หลักการทำงานพัฒนาชุมชน


คน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต้องส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง ชุมชนที่พึ่งตนเอง ชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ได้ โดยชุมชนเอง

          "การพัฒนาชุมชน ถือ คน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต้องส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อนำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง ชุมชนที่พึ่งตนเอง ชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ได้ โดยชุมชนเอง ทั้งนี้ภาครัฐจะสนับสนุนในส่วนที่ยังเกินขีดความสามารถของชุมชนผลสัมฤทธิ์ของชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนต้องรับผิดชอบชุมชนได้ ชุมชนเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชนได้  ชุมชนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ " 

 

ปรัชญาขั้นมูลฐานของกรมการพัฒนาชุมชน  

          1. มนุษย์พึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมและมีศักดิ์ศรี ในฐานะเป็นปุถุชน

          2. มนุษย์มีเสรีภาพกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนในทิศทางที่ต้องการ

          3. มนุษย์สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาสและได้เรียนรู้

          4. มนุษย์มีพลังความคิด, ความเป็นผู้นำ ฯลฯ ความสามารถเหล่านี้เป็นสิ่งซ่อนเร้น แต่สามารถนำออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนา

          5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชน มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชนและรัฐ

 

แนวทางของการพัฒนาชุมชน

          แนวทางที่ 1 หน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เดียวกันจะต้องมีแผนงาน โครงการ ที่ประสานกันในลักษณะของการบูรณาการให้สมดุลกัน เพื่อเสริมกำลัง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

          แนวทางที่ 2 ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน จะต้องทำงานกับกลุ่มของประชาชน มากกว่าทำกับคนๆ เดียว

          แนวทางที่ 3 ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งในการคิด ตัดสินใจและ ดำเนินการ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และสร้างความเชื่อมั่นใน ตนเองอันนำไปสู่การช่วยตนเองได้

          แนวทางที่ 4 ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน ต้องให้ความสนใจในประเพณีความเชื่อ ในการร่วมกันทำงาน เพื่อประโยชน์และความต้องการของประชาชน มากกว่ายึดความคิดเห็นของตนเองแต่ฝ่ายเดียว

 

หลักการทำงานกับประชาชนตามอุดมคติของกรมการพัฒนาชุมชน

          1.  พิจารณาภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในชุมชนเป็นหลักเริ่มงาน

          2.  ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและรู้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น

          3.  โครงการและกิจกรรมพัฒนาชุมชนต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ รวบรัด

          4.  แสวงหาความต้องการที่แท้จริงของประชาชนให้พบ

          5.  ใช้วิธีดำเนินงานแบบประชาธิปไตย

          6.  การวางโครงการต้องยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ตามสถานการณ์

          7.  ทำความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชน

          8.  แสวงหาผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชนเป็นมิตรคู่งาน

          9.  ใช้องค์กรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์

          10.  อาศัยนักวิชาการหรือผู้ชำนาญเฉพาะสาขา

          11.  ทำงานกับสมาชิกทุกคนในสถาบันครอบครัว

          12.  โครงการต้องมีลักษณะกว้าง เพื่อสนองความต้องการของประชาชนได้ ครอบคลุมปัญหาด้านต่าง ด้วย

          13.  ทำการประเมินงานเป็นระยะๆ

          14.  ทำงานกับคนทุกชั้นของสังคม

          15.  สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกับกรอบนโยบายของชาติ

          16.  อาศัยหลักการเข้าถึงชุมชน

          17.  ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์

 

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน

          1. เร่งการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ต่อครอบครัวของประชาชนจากการเกษตร และอุตสาหกรรมในครอบครัว

          2. ส่งเสริมการสร้างสาธารณสมบัติโดยความร่วมมือของประชาชน

          3. ปรับปรุงการอนามัยและสุขาภิบาลของชาวชนบท

          4. ส่งเสริมการศึกษาของประชาชน ทั้งในและนอกโรงเรียน รวมทั้งผู้ใหญ่ สตรี เด็กและคนวัยรุ่น

          5. ส่งเสริมวัฒนธรรม ระเบียบ ประเพณีและสวัสดิการของประชาชน และสันทนาการ

          6. ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

 

วิสัยทัศน์ (Vision)

          "เป็นหน่วยยุทธศาสตร์ (Strategic Unit) ของรัฐ ในการพัฒนาชนบท (Rural Development) ให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืนด้วยหลักการพัฒนาชุมชน (Community Development) "

 

ขอบคุณข้อมูลจาก      :      http://www.cdd.go.th/th/about_us/concept.php

หมายเลขบันทึก: 300147เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท