"...เรื่องของความปวด..."


เชื่อว่าทุกคนเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความปวดไม่มากก็น้อย แน่นอนความปวดเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ "ปวด" ใครคิดว่าไม่สำคัญ ..

วันนี้ไปร่วมประชุมเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความปวด ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์มาค่ะ

สิ่งที่ได้วันนี้

1.เราต้องไม่ลืมว่าผู้ป่วยที่เข้ามาที่โรงพยาบาลทุกรายมีความปวด โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากปวดจากตัวโรคแล้ว ยังปวดจากการรักษาอีกด้วยค่ะ เช่นการผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด แม้แต่การฉีดยาแก้ปวดยังต้องเพิ่มความปวดให้ผู้ป่วยด้วยการปักเข็มลงไปที่กล้ามเนื้อผู้ป่วยเลยค่ะ

2.ความทนต่อความปวดของผู้ป่วยแต่ละรายไม่เท่ากัน ขึ้นกับหลายๆปัจจัยค่ะ เช่น

"ผู้ป่วยรายหนึ่งหลังผ่าตัดนอนอยู่บนเตียง ไม่บ่น ไม่ร้องเอะอะโวยวาย ไม่ขอยาแก้ปวด" หากเรา(พยาบาล)ละเลยการประเมินผู้ป่วยจะไม่ทราบเลยว่าผู้ป่วยรายนี้มีความปวดในระดับรุนแรง ต้องได้รับการดูแลรักษาความปวดโดยทันที สาเหตุที่ผู้ป่วยรายนี้ไม่แสดงอาการว่าปวดเลยนั้นพบว่าผู้ป่วยเป็นลูกทหารถูกสอนมาว่าต้องมีความอดทน

 

"กรณีเป็นลูกคนเดียว ก็จะมีความทนต่อความปวดที่ต่างจากการเป็นลูกคนโต"

 

"ต่างวัฒนธรรมก็เช่นกันค่ะ"

 

"อีกเรื่องที่อาจารย์เล่าให้ฟังคือประสบการณ์การเผชิญความปวดในวัยเด็กค่ะ ที่น่าสนใจคือในวัยเด็กหากเคยมีประสบการณ์ความปวดที่ไม่ดี จะทำให้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะมีความทนต่อความปวดได้น้อย"

 

ดังนั้นการประเมินความปวดบุคคลที่จะรู้ดีที่สุดว่าปวดหรือไม่ ปวดระดับไหน จึงเป็นตัวของบุคคลนั้นๆเอง สิ่งที่ผู้ประเมินความปวดต้องทำคือเชื่อในสิ่งที่ผู้ป่วยบอกเกี่ยวกับเรื่องความปวดของผู้ป่วย

 

หลักในการประเมินความปวด

1.ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบรรเทาความปวด

2.Acute pain ที่ไม้สามารถบรรเทาลงได้ จะส่งผลกระทบตามมามากมาย และแปรเปลี่ยนไปเป็น Chronic pain ได้ ดังนั้นจึงควรหาวิธีจัดการ Acute pain ให้ดีเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมาอีกมากมายในภายหลัง

3.ความปวดเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล มีหลายมิติ ซับซ้อน

4.พยาบาลมีหน้าที่ตามกฏหมายและ จรรยาบรรณในการช่วยเหลือดูแล จัดการความปวดแก่ผู้ป่วย และสามารถเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาได้เมื่อพบว่าแผนการรักษาเดิมไม่สามารถจัดการกับความปวดของผู้ป่วยได้

5.ร่วมมือกับผู้ป่วยและครอบครัวในการจัดการความปวด

6.ประสิทธิภาพในการประเมินและการจัดการความปวดมีขอบเขติครอบคลุมหลายมิติ จึงต้องร่วมกันจัดการความปวดโดยสหสาขาวิชาชีพ

7.การใช้ยาระงับปวดที่มีประสิทธิภาพ

8.พยาบาลช่วยเหลือพิทักษ์สิทธิ์แก่ผู้ป่วยในการสื่อสารกับทีมจัดการความปวด

 

จริงๆวันนี้ได้ความรู้และข้อคิดมามากมายค่ะ พรุ่งนี้ค่อยมาต่อดีกว่า

 

 

หมายเลขบันทึก: 301378เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มารับความรู้ดอกดึกค่ะ

ความเจ็บปวดเป็นเรื่องทรมาน

เคยปวดเช่นเดียวกัน คือ นั่งซะนานเกินไป ปวดหลังค่ะ

มีการวัดระดับความปวดด้วยใช่ไหมครับว่า ปวดอยู่ระดับใด สบายดีนะครับ

ผมก็ ปวดหลังบ่อยๆครับ

สวัสดีค่ะคุณ MSU-KM :panatung~natadee

จริงค่ะ ความปวดเป็นความทรมานจริงๆ และไม่มีใครไม่เคยปวดเลยด้วยสิคะ

เกิดเป็นมนุษย์แล้วเรื่องนี้หลีกเลี่ยงยากจริงๆนะคะ

ความสำคัญมันอยู่ตรงที่เราจะจัดการกับความปวดนั้นได้อย่างไร

เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานนั้นๆ

แปลกนะคะ ว่าเทคนิคการจัดการความปวดที่ร่ำเรียนมา

บอกว่าให้เบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วยเพื่อลดปวด

แต่หากใช้หลักศาสนาเข้ามาจะเป็นวิธีการให้รู้ว่ากำลังปวด ตรงนี้ ปวดที่กาย แต่ใจเราไม่ปวด

เทคนิคต่างกันแต่ได้ผลลดปวดได้เช่นกันค่ะ ^___^

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต ใช้แล้วค่ะ เนื่องจากความปวดเป็นนามธรรมจึงต้องมีเครื่องมือวัดความปวดใท่บอกถึงระดับความรุนแรงของความปวด วัดได้ ประเมินได้ค่ะ จากงานวิจัยต่างๆเลยมีการออกแบบเครื่องมือวัดความปวดรูปแบบต่างๆมากมายค่ะ รวมถึงการประชุมที่ขอนแก่นเมื่อวานด้วย ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก เนื่องจากที่เราใช้เครื่องมือวัดความปวดอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเครื่องมือของชาวต่างชาติซะเป็นส่วนใหญ่ ดูตัวอย่างได้ใน เครื่องมือที่ใช้วัดความปวด ค่ะ โครงการของมข.นี้เลยต้องการที่จะสร้างเครื่องมือในบริบทของชาวไทยโดยเฉพาะชาวอีสานด้วยค่ะ ^___^

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

อาการปวดหลังพบได้กับทุกคนค่า โดยเฉพาะ สว. อิอิ

(ล้อเล่งๆๆๆนะค้า ^___^)

วิธีการบรรเทาความปวดโดยไม่ใช้ยามาเยอะเลยค่า แต่ใช้ได้ในความปวดที่ระดับไม่รุนแรงนะคะ

เช่น ดนตรีบำบัด,นวด,อโรมา,เทคนิคผ่อนคลาย,สมาธิบำบัด,โยคะ ,การสร้างจินตภาพ ฯลฯ

เลือกวิธีที่ชอบจะช่วยลดความปวดลงได้เยอะเลยค่า ^___^

ปวดหมอง นี่ทำไงดีครับ...

ฮิ ฮิ...

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

ปวดหมองเหรอคะ ต้องนั่งสมาธิค่า อิอิ (อิ๊คคิวซัง...^____^)

แต่หนึ่งว่ายังดีกว่าปวดใจนะค้า อิอิอิ

ขอร่วมแจมด้วยคนนะครับ...ท่านทั้งหลาย โบราณเขาสอนไว้ หนามยอกต้องเอาหนามโบ่ง โดยเฉพาะเรื่องปวดหลัง ปวดเอว เป็นประจำ วิธีบรรเทาอาการที่ง่ายสุด ประหยัดสุด คือ ให้คนที่บ้านช่วยเหยียบซำ ( ขอยำว่าเหยียบจริงๆ ) รับรองหายครับผม

สวัสดีค่ะครูบอย

อิอิ เป็นวิธีที่ดีค่ะ เหยียบซำ หายแน่นอน อิอิ แถมยังได้สัมพันธภาพในครอบครัวอีกด้วยค่า

ข้อห้ามสำหรับคนที่จะขึ้นเหยียบซำ น้ำหนักไม่ควรมากนักนะค้า อิอิ เดี๋ยวจะกลายเป็นปวดหนักกว่าเดิมค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท