(ร่าง) โครงการ : ฟันสวยยิ้มใสครั้งที่ 20 ตอน “เด็กไทยห่างไกลเหล้าบุหรี่” (ม.เชียงใหม่)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

   สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป  ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก  เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง  การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก  นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน  สภาพเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมต่างๆ  ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

   จากสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันพบว่า ค่านิยมของการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ในปัจจุบันนั้น ได้ลุกลามไปยังกลุ่มเยาวชน อันเนื่องมาจากการเห็นผู้ใหญ่เป็นตัวอย่าง ตามสื่อต่างๆ หรือจากภายในชุมชนของตนเอง และหากมองในภาพรวมของสังคมระดับประเทศก็พบว่า มีประชากรที่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่รู้ถึงโทษของเหล้าและบุหรี่ก็ยังเสพ แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่รู้ถึงโทษของเหล้าและบุหรี่ ทำให้ประชากรกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงมากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเสื่อมลง และมีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของสังคม จนกลายเป็น ปัญหาสังคมในที่สุด

   ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากแก่สังคมพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องโทษของการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับสังคมนั้นๆ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักเห็นว่า เรื่องของสุขภาพนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมเสียใหม่  อาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากและการดื่มเหล้าสูบบุหรี่นั้นลดน้อยลงและคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนก็จะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

       ทางสโมสรนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์จึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กและเยาวชนให้หันมาสนใจเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนหลากหลายวัย สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิด และเพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

 

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1.  ประชุมเพื่อกำหนดสถานที่ วางแผน กำหนดกิจกรรมที่จะจัดขึ้น ติดต่อผู้สนับสนุนและหน่วยงานต่าง

 

วันที่ 1 - 15 ตุลาคม  พ.ศ.2552

2.  เตรียมงานต่างๆ เช่น จัดทำบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากเตรียมอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมต่างๆ จัดเตรียมสถานที่,พิธีการและการแสดง เป็นต้น

วันที่ 16 - 30 ตุลาคม  พ.ศ. 2552

3. ทำการคัดเลือกผู้เข้าประกวดกิจกรรม “หนูน้อยฟันสวย ครั้งที่ 20”

    ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มช.  โดยมีกิจกรรมดังนี้

-          ลงทะเบียนการประกวด “หนูน้อยฟันสวย ครั้งที่ 20”

-          ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ  (รอบเช้า)

-          พักรับประทานอาหารกลางวัน

-          ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ  (รอบบ่าย)

* แจกอาหารว่าง + นม ให้กับน้อง ๆ ที่มาทำการคัดเลือกทุกคน

วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

    

 เวลา 09.00–09.30 น.

เวลา 09.30–12.00 น.

เวลา 12.00–13.00 น.

เวลา 13.00–15.00 น.

4. จัดกิจกรรม ฟันสวยยิ้มใส ครั้งที่ 20 ตอน “เด็กไทยห่างไกลเหล้าบุหรี่”

    ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ท อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่  โดยมีกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นตามจุดประสงค์ของโครงการ ได้แก่

           - พิธีเปิดโดยคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

           - การแสดงต่างๆ และละครส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
      -การประกวดคำขวัญเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
      -การประกวดเรียงความเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ในหัวข้อเรื่อง “เด็กไทยยิ้มใส ห่างไกลเหล้าบุหรี่”
      -การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก
      -บอร์ดนิทรรศการ “ฟันสวยยิ้มใส” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
     -ซุ้มเล่นเกมส์สอดแทรกความรู้ทางสุขภาพช่องปาก  ตัวอย่างเช่น  เกมส์ต่อจิกซอว์, โยนห่วง, บิงโก, เซียมซี  ฯลฯ
     -การบริการตรวจและให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปาก

             - การร่วมลงนามในปฏิญญาต่อต้านการดื่มเหล้าสูบบุหรี่
          -การประกวด “หนูน้อยฟันสวย ครั้งที่ 20”

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2552

ตั้งแต่ เวลา 10.30 - 18.00 น.

5. ประชุมเพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรม

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2552

 

 

หมายเลขบันทึก: 300034เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

1.1 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่คณะจัดขึ้นเป็นประจำ ในการขอสนับสนุนจาก ทพ.สส. จำเป็นต้องระบุ “การต่อยอด” จากรูปแบบเดิม มิฉะนั้น จะไม่สามารถอนุมัติได้ตามมติของคณะกรรมการบริหารแผนงานฯ

1.2 ที่ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากกับโรคทางระบบที่นั้น แม้จะเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจแนวคิดสุขภาพองค์รวม หากแต่ควรคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานรู้จักส่งเสริมสุขภาพตนเองในลักษณะองค์รวมด้วย ไม่ใช่แค่รู้อย่างเดียว

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

2.1 วัตถุประสงค์ข้อ 2 ควรปรับเป็น

เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง (ตัดเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและสนใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น)

ปรับตัวชี้วัดความสำเร็จวัตถุประสงค์ข้อ 2

เพิ่มข้อ 2.1 จำนวนประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ปรับข้อ 2.1 เป็นข้อ 2.2 จำนวนผู้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ตัดข้อ 2.2 เดิมออก เพราะการวัดผลความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและสนใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น ไม่น่าจะวัดได้

วัตถุประสงค์ข้อ 3-5 เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 เป็นไปได้หรือไม่ที่จะติดตามผลว่าประชาชนที่เข้าร่วมงานได้นำความรู้จากการชมงานครั้งนี้ไปใช้เพียงใด อย่างไรบ้าง

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 ยังไม่เห็นความชัดเจนว่าการจัดนิทรรศการนี้ มีกิจกรรมใดที่จะทำให้นศ. หรือประชาชนเห็นความเชื่อมโยงของสุขภาพช่องปากกับสภาพสังคม ครอบครัว และสามารถนำไปออกแบบกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ดังที่เขียนไว้ในหลักการฯ เนื่องจากส่วนนี้เป็นส่วนที่จะเสริมความเข้าใจแก่นิสิตทพ. และบุคลากรของคณะในเรื่องการนำแนวคิดสุขภาพองค์รวมไปใช้

4.2 โปรดเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมของการนำปฏิญญาต่อต้านเหล้า บุหรี่ไปขยายผลต่อ โดยในส่วนนี้สามารถของบประมาณสนับสนุนเพิ่มได้

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 ขอให้มีการสรุป “บทเรียน” ของกิจกรรมครั้งนี้ (ในแง่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้จัดและผู้เข้าชมงาน) เขียนเป็นเรื่องเล่าไว้ใน gotoknow.org/blog/ismile เพื่อแลกเปลี่ยนในวงกว้าง

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

6.1 อาจปรับเพิ่มเติมตามกิจกรรมที่เสนอไว้ในข้อ 4.

6.2 กิจกรรมนี้น่าจะเป็นกิจกรรมที่คณะจัดขึ้นทุกปี จึงอยากให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากคณะด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท