การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมหิศราธิบดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดย...นางพิชยา เหมพันธ์


 

ชื่อเรื่อง             การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

                        โรงเรียนมหิศราธิบดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา  เขต  1

ผู้ศึกษาค้นคว้า   นางพิชยา    เหมพันธ์

สถานที่             โรงเรียนมหิศราธิบดี

 ปีที่ศึกษา              ปีการศึกษา  2550

 

บทคัดย่อ

 

              การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนมหิศราธิบดี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา  เขต  1 เพื่อพัฒนาบทเรียนสำหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนมหิศราธิบดี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนผสมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งพิจารณา ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน ทดสอบหาค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์หาประสิทธิภาพโดยรวมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน    ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน คือ 80/80วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน        รายวิชาการโฆษณา  รหัสวิชา ง30285    โดยเปรียบเทียบจาก ค่าเฉลี่ยร้อยละของผลการเรียนสูงขึ้น ร้อยละของนักเรียน ที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ 2 ขึ้นไป มีจำนวนไม่น้อยกว่า 60% เพื่อเป็นการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอน ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ปีการศึกษา 2550ิธีการดำเนินการจัดทำและทดลองใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน       

 รายวิชาการโฆษณา     รหัสวิชา 30285   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมหิศราธิบดี จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2550   

 ผู้รายงานมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5  ส่วน  ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย

2. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล

4. การสร้างสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า  t  -  test  (Dependent   Samples)

              ผลการศึกษาค้นคว้า  พบว่า

  1.ผลต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน-หลังเรียน  รายวิชาการโฆษณา   รหัสวิชา  30285  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  1  ห้องเรียน  รวม  44  คน  ปรากฏว่า  คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  แสดงว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจำนวน  44  คน  ภายหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนการใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  สรุปว่า  นักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้สูงขึ้น

2.คะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนกระบวนการสอนกับผลลัพธ์ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  44  คน  หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ปรากฏว่าสื่อที่ผลิตขึ้นช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนเกินเกณฑ์ที่ตั้งไว้   (เกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80)

            3.ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อพฤติกรรมการสอนของครูได้ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นโดยรวม  เท่ากับ  4.29  จากระดับความคิดเห็น 5  ระดับ  สรุปว่า  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการสอนของครูโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  สังเกตจากคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง  3.76-5.00

             4.ประสิทธิภาพการเรียนการสอนรายวิชาการโฆษณา   รหัสวิชา  30285 โดยพิจารณาค่าเฉลี่ย          ร้อยละของคะแนนกระบวนการสอนกับผลลัพธ์สูงกว่าที่กำหนดไว้  แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ที่ผลิตขึ้น   มีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 300887เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2009 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่แน่ใจว่า

1. กลุ่มเป้าหมายได้ถูกกำหนดคุณสมบัติอย่างไร

2. จำนวน Sample ที่ศึกษานี้แคบเกินไป หรือ มีความหลากหลายมากพอหรือไม่

3. กระบวนการสอน pattern ได้กำหนดไว้อย่างไร/ระยะเวลาในการทดสอบประเมิน/วิชาที่ใช้ทดสอบ

4. ค่าคะแนนที่บอกว่า improved นั้นเป็นอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท