ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

ตรวจข้อสอบวิชาการเงินและการธนาคารเสร็จแล้วครับ


วิชาการเงินและการธนาคาร

ผมได้พยายามอ่านลายมือของทุกคนอย่างตั้งใจ  หลายคนเขียนค่อนข้างดีและลายมือก็อ่านง่าย  ส่วนอีกหลายคนลายมืออ่านยากมาก  ไม่มีความตั้งใจเขียนสักเท่าไรเลย  และสิ่งที่เขียนมาก็ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ถามเลย  คิดว่าคงต้องปรับปรุงการเขียน  การใช้ภาษา  และที่สำคัญ  ต้องปรับปรุงหัวใจให้มีความเป็นนักสู้  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  สิ่งที่ผมไม่ชอบที่สุด ๆ ๆ ๆ คือการทุจริตแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม  เราเรียนด้านการเงิน  ถ้ามีใจใฝ่ในทางที่ไม่ถูกแล้ว ผมเกรงว่าอีกหน่อยพอเห็นเงิน  ประโยชน์ ก็อยากได้จนทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา  หวังว่าคงไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้นอีกนะ

   สำหรับใครที่คิดว่ายังอยากได้คะแนนเพิ่ม  เข้ามาใน BLOG เดิมบ่อย ๆ แสดงความเห็นมาอีกนะ  เข้าใจมั๊ย  ความเห็นไม่ใช่คำถาม  บอกว่าประมาณ A4  และใส่เบอร์ติดต่อกลับด้วย  ผมว่าทุกคนคงเข้าใจนะครับ

                                             ผ.ศ. กฤษฎา 

หมายเลขบันทึก: 300288เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้มาทำงานค่ะ

แต่ว่างมากเลยค่ะ

ขอแสดงความเห็นเอาคะแนนหน่อยนะคะ

ระบบการเงินไทย ควรวางใจไว้ที่ไหน?

การยอมรับความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ระบบการเงินจะเป็นหัวใจของความเป็นไปของทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการค้าเสรีไร้พรมแดน พลังอิทธิพลของเงินได้เพิ่มขยายจากการมี "นวัตกรรมการเงิน" มากมาย กับอีกเหตุผลหนึ่งคือ "ระบบการเงิน" ยังคงเป็นต้นตำรับของทุนแท้จริง ที่มีบทบาทฐานะสำคัญเหนือกว่าทุนชนิดอื่น รวมไปถึงทุนมนุษย์ด้วย

คุณลักษณะที่ว่านี้ ตรงกับคำที่ผมเคยตั้งชื่อเรื่องไว้ว่า "เงินคือข้า ใครอย่าแตะ" ซึ่งสะท้อนถึงพลังอำนาจของเงินที่มีเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สายสัมพันธ์ฉันท์ญาติก็ไม่เว้น

เรื่องของคนการเงินสามคนที่จะเขียนถึงนี้ น่าจะเรียกชื่อเรื่องว่า “สามคน ยลตามช่อง” ซึ่งหมายถึงผู้บริหารของสถาบันที่สำคัญของระบบการเงินของประเทศไทย 3 เส้า คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง กับธนาคารพาณิชย์ โดยในช่วงที่ผ่านมา ก่อนการเลือกตั้งได้มีข่าวน่าสนใจออกมาต่อเนื่องกันหลายเรื่อง คือ

เรื่องแรก กระทรวงการคลังจะแยกอำนาจการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินออกมาจากแบงก์ชาติ เพื่อหวังรวมศูนย์การควบคุมสถาบันการเงินทั้งระบบไว้ที่ กระทรวงการคลังในแบบ “องค์กรพิเศษ” เพื่อความเป็นเอกภาพ โดยจะให้ ธปท.ทำแต่ด้านนโยบายการเงิน พร้อมกับที่ตามติดกันมาคือ คำกล่าวหาที่ค่อนข้างแรงจากคนในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คือที่ผ่านมาประสิทธิภาพการคุมของแบงก์ชาติไม่ดีพอ กับปัญหาคนแบงก์ชาติจะเก่งเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค แต่ขาดความชำนาญทั้งในเชิงธุรกิจ การเงิน บัญชี และกฎหมาย

ถือเป็นเรื่องท้าทายต่อคนแบงก์ชาติโดยตรง ในฐานะสถาบันอันทรงเกียรติที่สุดตั้งแต่ในอดีตผู้ว่าการ ธปท. ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในท่ามกลางรัฐบาลทหาร แต่จนถึงปัจจุบัน เรื่องแนวคิดการตั้งองค์กรพิเศษคุมแบงก์รับภัยเปิดเสรีนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ซึ่งเป็นเจ้าสำนักปัจจุบัน “เก่ง 1” ระดับมือทอง ( ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) ยังคงสงวนตัวไม่ได้ออกมาแสดงความเห็น

เรื่องที่สองคือ ข่าว รมว.คลัง (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) แวะเยี่ยม “เก่ง 2” ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกสิกรไทย (คุณบัณฑูร ล่ำซำ) พร้อมคำหวาน ชมถึงความเข้มแข็งและเจริญก้าวหน้าของธนาคารกสิกรไทยใน 4 ที่ผ่านมา ตามด้วยการชี้ชวนให้ธนาคารกสิกรไทยให้มาเป็น “คู่หู” กับกระทรวงการคลังซ่อมสร้างประเทศในอนาคต โดยขอให้มาช่วยกันพัฒนาการศึกษา ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่หรือแปลกอะไรเลยสำหรับคนเก่งบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์อย่างคุณบัณฑูร จึงใช้วิธีเน้นย้ำทบทวนบรรยากาศของเงื่อนไขใหม่กับสิ่งที่ต้องพัฒนาขึ้นมาให้เข้มแข็งและสู้แข่งขันได้ ซึ่งถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องทำใน 4 ปีหลังเลือกตั้ง

เรื่องนี้ทำเอาคนคิดไปต่างๆ ว่านี่คือ การทอดสะพานให้ หรือกำลังคิดการใหญ่ หรืออะไรกันแน่ แต่ที่จะไม่เกิดขึ้นแน่คือ คนเก่งอย่างคนแบงก์พาณิชย์ที่ “เก่งบริหารจัดการ” จะไม่มีวันหลงกล ให้กับนักเศรษฐศาสตร์การตลาดแน่

กรณีการคิดแยกอำนาจกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินมาไว้ที่กระทรวงการคลัง ได้มีการคิดมานานโดยมีการสัมมนาระดมความคิดมามาก เหตุผลสนับสนุนให้ตัดโอนออกไปนั้นมีหลายข้อ คือเกิดจากข้อผิดพลาดการตรวจสอบในอดีต จนทำให้เกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่แตกทางหนึ่ง กับความหวังให้รวมงานไว้ที่กระทรวงการคลัง เพื่อเอกภาพอีกทางหนึ่ง กับที่เพิ่มเติมเข้ามา คือจะได้ควบคุมกำกับทั้งสถาบันการเงินทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้รู้เท่าทันกับโลกเศรษฐกิจการเงินยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไวมาก กับเพื่อให้สถาบันการเงินเอกชน รวมถึง Non Bank ให้สามารถเสริมต่อการทำงานตามนโยบายพัฒนาประเทศของรัฐบาล

หากย้อนกลับไปดูที่ผ่านมา แบงก์ชาติคือหน่วยงานสมองที่สำคัญของประเทศที่ธำรงความเป็นกลางมากที่สุด และเคยมีบทบาทขยาย ที่ผมชอบจะชมเชยให้คนรุ่นหลังได้ทราบกัน คือ ในสมัยของ ดร.ป๋วยซึ่งการกำกับสถาบันการเงินได้ดำเนินไปได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ จากผู้ว่าการ ธปท.ที่ได้ทำตัวเป็น “ผู้ใหญ่” ที่ดี (ทั้งซื่อสัตย์และสามารถ) ด้วยบุคลิกความเป็นผู้นำที่มุ่งสร้างจิตสำนึกทางอาชีพให้เกิดในตัวนายแบงก์ พร้อมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี จนได้รับความเชื่อถือ

เหนือกว่านั้น ในทางบริหารยังได้ “สร้างคน” (นักเรียนทุนแบงก์ชาติชั้นหัวกะทิ) ไว้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้ไม่มีข้อสงสัยในการมอบความไว้วางใจให้ควบคุมดูแลธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด อันเป็นระบบสำคัญ และอยู่เหนือระบบเศรษฐกิจอื่นทั้งหมด

จุดเด่นที่เป็นส่วนเกินคือ แบงก์ชาติสมัยนั้นยังให้ความเห็นไปไกลถึงระบบอื่น โดยมีคำเตือนพร้อมคำแนะให้ตระหนักถึงปัญหาสังคมกับปัญหาการศึกษา พร้อมให้ข้อเสนอแนะทางแก้ แต่ในยุคต่อมาต้องยอมรับเช่นกันว่า แบงก์ชาติภายใต้ผู้นำรุ่นใหม่มีการศึกษาดี แต่กลับมีจุดอ่อนไม่อาจพัฒนาสืบทอดแนวนโยบายเดิมกับสร้างสิ่งใหม่ให้ตามทันเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงได้

ผมไม่อยากเอ่ยถึงปัญหาความซื่อสัตย์ จริยธรรมและคุณธรรม ซึ่งไม่ชัดเจน แต่อยากพูดถึงสิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นจุดอ่อนคือ “ขาดการพัฒนานักบริหารกับทักษะในด้านการจัดการ” ซึ่งจำเป็นไม่น้อยกว่าด้านความรู้ทางการเงินในโลกการเงินที่เริ่มเปลี่ยนไว

ขณะที่ภาคเอกชน คือธนาคารพาณิชย์ได้มีการพัฒนาการบริหารจัดการมากนั้น จุดแข็งของบุคลากร และงานที่ออกมาจากแบงก์ชาติ กลับไม่เปลี่ยนจากเดิม คือ มีคนเก่งและทำงานเน้นไปในสองด้าน คือ เศรษฐศาสตร์การเงินมหภาค โดยคนเก่งเศรษฐศาสตร์ กับตรวจสอบบัญชี แต่ไม่มีคนเข้าใจการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ภายใต้แนวโน้มการเกิดวิกฤติอ่อนๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันขึ้นสูงกับเริ่มมีนวัตกรรมการเงินกับไอที ที่ส่งผลต่อการต้นทุน การทำธุรกรรมบริการกับรูปการแข่งขัน

ส่งผลให้งานกำกับตรวจสอบกลายเป็นงานไล่หลังเหตุการณ์ และตามไม่ทันความไวของโลกยุคใหม่ “ช่องว่างการกำกับและตรวจสอบ” จึงเกิดขึ้น และต้องถือว่าไม่เป็นการกล่าวหามากไป ที่ว่าการเกิดวิกฤติทางการเงินปี 2540 เป็นสิ่งที่มีการเตือนมานานแล้ว ที่น่าเสียดายคือ ความไม่เข้าใจ

ไม่อยากกล่าวหาว่า ขาดความรู้ แต่เห็นชัดว่าไม่มีความรอบรู้ กับการรู้ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ตรงตามคำพูดที่ว่า “อยู่ในหอคอยงาช้าง” กับไม่เปิดกว้างสัมผัสกับโลกที่เป็นจริง ทำให้แบงก์ชาติกลายเป็นจำเลยสังคมในวิกฤติครั้งนั้น จนขาดแนวร่วมที่จะออกมาโต้แย้งให้หากจะถูกลดแยกอำนาจในครั้งนี้

แนวคิดแยกอำนาจกำกับตรวจสอบไปรวมไว้ที่กระทรวงการคลัง ผมเองไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้วย 3 เหตุผล คือ

1. แน่ใจหรือที่จะเชื่อตามคำกล่าวอ้างว่า คนกระทรวงการคลังเก่งกว่าคนแบงก์ชาติ ซึ่งผมไม่เชื่อ

2. การอยู่ใกล้ชิดการเมืองที่ยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ย่อมเสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ แม้โดยการเสี่ยงแบบไม่ได้ตั้งใจก็ตาม

3. ระบบใหญ่ของการเมืองไทยยังไม่มีธรรมาภิบาลที่ดีเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ความกลัวนี้ไม่ต่างจากเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่จะเปิดช่องให้เอกชนเข้าครองอำนาจเหนือรัฐวิสากิจ แทนที่รัฐที่ยังไม่เข้มแข็ง ภายใต้ระบบการเมืองที่ยังพัฒนาไม่เข้าที่

เรื่องการแยกอำนาจนี้ แม้ รมว.คลังจะออกมาพูดว่า ยังต้องใช้เวลาและรอ พ.ร.บ.สถาบันการเงินฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้ก่อนก็ตาม ก็ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ที่ท้าทายการคิดและติดตามต่อ

ในเรื่องการชักชวนธนาคารเอกชนเป็น “คู่หูซ่อมสร้าง” ฟังดูเป็นยุทธศาสตร์ที่ดี ไม่ควรถือเขาถือเรา แต่อย่างที่ผมบอกไว้ข้างต้นว่า “เงินคือข้า ใครอย่าแตะ หรือไม่เข้าใครออกใคร” เชื่อว่าจะทำให้นายแบงก์รู้ดีว่า ควรจะเข้าไปร่วมแค่ไหนเพียงใด หรือควรทำในทางไหน ซึ่งจะไม่คิดเลยก็ไม่ได้ เพราะ รมว.คลัง ได้ออกมาแสดงบทเชิงรุก เป็นผู้หวังดีและชี้ชวนทำดีแล้ว ดังนั้น การไม่ร่วมโดยไม่ทำอะไร ย่อมเสียชื่อได้ การรับปากช่วยพัฒนาการศึกษาจากธนาคารกสิกรไทย จึงมีขึ้นในทันที

ก็ขอเตือนในที่นี้ล่วงหน้า โดยแนะว่าขอแบงก์พาณิชย์อื่นทั้งหลายอย่าได้ประมาท โดยต้องรีบเร่งคิดทำแผนงาน และโครงการร่วมซ่อมสร้าง (เพื่อสังคม) เผื่อเอาไว้ ย่อมดีกว่าต้องจำใจตกกระไดพลอยโจนเมื่อเวลากดดันมาถึงตัว ซึ่งจะสอดคล้องกับที่ชาวแบงก์ทั้งหลายเคยได้ยินนายธนาคารผู้อาวุโสได้พร่ำสอนกันมานานว่า...“Don’t (stay) too close and don’t too far away” แปลว่า โดยธรรมเนียมนั้น “นักการธนาคารที่ดีจะไม่เข้าใกล้นักการเมืองจนเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่ควรยืนจนห่างไกลเกินไปด้วย”

อาจารย์ค่ะอันนี้อ้นใหม่ช่ไหมค่ะ แล้วอีกอันได้ไปดูอยู่หรือป่าวค่ะ หนูให้เบอร์ไว้ในอันเก่าหนูแจ้งไว้ในอันนั้นนะค่ะ

แล้วคะแนนของหนูบอกได้หรือป่าวค่ะว่าได้ท่าไรคือหนู่ไม่มั่นใจค่ะเพราะทำไม่ค่อยได้คะ

ฝนตกแดดออกดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ

เด๋วไม่สบายคิดคะแนนหนูผิดคะ

เรืองวิทย์ อุปชัย

หวัดดีครับอาจารย ตรวจเสร็จ แล้วผลโดนรวมเป็นไงมังครับอยากทราบคร๊าฟฟฟ

น.ส.วราลักษณ์ พาดี 51127312012 การเงินการธนาคาร

สวัสดีค่ะอาจารย์

มีข่าวมาฝากเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแรงหนุนหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในวันนี้(14 ม.ค.) ร้อยละ 0.75 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่ายังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศออกมาในช่วงหลายเดือนข้างหน้า อาจจะสะท้อนถึงแนวโน้มการถดถอยของเศรษฐกิจไทย พร้อมกับภัยคุกคามจากเงินฝืดโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 โดยมีประเด็นแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ในระยะถัดไป ซึ่งคาดว่า แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจจะเริ่มพลิกกลับมามีอัตราที่ติดลบตั้งแต่เดือน ม.ค. 2552 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจโน้มลงสู่กรอบด้านต่ำของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยแรงกดดันเงินเฟ้อที่ได้ผ่อนคลายลงอย่างมาก จะเป็นปัจจัยที่เอื้อให้ กนง.มีพื้นที่มากพอสมควรในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดไปเพื่อดูแลเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อกลไกการส่งผ่านผลของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ ธปท.ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในระบบ โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินอาจไม่ถูกปรับลดลงมากเท่ากับขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นผลจากประเด็นด้านความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการปล่อยสินเชื่อ และต้นทุนในการตั้งสำรองหากสินเชื่อที่ปล่อยไปกลายเป็นหนี้เสีย

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่จะต้องจับตาในระยะถัดไป คือ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่อาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ตลอดจนแนวโน้มการส่งออกที่อาจจะหดตัวโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ท่ามกลางแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก คงจะทำให้ ธปท.ต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายในการบริหารจัดการเสถียรภาพของค่าเงินบาท เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย พร้อมกับการสร้างสภาวะที่ผ่อนคลายทางการเงินเพื่อบรรเทาความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจ

น.ส.วราลักษณ์ พาดี (51127312012)

โทร.0891744048

น.ส.วราลักษณ์ พาดี 51127312012 การเงินการธนาคาร

มีข่าวเกี่ยวกับราคาทองคำรูปพรรณมาบอก

ราคาทองคำรูปพรรณวันนี้ขายออกบาทละ 15,650 บาท ทองแท่งขายออก 15,250 บาท

สมาคมค้าทองคำ รายงานราคาทอง (ทองคำ 96.5%) ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2552

ทองคำแท่งรับซื้อคืนบาทละ 15,150 บาท ขายออก 15,250 บาท

ทองรูปพรรณรับซื้อคืนบาทละ14,932.60 บาท ขายออก 15,650 บาท

น.ส.วราลักษณ์ พาดี 51127312012

0891744048

น.ส.วราลักษณ์ พาดี 51127312012 การเงินการธนาคาร

มีข่าวมาฝากจาก IMF เตือนผู้นำทั่วโลกบริหารระบบการเงินให้รัดกุม

หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในการเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำตัวเงียบเชียบทั้งๆ ที่น่าจะมีบทบาทมากในการส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า จะได้ช่วยไม่ให้วิกฤติการเงินลุกลามไปมากขนาดนี้ เลยทำให้ตั้งแต่เดือนตุลาคมมานี้ ผู้บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ออกขาวมากขึ้น และเริ่มออกมามีบทบาทมากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤติสถาบันการเงิน แนวทางที่ IMF เห็นว่าช่วยป้องกันการลุกลามของวิกฤติการเงินโดยหลักๆ คือ ให้ผู้นำประเทศต่างๆ หาแนวทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในชาติเกี่ยวกับระบบการเงินของตนให้ได้ ผู้นำประเทศต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบแต่เด็ดขาดและรวดเร็วในการใช้มาตรการป้องกันวิกฤติการเงิน ซึ่งทาง IMF เห็นว่ามาตรการเหล่านั้นได้แก่ มาตรการคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนว IMF เห็นว่าในช่วงวิกฤตินั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนจะเกิดความตระหนกจนเกินความจำเป็น อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในระบบ รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยคุ้มครองเงินฝากให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร เพื่อป้องกันมิให้ระบบหยุดชะงัก มาตรการคุ้มครองนี้ควรเป็นมาตรการระยะสั้นและควรดำเนินการควบคู่ไปกับการจำกัดเพดานอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มระดับการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้เข้มงวดขึ้น มาตรการให้ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น รัฐบาลควรมีมาตรการให้ธุรกิจรับรู้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นโดยผู้ถือหุ้นควรเป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็ให้แยกทรัพย์สินที่เสียหายออกมาดำเนินการต่างหาก เปิดทางให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาร่วมทุน มาตรการให้รัฐเข้าไปร่วมทุน เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดค่อนข้างฝืดเคือง ในบางกรณีภาครัฐอาจเข้าไปลงทุนในสถาบันที่ประสบปัญหาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนเอกชนรายใหม่ในการเข้าไปร่วมทุน ซึ่งการดำเนินมาตรการนี้แม้จะได้ผลดีแต่อาจได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนว่านำเงินภาษีไปช่วยอุ้มธุรกิจ ซึ่งกรณีนี้ในภายหลังทาง IMF ก็ออกมาแจ้งแนวทางผ่อนคลายแรงต้านจากประชาชนผู้เสียภาษีว่าอาจมีมาตรการทำนองว่าเป็นการคืนประโยชน์ให้ผู้เสียภาษีเมื่อยามที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นหลังวิกฤติ มาตรการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ในช่วงของการเกิดวิกฤติการเงินนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เกิดวิกฤติตามไปด้วยเช่นกันเพราะแต่ละประเทศขาดความเชื่อมั่นระหว่างกัน และมาตรการที่แต่ละประเทศใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพภายในประเทศนั้นบางมาตรการดำเนินไปโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ

นอกจากนี้ IMF ยังออกมาแสดงความเห็นว่าสาเหตุของวิกฤติการเงินครั้งนี้เกิดมาจากความล้มเหลวของ 3 ปัจจัยได้แก่

(1) ความล้มเหลวของระบบกฎหมายและระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศที่ได้ชื่อว่าพัฒนาแล้ว

(2) ความล้มเหลวของการบริหารความเสี่ยงในสถาบันการเงินเอกชน

(3) ความบกพร่องของกลไกการตลาดการเงิน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้ทำให้ปัญหาวิกฤติการเงินลุกลามไปในโลกที่พัฒนาแล้วอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ IMF เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ระบบการเงินโลกจะต้องมีการปฏิรูปตัวเองกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะระบบโครงสร้างกฎหมายและการกำกับดูแล เพื่อรอบรับนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ นอกจากมาตรการหลักๆ ที่กล่าวมาแล้ว IMF ยังให้ข้อคิดแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีก 7 ประการในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติการเงินที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

1. ความสอดคล้องในเชิงนโยบายของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น ประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการดำเนินมาตรการใดๆ โดยเอกเทศ

2. วิกฤติการเงินในครั้งนี้เป็นเรื่องร้ายแรงและอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องยาวนาน อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจะฟื้นฟูกลับมาได้อย่างช้าๆ โดยเริ่มจากกลางปี 2552 เป็นต้นไป

3. นอกจากนี้ได้เตรียมวงเงินสำรองไว้สำหรับประเทศที่ต้องการใช้ยามฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว IMF ก็พร้อมจะให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง

4. นโยบายการเงินและนโยบายการคลังอาจจะเป็นยารักษาวิกฤติการเงินได้ในช่วงแรก แต่รัฐบาลประเทศต่างๆ ควรดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป

5. ผู้กำหนดนโยบายในแต่ละประเทศจะต้องไม่ลืมนึกถึงวิกฤติอื่นๆ ด้วย เช่น วิกฤติการอาหารโลกและวิกฤติการราคาน้ำมัน โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องไม่ตัดความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศยากจนเพียงเพื่อจะให้ตัวเองเอาตัวรอด

6. หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงินควรเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้รวมถึงการทบทวนกฎระเบียบเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ การจัดอันดับเครดิต การเปิดช่องโหว่ทางกฎหมายและกฎระเบียบที่มีอยู่ และการเปิดเผยขัอมูลการดำเนินธุรกิจอย่างครบถ้วน

7. โครงสร้างของระบบการเงินโลกจะต้องได้รับการทบทวนเพื่อให้เหมาะสมและตอบสนองกับความต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันนี้มีประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินและกำลังอยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ประมาณ 5 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี ปากีสถาน ยูเครน ไอซ์แลนด์ และเบลารุส ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม IMF ก็ได้อนุมัติวงเงิน 16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับประเทศยูเครนเพื่อรองรับวิกฤติที่เกิดขึ้นและยังมีอีก $200 พันล้านเหรียญที่ยังเตรียมไว้สำหรับประเทศอื่นๆ ที่อาจประสบปัญหา

น.ส.วราลักษณ์ พาดี 51127312012

โทร. 0891744048

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท