"ระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ"


โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 เข้าร่วมโครงการ "ระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ"

ความเป็นมา         
       กระแสสังคมเรียกร้องให้เกิด คุณภาพ ในทุกวงการโดยเฉพาะวงการการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษามิใช่เพียงการกำหนดนโยบายหรือออกฏหมายเท่านั้น แต่จะเป็นการขับเคลื่อนด้วยการสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยที่มีที่มาจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนวิจัยพัฒนาเพื่อยกระดับองค์ความารู้ให้สอดคล้องกัยสังคมไทยแลมีการจัดการองค์ความรู้เพือการแลกเปลียนเรียนรู้ ขยายเครือข่ายอย่างก้วางขวางองค์กรที่จะดำเนินการได้อย่างมีความมุ่งมันต่อเนื่องจึงต้องเป็นองค์การที่มีความเป็นอิสระ โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์
      งานหรือโครงการที่สถาบันดำเนินการอยู่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรจากหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น
การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อการรับรองคุณภาพ
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องคุณภาพแกผู้เกี่ยวข้อง แต่การดำเนินการเรื่องการประกันคุณภาพของสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะทำตามแบบเน้นการประเมินมากกว่าการพัฒนา จึงเกิดโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อคุณภาพสถานศึกษา โดยม่งให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนเกิดความพร้อมที่จะรับรองคุณภาพสถานศึกษา (School Accrediation) ซึ่งมีหลักคิด หลักวิชา และหลักปฏิบัติดังนี้หลักคิดSystem Thinking


งาน โครงการ ที่โรงเรียนดำเนินการอยุ่สามารถจัดกลุ่ม (Cluster) แล้วออกแบบงานให้เป็นระบบต่าง ๆ โดยแยกเป็นระบบหลัก ระบบสนับสนุน ซึ่งสามารถสอนงหรือสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ได้ครอบคลุมทั้ง 27 มาตรฐาน 91 ตัวบ่งชี้
Stategic Thinking         
การดำเนินงานตามระบบต่าง ๆ จะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษาแล้วจึงกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่จะปรับปรุงจุดอ่อน และยุทธศาสตร์ที่จะดำรงรักษาจุดแข็งของสถานศึกษา กำหนดเป็นแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสถานศึกษาโดยมีจุดเน้นได้อย่างสอดคล้องกับสภาพเฉพาะของสถานศึกษา
Team learning         
ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะที่เป็นหัวหน้าทีม จะต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ทีมพัฒนาคุณภาพหรือทีมสนับสนุนจะต้องมีความจัดเจนทั้งในเรื่องวิชาการและปฏิบัติการสามารถเป็นผู้นำให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน และทีมทำ จะต้องมีความตระหนัก มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานอย่างอดทนและต่อเนื่อง
หลักวิชาการQuality Assurance 
        การประกันคุณภาพสถานศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นไปและได้ผลลัพธ์ตามที่มาตรฐานและตัวบ่งชี้กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเชิงระบบประสานการประเมินจึงเป็นแนวคิดใหม่ที่จะนำพาโรงเรียนสู่การรับรองคุณภาพสถานศึกษาได้
Quality Improvement
       การพัฒนาที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน เริ่มต้นจากการพัฒนาคุณภาพภายในอย่างเช่นการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้อาจใช้เครื่องมือการวิจัยชั้นเรียนซึ่งเป็นการค้นพบปัญหา แสวงหานวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหา สำหรับการพัฒนางานที่ต่อเนื่องไปอาจใช้เครื่องมือการเทียบระดับ (Benchmarking) โดยการประเมินตนเองค้นหาต้นแบบระบบจากหน่วยงานหรือองค์กรในระดับเดียวกันเพื่อทำการเทียบระดับปรับปรุงระบบงานของตนเองให้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
Participatory Leaning         
เป็นหลักการในการเสริมสร้างพลังความร่วมมือโดยการให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมรับผิดชอบผ่านกระบวนการพัฒนาคุณภาพตั้งแต่ร่วมออกแบบระบบ ร่วมดำเนินการตามระบบ ร่วมประเมินระบบบและร่วมปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลบนความประหยัด
หลักปฏิบัติ  Interactive Learing Through Action         
องค์ความรู้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ "หน้างาน" จากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยการพัฒนาเชิงระบบ จะนำไปสู่การออกแบบแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งจะต้องปรับปรุงรูปแบบการประเมินให้สอดรับกับการพัฒนาเชิงระบบ ผลจากการปฏิบัตินี้จะนำไปสู่แนวทางใหม่ในการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพสถานศึกษาในโอกาสต่อไปKnowledge Management         
จากการดำเนินงานเกิดเป็นชุดของความรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียน การออกแบบระบบในการดำเนินงานในโรงเรียนการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบ การทำงานเป็นทีม และการประเมินทบทวน เป็นต้น ชุดความรู้เหล่านี้ถูกประมวลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโรงเรียนในชื่อของ ToPSTAR และจะถูกบรรจุไว้ในฐานข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งโรงเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการเทียบระดับ หรือโรงเรียนที่สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดจากเขตพื้นที่การศึกษา หรืออาจติดต่อโดยตรงกับสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.)
วิสัยทัศน์          สถานบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.)  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประสานความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย
พันธกิจ          สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้มีภารกิจที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.  วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษา         
2.  พัฒนาเครือข่ายด้านการศึกษาให้เป็นองค์กร และบุคคลแห่งการเรียนรู้         
       3.  จัดการความรู้ด้านการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่เครือข่ายและสาธารณะ
กิจกรรมดำเนินการ- วิจัยและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อคุณภาพการศึกษา รู้จักกันในชื่อของ "ToPSTAR "ได้รับการสนับสนุนจาก ศธ. สกว. และสมศ. มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาเชิงระบบ เพื่อการรับรองคุณภาพสถานศึกษา (School Accreditation)
การพัฒนาเชิงระบบสู่โรงเรียนสุขภาวะใช้เทคนิคการเทียบระดับ (Benchmarking) ในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะและพร้อมที่จะขอรับการรับรองคุณภาพสถานศึกษา เช่นกัน ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. มีเป้าหมายจะดำเนินการในโรงเรียน นำร่องปีแรก  200 โรงเรียน- ความร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการขยายผลจากโครงการ ToPSTAR แก่โรงเรียนที่สนใจโดยผสานความร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ- สถาบันฯ ได้รับมอบหมายจาก สสส. ให้ดำเนินโครงการบริหารจัดการแผนงานการเรียนรู้ภายในระบบการศึกษาเพื่อการเชื่อมโยง และขยายเครือข่ายการดำเนินงานของ สสส. ทั่วประเทศ
ที่มา:สภาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้

 

หมายเลขบันทึก: 30129เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โรงเรียนของท่านเป็นโรงเรียนที่คณะนักศึกษาปริญญาโท สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ม.ราชภัฏอุบลราชธานีจำนวน 50 คน อยากจะขอเข้าเยี่ยมชม ในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เวลา 10.30 น. คงได้รับความกรุณาจากท่าน รายละเอียดจะส่งหนังสือราชการมายังโรงเรียนของท่าน

                   ขอบคุณอย่างยิ่ง

อยากทราบว่าการดำเนินงานระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ   เริ่มต้นต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องทำทั้ง 10 ระบบพร้อม ๆ กันหรือไม่ค่ะ 

                          เมย์

ครู คศ.1 

อมก๋อย  เชียงใหม่

เรียน คุณครูเมย์
เขาไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำทั้ง 10 ระบบครับ แต่ที่ควรทำคือ ระบบหลัก 3 ระบบ  แต่ที่โรงเรียนทำทั้ง 10 ระบบเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอก จากสมศ. เพื่อจะได้เป็นการทำงานครั้งเดียวครับ  เอามาตรฐาน สมศ.  สวร. และของชาติ มาดูพร้อมกันที่เดียวจะได้เหนื่อยครั้งเดียว  แต่เป็นการทำงานที่ยาวนานต่อไป ผมก็เรียนว่าถ้ามีผู้รู้แนะนำเพิ่มเติมยินดีมากครับ  เพราะผมก็เป็นหนึ่งในทีมทำระบบพัฒนาบุคลากร บางครั้งก็ยังงงอยู่

เรียน คุณสำราญ คชพงษ์

ยินดีต้อนรับและเป็นเกียรติมากครับ  ถ้ามาดูแล้วมีอะไรแนะนำก็จะเป็นการดีมาก  โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ  คงจะมีหลายอย่างที่ต้องการคำแนะนำ  ถ้ามีอะไรจะบริการช่วยเหลือกันยินดีมากครับ

  • เยี่ยมมากครับ
  • อยากให้ผู้บริหารและคุณครูทุกโรงเรียนได้อ่านบันทึกแล้วนำไปขยายผล
  • อยากให้ทำ link ไปที่ 27 มาตรฐาน 91 ตัวบ่งชี้
    ด้วยครับ เพื่อเติมเต็มครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

เรียนคุณไชยพร แย้มมี

ดิฉันและคณะนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน (แก่แล้วไปเรียน) จำนวน 50 คน เลือกที่จะศึกษาดูงานโรงเรียนของท่านเพราะได้ข้อมูลจากอินเตอร์เนต ไปไม่ถูกก็จะสอบถามเส้นทางจากอุบลถึงสุพรรณ คงไม่ไกลนัก

วันที่ 20 สิงหาคม 49 คณะของพวกเราพักที่โรงแรมคุ้มสุพรรณ ( ได้ข้อมูลจากอินเตอร์เนตเช่นกัน ) วันที่ 21 ส.ค. 49  เวลาประมาณ 10.00 น. คาดว่าจะได้เยี่ยมชมโรงเรียนของท่าน เพราะช่วงเช้าเราจะเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนสุพรรณภูมิก่อน ขอบคุณล่วงหน้า

ค่ะ

 

อ่านแล้วดีจังค่ะ  ลองเข้าไปอ่านเล็กๆน้อยๆของโรงเรียนดิฉันบ้างค่ะ  ที่นี่  และไปทำความรู้จักกับผู้บริหาร  ที่นี่ 

TEAM LEARNING  ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะที่เป็นหัวหน้าทีม จะต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ทีมพัฒนาคุณภาพหรือทีมสนับสนุนจะต้องมีความจัดเจนทั้งในเรื่องวิชาการและปฏิบัติการสามารถเป็นผู้นำให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน และทีมทำ จะต้องมีความตระหนัก มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานอย่างอดทนและต่อเนื่องหลักวิชาการ 

แล้วครูน้อยก็ปฏิบัติตามอย่างจัดเจน 

Participatory Learning  การพัฒนาที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน เริ่มต้นจากการพัฒนาคุณภาพภายในอย่างเช่นการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้อาจใช้เครื่องมือการวิจัยชั้นเรียนซึ่งเป็นการค้นพบปัญหา แสวงหานวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหา สำหรับการพัฒนางานที่ต่อเนื่องไปอาจใช้เครื่องมือการเทียบระดับ (Benchmarking) โดยการประเมินตนเองค้นหาต้นแบบระบบจากหน่วยงานหรือองค์กรในระดับเดียวกันเพื่อทำการเทียบระดับปรับปรุงระบบงานของตนเองให้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

การเทียบระดับคงเหมือนกับการเอาอย่างหรือเปล่าคะ  

อ่านจบแล้วไม่เห็นงานแบบผักที่โรยหน้าแกงจืดที่โรงเรียนต่างๆนิยมเลย  ดีจัง

โอกาสต่อไปKnowledge Management         
จากการดำเนินงานเกิดเป็นชุดของความรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียน การออกแบบระบบในการดำเนินงานในโรงเรียนการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของระบบ การทำงานเป็นทีม

ทีมอะไร  ทีมทั้งหมด  SCHOOL WIDE  หรือ  คงไม่ใช่ทีม 7 - 8 คนนะคะ

ผมมีความชื่นชมและสนใจในการทำงานของโรงเรียนอาจารย์มาก  แสดงว่าต้องเป็นการทำงานที่มีระบบ  ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง  การทำงานของดรงเรียนจึงเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้  ผมคงต้องขอคำชี้แนะจากอาจารย์ในเรื่องต่าง ๆบ้างนะครับ

กระบี่อยู่ที่ใจ ใจอยู่ที่กระบี่

ใช้กระบี่โดยไร้ใจ เท่ากับสังหารตนเอง

ขึ้นหัวข้อเรื่องได้โดนค่ะ "ระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ" เสริมให้อีกเรื่องนักเรียนและครูบาอาจารย์ก็มีคุณภาพเช่นกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท