ไปใช้จริงๆ

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1  เพิ่มวัตถุประสงค์ในการให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองนำความรู้ไปใช้กับการเรียนหรือการดูแลผู้ป่วยจริง และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 โปรดปรับเพิ่มเติมตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้น

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 เนื่องจากการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านจิตใจและนำไปสู่การแสดงออกนั้น อาจต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมทดลองนำความรู้ที่ได้ไปใช้นอกเหนือจากกิจกรรมสองวันสัก 2-3 เดือน โดยอาจมอบหมายเป็นแบบฝึกหัดที่ต้องทำ  แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  น่าจะเกิดประโยชน์มากขึ้น

4.2 เนื่องจากเป็นกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ถ้าเป็นไปได้ ควรหาวิธีที่ทำให้นศ. เห็นความเชื่อมโยงว่าสิ่งที่เรียนรู้นั้นสามารถนำไปใช้ในการขึ้นคลินิกอย่างไร

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 ให้นำผลการแลกเปลี่ยนจากการทำกิจกรรมแบบฝึกหัดเขียนเล่าใน gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 โปรดระบุรายละเอียดค่าวิทยากร ตามเกณฑ์ของ ทพ.สส. (ศึกษาได้จากคู่มือฯ ที่แจกให้ประธานกรรมการ) 

6.2 หากเป็นการจัดในคณะฯ ควรปรับลดค่าอาหารแต่ละมื้อลง ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ ทพ.สส.

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท