นวัตกรรมการการสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาโรงเรียน


ภาคีเครือข่าย

                นวัตกรรมการสร้างภาคีเครือข่าย  

            ผมมีโอกาสได้ไปร่วมประเมินโรงเรียนสู่การเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันหลายโรงเรียน มีเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟัง ได้แก่ เทคนิค/วิธีการใหม่ๆ  ที่หลายๆ โรงเรียนนำมาใช้เพื่อช่วยให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาโดยเฉพาะกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการช่วยกัน     

 

                                        ที่สำคัญ  ได้แก่

-          1  ตำบล (อ.บ.ต. /เทศบาล)  1  ห้องปฏิบัติการ (อ.บ.ต./เทศบาลเขตพื้นที่บริการมีส่วนร่วมในการปรับปรุง-พัฒนาห้องปฏิบัติการโดยการสนับสนุนงบประมาณ/แรงงาน)

-          1  วัด  1   บริเวณ  (วัดในเขตบริการของโรงเรียนนำคณะศรัทธาของวัด             ร่วมจัดบริเวณ/สวน/บรรยากาศในโรงเรียนจุดใดจุดหนึ่ง)

-          1  ศิษย์เก่า  1  ทุนการศึกษา เพื่อน้อง  (ศิษย์เก่า 1  คน จะช่วยเหลือทุนการศึกษาให้นักเรียนรุ่นน้องที่ด้อยโอกาสในลักษณะทุนเดียว                    หรือต่อเนื่องจนจบการศึกษา)

และยังมีอีกมากมาย  ซึ่งโรงเรียนของท่านอาจจำไปใช้ได้ไม่ยากนัก  โดยวิธีการนี้จะทำ

ให้โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียน และช่วยกันพัฒนาในรูปแบบการบริหาร/จัดการแบบมีส่วนร่วม  และ  S.B.M.

วิธีนี้ ทำให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปแบบก้าวกระโดดและเดินไปสู่ต้นแบบโรงเรียน          

ในฝันหรือโรงเรียนที่มีมาตรฐานในระดับสากลโดยไม่ต้องออกแรงมากนัก

           

 

 

หมายเลขบันทึก: 300121เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดีจังเลยครับ ผอ
  • ที่มีส่วนร่วมของชุมชน
  • ชอบการบริหารสองแบบนี้ครับ
  • จัดการแบบมีส่วนร่วม  และ  School Based Management
  • ในจังหวัดอุตรดิตย์มี Lab school กี่โรงเรียนครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ดีมากครับ ขออ้างอิงไปใช้
  • ประเมินต้นแบบไปกี่โรงแล้ว
  • ที่เลยรอบนี้ผ่าน 3 โรง เหนื่อย งานก็ยังต้องเร่งส่ง
  • สู้ สู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท