ครูสมใจ
ครู ครูสมใจ ครูพณิชยการ เอื้อความดี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (หน่วยที่ 10) ต่อ


ภาษีเงินได้นิติบุคคล

3.3  ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

3.3.1  ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย การเสียภาษีกรณีนี้กฎหมายให้ เสียโดยวิธีหักภาษี คือ ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามวิธีการและอัตราดังหัวข้อถัดไป ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็ตาม ภาษีที่หักไว้ในกรณีนี้เป็นภาษีที่เสียเด็ดขาดจึงเสร็จสิ้นเป็นรายครั้งไปถ้ากรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งเป็นสาขาของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีตามฐานนี้เพราะผู้รับเงินได้ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้แต่อย่างใด

3.3.2  เงินได้ที่ต้องหักภาษี เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งผู้จ่ายมีหน้าที่ต้อง หักภาษี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) 

1)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับ ทำงานให้ (ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเงินกู้ยืม ในทางปฏิบัติถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8)

2)    เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์  ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล

3)    เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ได้แก่เงินได้ที่เป็น

3.1)    ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

กรณีได้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องเสีย ภาษีฐานนี้ (มาตรา 70 วรรค 2 )

3.2)    เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือกองทุนรวม

3.3)    เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นส่วนในบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

3.4)   เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน

3.5)    เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้ รวมกัน

3.6)   ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรัช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

3.7)    ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น  หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

4)    เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน

5)    เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ             วิชากฎหมาย การประกอบ โรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

6)    วิธีการคำนวณหักภาษีฐานนี้ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแยกออก ตามประเภทของเงินได้ ดังนี้

6.1)    เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(2)(3)(4)(5) และ (6) นอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ดังจะกล่าวต่อไปใน 6.2) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15 

6.2)    เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ให้คำนวณหักภาษี ในอัตราร้อยละ 10 

การยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับบริษัทต่างประเทศข้างต้น ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินแบบแสดงรายการที่ยื่น ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.54 (ถ้าไม่มี การส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)

3.4  ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ

3.4.1  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจำหน่ายเงินกำไรหรือเงิน ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่าย

การจำหน่ายเงินกำไรนั้นให้หมายความรวมถึง

1)  การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร จากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใดไปชำระหนี้ หรือหักกลบลบหนี้หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชี ของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ

2)  ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน 1) แต่ได้มีการขออนุญาตซื้อและโอนเงินตรา ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไป ต่างประเทศ หรือ

3)   การปฏิบัติอย่างอื่นอันก่อให้เกิดผลตาม 1) หรือ 2)

3.4.2 อัตราภาษีและการคำนวณภาษีวิธีการเสียภาษีการจำหน่ายเงินกำไรไปต่าประเทศนี้ ให้เสียภาษีโดยหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายในอัตราร้อยละ 10

3.4.3 การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่น ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยื่นทุกครั้งที่มีการจำหน่ายเงิน กำไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเก็บกำไรไว้ในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีฐานนี้)

4.     อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

บทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดอัตราส่วนสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังนี้

(ก)              ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535 )

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 )

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 )

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 )

( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 475) พ.ศ. 2551 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.62/2539 )

 

 

ร้อยละ 30

 

(ข)                 ภาษีตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (ค)(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 377) พ.ศ.2544 )

ร้อยละ 15

(ค)                  ภาษีตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข)

ร้อยละ 10

(ง)            ภาษีตามมาตรา 70 ทวิ

ร้อยละ 10

(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 เม.ย. 2535 เป็นต้นไป) (ดูพระราชกฤษฏีกา (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537)

(จ)               ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13)

ร้อยละ 10"

(พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)(ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ.2535)

 

4.1  อัตราภาษีเงินได้คำนวณกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยทั่วไป  ร้อยละ 30 อย่างไรก็ดีมีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากกำไรสุทธิใน   บางกรณีดังนี้

4.1.1  ลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 10

1)    บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกำไรสุทธิส่วนที่ได้จาก การประกอบกิจการวิเทศธนกิจ

2)    สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค เฉพาะรายได้ดังต่อไปนี้

2.1)  ดอกเบี้ยที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจในเครือสาขาต่างประเทศของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ทั้งนี้เฉพาะดอกเบี้ยจากการกู้ยืมที่สำนักงานปฏิบัติการเพื่อให้กู้ยืมต่อไป

2.2)    รายได้จากการให้บริการของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคแก่รัฐวิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และรายได้ค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานฯ เฉพาะค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาการเทคโนโลยีของสำนักงานที่กระทำขึ้นในประเทศไทย

4.1.2  ลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 25 ตามเงื่อนไขดังนี้

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ. 2544 ได้ลดอัตราภาษีให้บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อนวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2544 ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทมีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2545

1)   บริษัทนำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ได้รับการลดภาษีเหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ

2)   บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มิใช่ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ลดเหลืออัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ

4.1.3 ลดอัตราภาษีให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนขนาดกลางและขนาดเล็กตามเงื่อนไขดังนี้        

พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 394) พ.ศ. 2545 ได้ลดอัตราภาษีเงินได้ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ดังนี้

1.  ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

2. ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท

3. อัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุในข้อ 3 ร้อยละ 12

4. อัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) ร้อยละ 10

5. อัตราภาษีเงินได้ตามมาตร 70 ทวิ ร้อยละ 10

6. อัตราภาษีเงินได้จากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13) ร้อยละ 10

4.2  การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิและการบันทึกบัญชี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิจะต้องคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลและยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปีละ 2 ครั้งดังนี้

หมายเลขบันทึก: 300472เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แว่นแก้ว ชัยอาราม

ถ้ามีโจทย์คำนวณภาษี แล้วอัตราภาษีเปลี่ยน ใช้หลักการเหมือนเดิมใช่มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท