ประเพณีการแต่งงานของชาวมุสลิม


ชาวมุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ถือว่าการแต่งงาน หรือเรียกกันตามภาษามุสลิมว่า “พิธีนิกาห” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสูงส่งเหนือสัตว์โลกอื่นๆ และเชื่อว่าความผูกพันระหว่างชายหญิงเป็นความผูกพันกันด้วยชีวิต เพราะต่างก็เปรียบเหมือนวงกลมที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนและแยกจากกัน แต่ อัลลอฮ สุบหฯ บันดาลให้มาบรรจบกันจนกลายเป็นวงกลมที่สมบูรณ์

ประเพณีแต่งงานแบบมุสลิม

ประเพณีแต่งงานอิสลาม

                 ชาวมุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ถือว่าการแต่งงาน หรือเรียกกันตามภาษามุสลิมว่า “พิธีนิกาห” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสูงส่งเหนือสัตว์โลกอื่นๆ และเชื่อว่าความผูกพันระหว่างชายหญิงเป็นความผูกพันกันด้วยชีวิต เพราะต่างก็เปรียบเหมือนวงกลมที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนและแยกจากกัน แต่ อัลลอฮ สุบหฯ บันดาลให้มาบรรจบกันจนกลายเป็นวงกลมที่สมบูรณ์

          สำหรับเรื่องของการแต่งงานหรือประกอบพิธี “นิกาห” นั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

          1. การแต่งงานตามบทบัญญัติของศานา
          2. การแต่งงานตามประเพณีที่ปฏิบัติกัน

          ที่ต้องแบ่งเพราะ 2 ประเภทมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะการแต่งของชาวมุสลิมบางคนผสมผสานวัฒนธรรมชุมชนเข้าไป เช่น การแห่เจ้าสาวเข้ามัสยิดโดยมีต้นกล้วยต้นอ้อยนำหน้าขบวน หรือการมีขนมหวานอย่างการแต่งงานแบบไทยนั้น เป็นการแต่งงานแบบของมุสลิมที่ไม่ใช่อิสลาม เพราะการแต่งงานแบบอิสลามนั้นเป็นบทบัญญัติมากกว่า 1,400 ปี และห้ามเสริมเติมแต่งหลักการที่มีอยู่เป็นอย่างอื่น 

          หลักการแต่งงานของอิสลามมีเงื่อนไขหลักอยู่ 5 ข้อปฏิบัติ ซึ่งถ้าชายหญิงปฏิบัติเพียง 5 ข้อนี้ได้ ก็จะได้ชื่อว่าได้แต่งงานกันอย่างถูกต้อง เป็นสามีภรรยาตามหลักของอิสลามแล้วส่วนการจดทะเบียน สมรสนั้นเป็นเรื่องของสังคมและกฎหมายที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบเท่านั้น

เงื่อนไขหลัก 5 ข้อปฏิบัติ คือ

            1. เจ้าบ่าว         

           2. “วะลีย์” (ผู้ปกครองของเจ้าสาว) ซึ่งต้องเป็นผู้ปกครองทางด้านเชื้อสายและเป็นผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานกับเจ้าสาวได้ หมายถึงคุณพ่อของเจ้าสาว พี่ชายแท้ๆ ญาติสนิแท้ๆ                                

           3. พยาน 2 คน ต้องเป็นผู้ชายที่มีคุณธรรม คือเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา เช่นผู้ที่ทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง

          4. คำเสนอของ “วะลีย์”

          5. คำสนองของเจ้าบ่าว 

คำสอนก่อนแต่งงาน

          ก่อนทำพิธีนิกาห โต๊ะครู อาจารย์ บาบอ อุซตาซ ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้รู้ตามหลักศาสนาอิสลามที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ สถานที่ จะเป็นผู้ที่ทำพิธีนิกะหให้ ในหลักการของศาสนาอิสลามไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องทำที่ไหนใครสะดวกที่ไหนก็ทำที่นั่น

 ข้อห้าม

          สิ่งที่อิสลามห้ามใครทำและเป็นโทษมหันต์ คือ การเชื่อถือโชคลาง เพราะเป็นเรื่องผิดหลักศาสนาอย่างไม่ควรให้อภัย คนอิสลามจะแต่งงานกันเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งแต่งงานกันในวันที่คนอื่นไม่แต่งยิ่งดีเพราะเป็นการพิสูจน์ว่าเราไม่เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม อีกประการหนึ่งที่ชาวมุสลิมบางพื้นที่อาจลืมก็คือ การแต่งงานของอิสลามจะไม่มีการแห่ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเห็นมุสลิมแต่งงานแล้วมีการแห่ นั่นคือการแต่งงานของมุสลิมที่ไม่ใช้อิสลาม 

 รักกันแต่ต่างศาสนา

          อิสลามไม่อนุญาตให้คู่รักต่างศาสนาแต่งงานกัน แต่ถ้ารักกันจริงๆ ต้องเข้าไปเป็นอิสลามก่อน โดยการเรียนรู้ศาสนาให้เข้าใจถึงหลักของอิสลามโดยถ่องแท้จากผู้รู้ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าสู่เงื่อนไข 5 ข้อของการแต่งงานตามหลักอิสลาม และถ้าเจ้าสาวนับถือศาสนาอื่นก่อนมารับถือศาสนาอิสลาม หรือคนในครอบครัวยังคงนับถือศาสนาเดิมอยู่ ก่อนการแต่งงานจะต้องแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำหน้าที่ผู้ปกครองแทน ผู้แทนอาจเป็นครูที่สอนศาสนาให้ก็ได้ หรือเป็นผู้รู้ที่เคารพนับถือก็ได้

ประเพณีแต่งงานแบบมุสลิม

 รายละเอียดของการนิกาหตามหลักอิสลาม

          ประเพณีการแต่งงานในศาสนาอิสลาม เริ่มจากการสู่ขอ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสู่ขอสตรีที่สามารถแต่งงานได้ด้วยเท่านั้น หมายถึงหญิงที่ไม่ได้อยู่ระหว่าง อิดดะฮ (อยู่ในช่วงสามเดือนแรกของการหย่าร้าง) หรือหญิงสามีตาย (ซึ่งต้องรอจนครบสี่เดือนกับสิบวันเสียก่อนจึงจะสู่ขอได้) เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงและกำหนด “มะฮัร” คือเงินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง (ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องและเงินนั้นจะเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องหาวันแต่งงานตามสะดวก วันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องยกของหมั้นหรือมะฮัรมาที่บ้านเจ้าสาว
หรือนัดวะลีย์และพยานทั้งสองฝ่ายไปเจอกันที่มัสยิดก็ได้

 คำกล่าวที่ใช้ในพิธีนิกาห

          คำเสนอของวะลีย์ คือ คำกล่าวของผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาวเพื่อให้เจ้าบ่าวยอมรับการแต่งงานครั้งนี้ มีหลักใหญ่ใจความว่า

          “ฉันนิกาฮท่าน (ชื่อเจ้าบ่าว) กับลูกสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรที่ตกลงกันไว้” 

          เมื่อวะลีย์กล่าวคำเสนอจบแล้ว เจ้าบ่าวต้องกล่าวคำสนองว่า 

          “ผมรับการนิกาหกับนางสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรตามที่ตกลงไว้” 

          หลังจากนั้นจะมีการอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน (บทที่ว่าด้วยการครองเรือน) ให้บ่าวสาวฟัง เพียงแค่นี้ก็เสร็จสมบูรณ์

 การเลี้ยงฉลองการแต่งงาน

          หลังแต่งงานสามารถจัดงานเลี้ยงฉลองได้ เรียกว่า “วะลีมะฮ” ซึ่งจัดเลี้ยงที่บ้าน สโมสร หรือโรงแรมก็ได้ ตามสะดวก การเลี้ยงฉลองอาจไม่ต้องทำในวันเดียวกับวันนิกาหก็ได้ แต่การเลี้ยงฉลองนั้นต้องไม่เกิน 2 วัน เพราะอิสลามเคร่งครัด ในเรื่องของงานเลี้ยงที่ฟุ่มเฟือย

          โดยมีคำกล่าวไว้ว่า “งานเลี้ยงที่เลวที่สุดคืองานเลี้ยงพิธีนิกาห และเลี้ยงเฉพาะคนรวย” เพราะศาสนาอิสลามเชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ

 เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอิสลาม

          - มุสลิมใหม่เรียกว่า มุอัลลัฟ
          - เมื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามแล้ว ไปงานศพได้ แต่ห้ามร่วมพิธี 
          - อิสลามไม่ใช่เพียงการนับถือ แต่คือการปฏิบัติทุกอย่างในชีวิต
          - มุสลิมที่ดีนอกจากไม่รับประทานหมู ก็ต้องไม่ดื่มเหล้าและทำละหมาด 5 เวลา มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ไม่ล่วงละเมิดจับมือสาว 
          - สตรีที่ดีที่สุดคือสตรีที่เรียกมะฮัร (จากฝ่ายชาย) น้อยที่สุด
          - หลังแต่งงาน “มะฮัร” จะเป็นของผู้หญิงครึ่งหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้อยู่ด้วยกันโดยพฤตินัยแล้วจึงเป็นของฝ่ายหญิงทั้งหมด แต่หากหลังพิธีแต่งงานแล้วคู่สาวมิได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากันจริงๆ มะฮัรก็จะตกเป็นของผู้หญิงเพียงครึ่งเดียว

 

ข้อมูลจาก
centerwedding.com/

 

หมายเลขบันทึก: 300487เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ครูอ้อย  เคยไปร่วมพิธีแต่งงาน ของลูกเพื่อนครูค่ะ  แต่งตัวสวยมากค่ะ  จนอยากเป็นเจ้าสาวอีกค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับคุณ ครูอ้อย แซ่เฮ ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจ ผมว่าเป็นประเพณีที่สวยงานครับ

 อยากแต่งมั่งอ่ะ

 ขอตัวไปหาเจ้าบ่าวก่อนนะ

สวัสดีครับ คุณครู mommam จะไปหาตอนนี้เลยเหรอครับเจ้าบ่าว แล้วเตรียมอุปกรณ์ไปด้วยยัง ฮิ ฮิ โชคดีกับการค้นหาขอรับ ขอบคุณครับ

รบกวนขอสอบถามนะคะ

ดิฉันเป็นชาวพุทธ อยู่ในประทศไทย แต่ดิฉันรักกับชายชาวมุสลิม นิกายสุหนี่ ที่อิสตันบูล ประเทศตุรกี ดิฉันยังสับสนและวางตัวไม่ถูก ตัวเขาเป็นบุคคลค่อนข้างสาธารณะ

สอบถามค่ะ...การนเรื่องขอวลี...ถ้าบิดาของหนุเสียชีวิตแล้วนั้น..ให้ขอวลีจากพี่ชายแม่ซึ่งเปนอาได้ไหมค่ะหรือว่ายังไงรบกวนชี้แจงให้ดวยค่ะ..ขอบคุนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท