การจัดการสนามกีฬา


การบริหารจัดการสนามกีฬาในเมืองไทย ของราชการยังขาดประสิทธิภาพ
           ไม่ได้เขียน Block มาหลายวัน รู้สึกว่าขาดหายอะไรบางอย่างในชีวิต ทั้งๆที่อยากจะเขียนแต่ต้องทำงานที่สำคัญกว่า  แต่ก็พยายามจัดการให้เวลากับ Block  เพื่อเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ตามเป้าหมายชีวิต

            วันนี้อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "สนามกีฬา" โดยเฉพาะเรื่อง "สนามกีฬาฟุตบอล" ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะถึงสัปดาห์ฟุตบอลโลก   โดยประสบการณ์ชีวิตในตัวตนของผม  ได้มีโอกาสไปดูฟุตบอลโลกที่ประเทศเกาหลี เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา     และได้มีโอกาสเห็นสนามฟุตบอล 11 สนามที่คุนหมิง ประเทศจีน    ซึ่งตรงกับใจตรงกับวิสัยทัศน์ของเราที่อยากจะพัฒนา สนามกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ที่ผมมีหน้าที่บริหารจัดการให้กับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันและบริการชุมชน เพื่อได้ใช้ในสิ่งที่ดีและการจัดการที่ดี   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ต่างๆกับหน่วยงานและสถานศึกษาหรือองค์กรอื่นๆด้านกีฬา เพราะทุกคนมองว่า สนามต้องดี  สนามต้องมีมาตรฐาน  แต่หากมองย้อนหลังไปแล้ว คนดูแลสนามกีฬา คือ คนที่คอยแก้ปัญหา ไปวันๆเท่านั้น

            เพราะว่า  การก่อสร้างสนามกีฬาไม่ได้วิเคราะห์วินิจฉัย  ไม่ได้มีวิสัยทัศน์ที่จะรองรับเหตุการณ์ข้างหน้า  เช่น การเพิ่มของประชากรนักศึกษาที่ต้องการใช้สนามกีฬา   การขยายสนามกีฬาเพื่อรองรับ   การจัดกิจกรรม  และสุดท้ายผมถือว่าเป็นหัวใจ คือ การบำรุงรักษาและการจัดการสนามกีฬาให้มีมาตรฐานและมีมูลค่าเพิ่ม  ดังนั้น ประเทศไทยก็คงมีปัญหาเดิมๆแบบไม่สามารถแก้ไขอะไรได้มากว่าที่เป็นอยู่   

           ส่วนประกอบสนามฟุตบอลที่ดีเกี่ยวข้องกับอะไร?  1.  ดิน  2.  หญ้า  3.อากาศ  4.การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการ   แต่วันนี้ขอเน้นที่องค์ความรู้ที่ "ดิน"  ซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับในการปลูกหญ้า ทำไมผมจึงให้ความสำคัญ"ดิน" เพราะว่าหากสนามฟุตบอลไม่มีหญ้าก็ยังมีผิวดินรองรับในการใช้เล่นฟุตบอลได้

          ดิน(Soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ(natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรีย์วัตถุ ซึ่งปกคลุมผิวดินโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืข  ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของดิน

   ภาพองค์ประกอบของดิน     ภาพองค์ประกอบของดินที่เหมาะสม

 

      ภาพการแสดงชั้นของดิน

              เมื่อมีการปูพื้นเรื่องของดินแล้ว  มันเกี่ยวกับสนามฟุตบอลตรงไหน  ก็รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า ก็เพียงพอน่าจะมีสนามที่เขียวนุ่มขจี    หากได้มีการศึกษาจากภาพดังกล่าวแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของดิน และแร่ธุาตลดน้อยลงความสูญเสียของดินจึงเกิดขึ้น  ช่องว่างในดินลดน้อยลง  เป็นผลให้อากาศและน้ำในดินลดน้อยลงดินเกิดการเปลี่ยนตัว จึงเป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมของ"ดิน"

      ภาพสนามฟุตบอล Hongta Sport Club มณฑลคุนหมิง ประเทศจีน  ที่ทีม "รีล มาดริด"  เคยใช้เป็นสถานที่พักและเก็บตัว  สนามแห่งนี้มีจำนวนทั้งหมด 11 สนาม

        แต่เชื่อไหมว่าใน 11สนาม  สิ่งที่มีความชัดเจนที่แตกต่างจากบ้านเราเมืองไทย คือ

            1. มีรั้วรอบขอบชิดปิด-เปิด เป็นเวลา เมื่อมีการใช้

            2. มีความสะอาดเพราะสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการบำรุงรักษา

            3. ตารางการใช้สนามีความฃัดเจนและมีการพักสนาม(สลับการใช้)  ให้หญ้าที่ถูกย่ำได้มีโอกาสฟื้นตัว

           4. สนามเมื่อถูกใช้งานไปประมาณ 3-5 ปี จะถูกรื้อโดยม้วนหญ้าเป็นแผ่นคล้ายพรมเพื่อย้ายไปปลูกที่สนามอื่น  ส่วนดินที่เป็นพื้นรองรับถูกเปลี่ยนและบำรุงใสปุ๋ยใหม่  เนื่องจากถูกเหยียบย่ำจนช่องว่างของดินแน่นทำให้น้ำและอากาศมีช่องว่างในดินลดน้อยลง เป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมโทรม  จึงต้องเปลี่ยนดินใหม่

           จาก 4 หัวข้อหลักที่กล่าวมานี้ เชื่อหริอไม่ว่า สนามฟุตบอลแห่งนี้ดีที่สุดในเอเซีย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นสนามฝึกซ้อมที่ดีที่สุดในโลกหรือไม่แต่ไม่ที่สุดก็อยู่ในอันบดับ 1-3 เท่าที่ได้ยินได้ฟังสนามฟุตบอล Hongta Sport Club เป็นสนามของโรงงานยาสูบที่ใช้พื้นที่บริเวณที่พักจัดสร้าง Sport Club ทั้งในร่มและกลางแจ้ง  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คือ การให้เช่า  และการฝึกเป็นอาชีพอย่างครบวงจร มีทั้งสนามกีฬาและอุปกรณ์ที่ทันสมัย  มีที่พัก  และมีอาหาร  และสถานที่แห่งนี้ สโมสรนันยาง เอฟ.ซี. ได้มาขอเช่าสถานที่เป็นที่ฝึกนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ

          การจัดการสนามกีฬาเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะสนามกีฬาทำให้คนได้ใช้ออกกำลังกายมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่ต้องเพียงพอและต้องมีการพักสนาม  เพราะว่า"คน" มีเวลา 24 ชั่วโมงแต่ต้องพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชัวโมง สนามกีฬาก็เช่นกัน ประเทศไทยเราสร้างสนามแข่งขัน(หรือสนามแม่) แต่ขาดสนามฝึกซ้อม(หรือสนามลูก) ดังนั้น กิจกรรมแข่งขันและฝึกซ้อมก็คือสนามแห่งเดียวจากสนามที่อ่อนนุ่มกลายเป็นสนามที่แข็งกระด้าง  เพราะขาดความรู้เรื่ององค์ความรู้ของดิน ขาดองค์ความรู้การบริหารจัดการ  ดังนั้น  การบริหารจัดการสนามกีฬาในเมืองไทย ของราชการขาดประสิทธิภาพ  เพราะว่า ขาดวิสัยทัศน์ และองค์ความรู้ ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการบำรุงรักษา 

         จากประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้เห็นได้สัมผัสไม่อยากให้เหมือนหลายๆท่าน  ที่มีอาชีพดูงานแต่ขาด Action ช่วยกันกลับมาสร้างแนวทางการบริหารจัดการสนามกีฬา ให้มีประสิทธิภาพและเกิดมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้น สนามฟุตบอลก็คือลานดินโล่งๆที่ตามทุ่งนา แต่ไม่สามารถจัดการอะไรได้  มันบ่งบอกหลายๆอย่างที่องค์กรหรือตังตนของผู้บริหาร  ผมอยากจะกราบผู้บริหารช่วยกันทำให้องค์กรมีสนามกีฬาและเป็นเมืองที่น่าอยู่  เราจะได้มีผลผลิตที่พึงประสงค์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #habit
หมายเลขบันทึก: 30118เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กีฬาท่าทางสนุกดีนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
หายหน้าหายตา ไปไหนนะครับ อย่าลืมขึ้นบล็อกให้อ่านด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท