ศาสนามีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางการเมืองอย่างไร


ศาสนามีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางการเมืองอย่างไร

ศาสนามีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางการเมืองอย่างไร

                  พุทธศาสนาเป็นเสมือนรากเหง้าแห่งความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของชาติ ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรมและการเมือง การพิจารณาว่าศาสนามีความสัมพันธ์กับแนวคิดทางทางเมืองอย่างไรนั้น จะใช้หลักของศาสนาพุทธกับประเทศไทยเป็นหลัก           

                     หลักคำสอนของพุทธศาสนามีอยู่มากมายและจำแนกออกเป็นหลายหมวดหมู่ แต่ละหลักคำสอนแต่ละหมวดหมู่มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุ ผล และทางที่จะแก้ปัญหาแต่ละอย่าง นอกจากนี้ระดับของความลุ่มลึกและความกว้างไกลของแต่ละหลักคำสอน ยังมีจุดหมายเพื่อสนองตอบความต้องการที่แตกต่างกัน  ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  แนวคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตยต้องยึดหลักสำคัญ 5 ประการ คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน   เสรีภาพของบุคคล   ความเสมอภาค   หลักนิติธรรม และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง    หากผู้นำประเทศขาดซึ่งคุณธรรมไม่มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองและการใช้อำนาจทางการเมืองของผู้นำประเทศก็ต้องใช้วิธีการทุกรูปแบบที่จะทำให้ตนได้มาซึ่งอำนาจ แต่ในทางที่เป็นจริงแล้วในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้นำประเทศทุกคนมีการใช้หลักคำสอนทางศาสนามาประกอบการกำหนดนโยบาย และถือปฏิบัติน้อยบ้างมากมากบ้างตามแต่ลักษณะของผู้นำ

                     องค์พระประมุขของประเทศก็ยังใช้หลักศาสนาเป็นแนวมาปฏิบัติมาตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ ด้วยพระราชดำรัสที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม”  และยึดหลักทศพิศราชธรรม ในการดูแลบ้านเมืองในฐานะพระประมุข

                     ในส่วนของผู้นำประเทศ แนวคิดที่ประกาศออกมาทางการเมืองนั้นจะมีการสอดแทรกและยึดหลักธรรมของศาสนาควบคู่ไปด้วยเสมอตั้งแต่แนวนโยบายของรัฐบาล และการบริหารประเทศ เช่น เรื่องความซื่อสัตย์สุจริต หลักธรรมาภิบาล   ตามหลัก 5 ประการของแนวคิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  ในเรื่องของอำนาจอธิปไตยของปวงชน  เสรีภาพของบุคคล   ความเสมอภาค   หลักนิติธรรม และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ละข้อของการปฏิบัติจะมีแนวหลักคุณธรรมในทางศาสนาสอดแทรกในขั้นตอนการปฏิบัติที่มีความหมายอยู่ในตัวเอง

                     สรุปว่า ศาสนามีส่วนสำคัญในการสร้างหรือทำให้การเมืองมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมถ้าไม่มีหลักศาสนาเป็นแนวปฏิบัติแล้ว การเมืองก็จะเป็นเรื่องของการแก่งแย่งแต่ผลประโยชน์ที่ไม่รู้จบ ศาสนาจึงมีความสันพันธ์กับแนวคิดทางการเมืองตามที่กล่าวข้างต้น

หมายเลขบันทึก: 300936เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท