กลยุทธ์ ร่วมด้วยช่วยกัน กระตุ้นพี่พยาบาลตึกสงฆ์ฯ รพ.สารคาม ให้เรียนจบปริญญาโทซะที


ร่วมด้วยช่วยกัน จะได้เรียนจบซะที
เมื่อเรียน course work ครบทุกวิชาตามหลักสูตรแล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องทำวิจัย -  วิทยานิพนธ์ ตามโครงสร้างของหลักสูตร ซึ่งเป็นช่วงที่เพื่อนในรุ่นไม่ค่อยได้พบปะกัน

หลายท่านทำวิจัยจนเสร็จ จบตามกำหนดเวลา แต่อีกหลายท่าน ขาดแรงกระตุ้น กลับไปทำงานประจำ จนไม่มีเวลาทำวิจัยเสียที จนเพื่อนในรุ่น ทยอยจบไปเรื่อยๆ ที่เหลือ ยิ่งห่างหายจากการไปพบอาจารย์ที่ปรึกษา

พี่พยาบาลที่ตึกสงฆ์ฯ ที่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยมากที่สุด แต่กลับจบช้าที่สุด ในขณะที่เพื่อนในรุ่นที่อยู่ต่างจังหวัดไกลๆ สุรินทร อุบล นครพนม โคราช มุกดาหาร หนองบัวลำภู ฯลฯ ต่างเรียนจบกันหมดแล้ว

ยิ่งใกล้แหล่งข้อมูล ใกล้อาจารย์ กลับเรียนจบช้า???

เวลาผ่านไป 4 ปี กลุ่มเพื่อนร่วมรุ่นในสาขาเดียวกัน (การจัดการสารสนเทศสาธารณสุข) ที่ยังคงติดตาม คอยให้กำลังใจถามไถ่ เห็นว่า ถ้าไม่ร่วมด้วยช่วยกัน พี่พยาบาลก็คงจะไม่จบ เพราะไม่มีโอกาสได้ลงมือทำวิทยานิพนธ์เสียที

ปัญหา ขึ้นเวรที่ตึกตลอด และชอบขึ้นเวรแทนคนอื่นๆที่ติดธุระ หลายครั้ง อยู่เวรยาวถึง 16 ชั่วโมงบ่อยๆ กลับถึงบ้านพัก ก็เหน็ดเหนื่อย ต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียว

วันหยุด ลูกชายและลูกสาววัยประถม ซึ่งติดคุณแม่มากๆ ก็อ้อนแม่ให้พาไปเที่ยว จึงไมีมีเวลาส่วนตัวที่จะค้นข้อมูล thesis มากนัก

ลูกกวนตัว สามีกวนใจ ขาดแรงกระตุ้น ห่างหายจากการโทรคุยกับเพื่อนฝูงหลายเดือน.. (เพราะเพื่อนๆก็งานยุ่งกันทุกคน)

เลยคิดหาทางวางกลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้เรียนจบให้ได้

1. โทรไปบอกเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆ ให้ช่วยกันโทรไปคุย ไปกระตุ้นพี่พยาบาล ระยะแรกๆ เพื่อนร่วมรุ่น ก็จะโทรไปบ้าง แล้วก็ว่างเว้น  ก็ต้องกำหนดเวลาเพื่อที่จะโทรไปแจ้งให้เพื่อน โทรไปคุยกับพี่พยาบาลเป็นระยะๆ

แต่ละคนก็จะมีวิธีการพูด และความเป็นกันเองที่แตกต่างกันไป ช่วยกันพูดหลายคน ได้กำลังใจเต็มเปี่ยม ถึงแม้ห่างเหิน  ยังไงทุกคนก็ไม่ยังคงนึกถึงเสมอ

2.ช่วยเหลือเรื่องเอกสาร เนื่องจากพี่พยาบาลไม่มีเวลาไปค้นหาข้อมูล ต่างคนต่างช่วยกันค้นหาเอกสาร หลายคนเคยไปค้นเอกสาร ถ่ายเอกสารสำหรับงานวิจัยของตัวเองไว้มากมาย ไหว้วานให้ช่วยรื้อเอกสารเหล่านั้น ดูงานวิจัยที่ตรงกับหัวข้อวิจัยของพี่พยาบาล แล้วรีบส่งข้อมูลไป support ทันที

3. ใครว่าง ก็ไปพบปะพี่พยาบาล รวมทั้งไปเป็นเพื่อนพี่พยาบาล เวลาที่พี่เค้าต้องไปพบอาจารย์ที่ปรึกษา เนื่องจากไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีผลงานมาให้อาจารย์ดู พี่เค้าเลยไม่กล้าไปพบ แต่ก็ควรต้องไป เพื่อจะได้บอกเล่าปัญหาและอุปสรรคที่พบ อาจารย์จะได้ให้คำแนะนำ เพื่อหาทางออกให้

4. คอยโทรไปเตือน เรื่องของเวลา หลายครั้งที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเรื่อยๆ หรือขณะที่นั่งทำงาน เขียนรายงานแล้ว ไม่สามารถจับประเด็นสำคัญได้ ต้องช่วยเหลือ พูดคุยสอบถามให้เข้าประเด็น

5. ชวนมาทำงานในห้องสมุด มมส. เพื่อให้ได้บรรยากาศ ทำงานได้เต็มที่ มีสมาธิ หากอยู่ที่บ้านพัก ได้แต่ทำงานบ้าน ดูแลคนในครอบครัว อยู่ในห้องสมุด จะได้หยิบเอกสาร หนังสือมาให้ดู เพื่อให้ได้แนวทางโดยเร็ว

6. ดูแลเอาใจใส่ร่วมกันเป็นทีม เพื่อไม่ให้ขาดตอน มิตรภาพยังคงดูอบอุ่นอยู่เสมอเหมือนตอนที่เรียน course work ในห้องเรียนกันพร้อมหน้า

7. หาโอกาสรู้จักกับใครสักคนที่ตึกสงฆ์ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ พี่พยาบาล  แล้วสร้างความสนิทสนมเป็นกันเอง .....
เป็นตัวช่วย เนื้องจาก ลูกทั้ง 2 ของพี่พยาบาล ติดแม่มากๆ แม่ว่างตอนไหน ลูกๆจะอ้อนขอตามแม่ไปด้วย
ทำให้ไม่มีสมาธิทำวิจัยได้สักที ก็ให้ใครคนนั้นช่วยดูแลลูกๆทั้ง 2 ของพี่พยาบาล ซักช่วงนึง หรือไม่ก็ให้เป็นคนคอยช่วยเหลือ คอยกระตุ้นพี่พยาบาลทำวิทยานิพนธ์ตามเวลาและโอกาสที่เปิดให้

กลยุทธ์ที่วางนี้ ออกแบบตามสภาพความเป็นจริงของพี่พยาบาลครับ ตั้งโจทย์ มองปัญหา แล้วหาทางออกบนเงื่อนไขของปัญหา ทั้ง 7 ข้อ ได้ลงมือทำบ้างแล้ว  ตอนนี้พี่พยาบาลยังคงอยู่ในสภาพเดิม แต่มีแรงใจมากกว่าแต่ก่อน ที่ถอดใจอยากจะเลิกทำวิจัยไปเลย ซึ่งในตอนนี้ เริ่มที่จะมีความก้าวหน้าในงานวิจัยเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ที่สำคัญ เป็นการออกแบบให้เพื่อนๆได้มาร่วมด้วยช่วยกัน หลังจากที่ช่วงที่ผ่านมาได้แต่โทรหากัน แล้วก็แสดงความเป็นห่วง และไม่สามารถช่วยเหลืออะไรกันได้  ...

แนวทางนี้ ดูจะเป็นการช่วยให้หลายคนได้ช่วยเหลือ ในส่วนที่อยากจะทำอย่างที่ใจต้องการกันซะที

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#แนวคิด
หมายเลขบันทึก: 30121เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท