เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ชื่อเรื่อง       :    การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ

                       เรียนรู้โรงเรียนบ้านกุยเหนือ

ชื่อผู้วิจัย      :  นางสาวอัญชลี  นามสนธิ์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุยเหนือ

                     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 

ปีที่ประเมิน :   2552

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

              การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านกุยเหนือ  มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประเด็นบริบท  ปัจจัย  กระบวนการและผลผลิตของโครงการ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน  111 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน 45  คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ผู้บริหารและครู จำนวน 9  คนโดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง  ผู้ปกครอง จำนวน  45  คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่ครูและผู้บริหาร จำนวน 7  คน เป็นกลุ่มตัวอย่างและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม  จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้  1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  2)  แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยก่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการระหว่างการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  4) แบบสอบถามคุณลักษณะของผู้เรียนมาตรฐานที่ 2  ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  5) แบบสอบถามระดับคุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาตรฐานที่  16   สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ  6) แบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  7) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านประโยชน์ ที่เกิดขึ้นต่อนักเรียนและชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ( )  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) และการทดสอบค่าที  (t-test)

 สรุปผลการประเมิน

              1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4  ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมากที่สุด  ความต้องการจำเป็นของโครงการ  ความเป็นไปได้ของโครงการ   และความสอดคล้องของกิจกรรม  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมาก

              2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการ ในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด ได้แก่  ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนา  ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด   ผู้บริหารและครู   งบประมาณและทรัพยากรและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมาก

              3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการของโครงการ ในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4  ตัวชี้วัด ได้แก่ การบริหารโครงการ การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน   ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในการปฏิบัติงาน  และความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมาก

              4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ ในภาพรวม พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4  ตัวชี้วัด ได้แก่  คุณลักษณะของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  คุณภาพของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 16  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ  ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อนักเรียนและชุมชน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอยู่ในระดับมาก

              5. ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่

เอื้อต่อการเรียนรู้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก  ประเด็นการประเมิน อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ประเด็น คือ ประเด็นบริบทของโครงการ ประเด็นปัจจัยของโครงการ  ประเด็นกระบวนการของโครงการ และประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยตัวชี้วัด 16 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก  14  ตัวชี้วัด

 

 

หมายเลขบันทึก: 300438เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท