งานการเงิน/พัสดุ/บริหารบุคคล


งานการเงิน/พัสดุ/บริหารบุคคล

โครงการอบรมผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชี พัสดุ

การควบคุมภายในละการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

วันที่  6-8  กันยายน  2552

1.  การดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติ

                  พัสดุ  คือ  วัสดุ   ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

                  วัสดุ  - วัสดุสิ้นเปลือง โดยสภาพใช้แล้วหมดไปหรือไม่คงสภาพเดิม

                            -วัสดุถาวร  สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีราคาต่อหน่วยหรือ ต่อชุดไม่เกิน 5,000  บาท

                ครุภัณฑ์  –สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร

                                -มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกิน  5,000  บาท

                ครุภัณฑ์ที่มีราคาต่ำกว่า  5,000  บาท   เรียกว่า  ครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์

                  ที่ดิน       -ที่ดินที่มีอาณาเขตแน่นอน

               สิ่งก่อสร้าง  -สิ่งปลูกสร้าง ที่ติดดิน เคลื่อนย้ายไม่ได้นอกจากรื้อถอน

  วิธีการซื้อ/จ้าง  

  -โดยใช้วงเงินกำหนดวิธีการ

  1. วิธีตกลงราคา                ครั้งหนึ่งไม่เกิน  1  แสนบาท
  2. วิธีสอบราคา                 ครั้งหนึ่งเกิน 1 แสน ไม่เกิน  2  ล้านบาท
  3. วิธีประกวดราคา          ครั้งหนึ่งเกิน  2  ล้านบาท

 -โดยใช้วงเงินและเงื่อนไขกำหนดวิธีการ

  1. วิธีพิเศษ                         ครั้งหนึ่งเกิน  1  แสนบาท  เงื่อนไข อย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 23 ,24
  2. วิธีกรณีพิเศษ               

   -อื่น ๆ

  6. การจัดซื้อ/จ้างโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์

 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อ/จ้าง

                1. เจ้าหน้าที่พัสดุ                                 2. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ

                3. หัวหน้าส่วนราชการ                      4. ผู้สั่งซื้อ/จ้าง

                5.คณะกรรมการต่าง ๆ                        6.ผู้ควบคุมงาน

                7. ผู้ค้า

 องค์ประกอบของคณะกรรมการ

                -ประธาน                              1  คน

                -กรรมการอย่างน้อย            2  คน

แต่งตั้งจากข้าราชการ  พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ

ข้อห้ามในการแต่งตั้งกรรมการ

  1. ซื้อ/จ้าง ครั้งเดียวกัน  ห้ามแต่งตั้ง  

       -กรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผลประกวดราคา

       -กรรมการเปิดซองสอบราคา/กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ

  2.  ซื้อ/จ้าง ไม่เกิน  10,000  บาท

       -ห้ามแต่งตั้งผู้จัดซื้อ/จ้าง เป็นผู้ตรวจรับพัสดุ

ข้อห้ามสำหรับผู้ปฏิบัติงานพัสดุ

                -ห้ามระบุยี่ห้อสิ่งของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด

                -ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งหรือผู้ขายรายหนึ่งโดยเฉพาะ

                -ห้ามมิให้กระทำการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง

ข้อควรระวัง

                -หากส่วนราชการได้รับงบประมาณ   2,000,000    บาท

                -ต้องจัดหาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

 2. ระเบียบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบเงินบำรุงฯ ฉบับใหม่ และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการ เบิกจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่

                -หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน  (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2548  ( ค่าตอบแทนเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน)

                  -หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน (ฉบับที่ 4)  พ.ศ. 2551  (ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย )

                  -หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน        (ฉบับที่ 5)  พ.ศ.2552   (ค่าตอบแทนปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ)

                    -หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน (ฉบับที่ 6)   พ.ศ. 2552  (ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย)

  1.  แบ่งตามระยะเวลาการปฏิบัติงาน  2  กลุ่ม
    1. กลุ่มแรกปฏิบัติงาน 1-3 ปี
    2. กลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 3  ขึ้นไป
    3. แบ่งตามวุฒิการศึกษาตามระดับตำแหน่งของสายงานที่ปฏิบัติงาน คือ

     -กลุ่มสายงานในระดับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป

     -กลุ่มสายงานในระดับวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญา

 หลักเกณฑ์ ในระเบียบค่าตอบแทน ที่ถือเป็นแนวทางปฎิบัติ ดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีวันทำการไม่น้อยกว่า 15 วันทำการในเดือนที่จะเบิกจ่ายนั้น กรณีมีมติคณะรัฐมนตรีให้หยุดราชการเพิ่มเติมจากวันหยุดราชการ วันหยุดตามประเพณีและวันหยุดชดเชยตามปกติประจำปีในเดือนใด ให้นำวันหยุดราชการตามมติคณะรัฐมนตรีในเดือนนั้น มานับรวมเป็นวันทำการในเดือนที่เบิกได้
  2. ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ตำแหน่งต้องอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย  ซึ่งจะมีสิทธิรับค่าตอบแทน
  3. การนับระยะเวลาการปฎิบัติงาน ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชุมชนหรือหน่วยบริการ
  4. แพทย์ที่บรรจุเข้ารับราชการในปีแรกและต้องฝึกเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลชุมชน ให้ได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในระยะเวลาที่ฝึกเพิ่มพูนทักษะที่โรงพยาบาลชุมชนได้
  5. เจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับค่าตอบแทน หมายถึง ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการหรือจ้างมาปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีชื่อตำแหน่งข้าราชการ
  6. เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิรับค่าตอบแทน ฉบับที่ 4  แล้ว  ไม่มีสิทธิรับค่าตอบแทน ฉบับที่ 6
  7. การเบิกค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน  หน่วยงานสามารถเบิกตามระเบียบเงินบำรุง หรือจะเบิกตามระเบียบกระทรวงการคลัง แล้วแต่หน่วยงาน

 

 3.       การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง

                ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบต่อการดำเนินงานไม่เป็นตามเป้าประสงค์ขององค์กร

ประเภทความเสี่ยง

  1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับยุทธศาสตร์
  2. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการ
  3. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน
  4. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในด้านความปลอดภัยจากอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

               ตัวอย่างความเสี่ยง

-การบันทึกบัญชีผิดพลาด

-เกิดการทุจริตในองค์กร

-การสูญเสียทรัพยากร

-รายงานการเงินไม่น่าเชื่อถือ

-การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด

-การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

-การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

-การตัดสินใจที่ผิดพลาด

     การควบคุมภายใน

                 -กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือ การทุจริตในหน่วยรับตรวจด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี

            4. การประเมินค่างานและจัดทำสมรรถะ

                     ปัจจุบันระบบข้าราชการได้ยกเลิกระบบ (Common level)  และเข้าสู่ระบบใหม่  ในวันที่  11  ธันวาคม   2551 

          หลักการของ พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

  1. มุ่งเน้นประสิทธิภาพของคน/วัดศักยภาพของแต่ละคน
  2. จะกระตุ้นให้ข้าราชการมุ่งพัฒนาตนเองและขีดความสามารถ
  3. ประชาชนก็จะได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ/ตัวข้าราชการมีขวัญกำลังใจ

ระบบจำแนกตำแหน่ง

                1.  ทั่วไป                มี   4   ระดับ

                                        1. ระดับปฏิบัติงาน       (1-4)   

                                        2. ระดับชำนาญงาน     (5-6)

                                        3.  ระดับอาวุโส    (7-8)

                                        4.  ทักษะพิเศษ      (9)

                 ประเภททั่วไป    ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบริหาร  วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญา 

                   -เจ้าพนักงานธุรการ    เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี  เจ้าพนักงานพัสดุ

                   -เจ้าพนักงานเภสัชกรรม   เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

                   -เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์    พยาบาลเทคนิค

                   -เจ้าพนักงานทันตกรรม

               2.  วิชาการ             มี   5   ระดับ

                                             1. ระดับปฏิบัติการ         (3-5)    

                                             2. ระดับชำนาญการ         (6-7)

                                             3. ระดับชำนาญการพิเศษ    (8)

                                             4. ระดับเชี่ยวชาญ            (9)

                                             5. ระดับทรงคุณวุฒิ    (10-11)

                  ประเภทวิชาการ   วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี

                                         -แพทย์   ทันตแพทย์   เภสัชกร

                                         -พยาบาลวิชาชีพ   

                                         -นักวิชาการสาธารณสุข  

                                         -นักจัดการงานทั่วไป  นักวิชาการการเงินและบัญชี

                 3. อำนวยการ       มี  2  ระดับ

                                         1. ระดับต้น

                                         2. ระดับสูง

                4. บริหาร               มี 2 ระดับ

                                          1. ระดับต้น

                                          2.  ระดับสูง

 การประเมินผลการปฏิบัติงาน        มี    2   วิธี

                1. วิธีประเมินแบบสมรรถนะ   (COMPETENCY)

                2. วิธีประเมินแบบ KPI และวิธีการกำหนดเป้าหมาย

1.วิธีประเมินแบบสมรรถนะ (COMPETENCY)  มี  หลัก  5 ด้าน

                1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์

                2. บริการที่ดี

                3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ

                4. จริยธรรม

                5. ความร่วมแรงร่วมใจ

แบบประเมินสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้กำหนด ดูได้จาก Web  ของ  ก.พ.

 

2. วิธีประเมินแบบ KPI และวิธีการกำหนดเป้าหมาย

          -เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์หลัก ๆ ที่จะได้จากการทำงานของแต่ละตำแหน่ง

 

การให้คะแนนประเมินผล อยู่ที่หัวหน้าส่วนราชการ

-  5   ระดับ      5   4    3    2   1

- %    แบ่ง       70  และ  30  

 

 

มะลิเครือ/24/08/52

คำสำคัญ (Tags): #การเงินพัสดุ
หมายเลขบันทึก: 300440เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เหมือนอ่านตำราเลย ข้อมูลเยอะดี แต่จำไม่ค่อยได้ หวังว่าบริหารจะจำได้ ยังไงก็ขยันเปิดดูละกัน ดีมากๆครับ / boss

ไม่มีเม้นท์อะไร เข้ามาให้กำลังใจ ได้ความรู้ดีคะ...วิลาวรรณ์

อ่านแล้วก็ได้ความรู้ เพิ่มครับ แต่คงจำได้ไม่หมด

เวลาจะทำอะไรก็คงต้องไปพึ่ง บริหารเพื่อความแน่นอนครับ

อนุเทพ

มีข้อสงสัยสอบถามที่ฝ่ายบริหารได้

และถ้ามีระเบียบใหม่ ๆ เพิ่มเติมจะนำมาให้อ่านอีก

ขอบคุณทุกกำลังใจคะ

มะลิเครือ 28/09/52

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท