(ร่าง) โครงการ สุขภาพผ่านเลนส์ ตอน “สายหมอก ดอกไม้ จิตใจชื่นบาน” (ม.นเรศวร)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

    การจัดการศึกษาในปัจจุบันเป็นยุคของโลกแห่งการเรียนรู้  โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามสภาพที่แท้จริงได้อย่างเหมาะสม  และกลมกลืนกับสังคมในปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ผสมผสานกับการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย  การจัดการเรียนรู้จึงต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ดังนั้นจึงต้องบูรณาการกิจกรรมนอกหลักสูตร และชีวิตจริงเข้ากับหลักสูตร  เพื่อให้นิสิตได้ฝึกทักษะ และมีความท้าทายต่อนิสิตและอาจารย์มากกว่าการสอนในตำราอย่างเดียว

          จากการสำรวจความคิดเห็นของนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่านิสิตสนใจเข้าร่วมกิจกรรมถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก อีกทั้งคณะทันตแพทยศาสตร์เล็งเห็นประโยชน์ของการถ่ายภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้มีสุขภาพจิตดี  ช่วยฝึกสมาธิ สุนทรียภาพ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ถ่ายและผู้ชมภาพถ่ายแล้ว ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย นิสิตสามารถนำเทคนิคความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ ในคลินิกทันตกรรม ดังนั้น จึงได้จัดโครงการ”สุขภาพผ่านเลนส์”เพื่อเป็นการผลักดันผู้ที่มีความสนใจพัฒนาทักษะด้านการถ่ายภาพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านการถ่ายภาพหรือความรู้ทั่วไป ยังเป็นการส่งเสริมการกล้าคิดกล้าแสดงออก ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นสุขได้อีกด้วย

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. ขั้นเตรียมงาน

 

   - แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ

สิงหาคม – กันยายน 2552

   - สำรวจสถานที่ และประเมินงบประมาณในการจัดโครงการ

 

   - จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์

 

   - ประสานงานติดต่อกับวิทยากร

 

2. ขั้นดำเนินงาน

 

กิจกรรมที่ 1 การฝึกทักษะการถ่ายภาพและแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ

1. การอบรมการถ่ายภาพเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

        -  เรื่อง ประเภทของกล้องดิจิตอล และประเภทของไฟล์ภาพและความแตกต่าง

        -  เรื่อง ฟังก์ชั่น และระบบของกล้อง ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ และเทคนิคการถ่ายภาพในลักษณะต่างๆ

       -  เรื่อง การวัด แสงในการถ่ายภาพ และการจัดวางวัตถุในการถ่ายภาพ

  - เรื่อง หลักการตกแต่งภาพเบื้องต้น

        - เรื่อง การถ่ายภาพบุคคล

        - การอบรม เรื่อง การรักษ์ป่า และฝึกทักษะการถ่ายภาพ ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

        -  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายภาพ 

พฤศจิกายน 2552

 

2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักแนวคิดเรื่องส่งเสริมสุขภาพองค์รวม  

       - หลักแนวคิดเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ

       -  มองสุขภาพผ่านเลนส์  เห็นมุมมองสุขภาพจากการถ่ายภาพ

 

 

กิจกรรมที่ 2  แสดงผลงานการถ่ายภาพเกี่ยวกับสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ

ธันวาคม 2552

 3.  ขั้นการตรวจสอบ และประเมินผล

 

      - จัดทำแบบสอบถามและประเมินผลทั้งการแจกแบบสอบถาม การ  สัมภาษณ์ และการสังเกต

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

4. ขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน

 

      - ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการเพื่อปรับปรุงการดำเนินโครงการ

มกราคม 2553

      - นำผลการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุง

โครงการครั้งถัดไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 300028เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1. หลักการและเหตุผลโครงการ (สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

ควรปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

1.1 เนื่องจากเป็นการดำเนินงานในระยะที่สองของแผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุขแล้ว จึงไม่อยากให้มองกิจกรรมการถ่ายภาพเป็นเพียงการผ่อนคลาย การเสริมสมาธิ ให้เกิดความสุขเท่านั้น แต่ควรเชื่อมโยงให้เห็นว่าการถ่ายภาพเป็นหนทางที่ช่วยให้เข้าถึงสุขภาวะองค์รวม จนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (ในการเรียนรู้อย่างมีความสุข หรือการดูแลผู้ป่วย)

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

2.1 ปรับวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลที่เสนอใน 1.1

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 ปรับเพิ่มตามข้อ 2.1 โดยควรวัดจากการที่นิสิตกลุ่มนี้ได้นำประสบการณ์กลับมาใช้จริง

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 เพื่อให้นิสิตกลุ่มนี้ได้นำประสบการณ์มาใช้ได้จริง ตามวัตถุประสงค์ที่เสนอไว้ในข้อ 2.1 ควรมีการมอบหมายแบบฝึกหัดภายหลังกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อให้เขากลับมาประยุกต์ใช้ประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ในชีวิตประจำวัน (ไม่ใช่เพียงนำมาใช้ถ่ายภาพช่องปากผู้ป่วย) จากนั้นเมื่อผ่านไป 2-3 เดือน จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน โดยมีผู้รู้มาช่วยในการแลกเปลี่ยน หรือจัดการความรู้ที่เกิดขึ้น

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 ให้นำผลการแลกเปลี่ยนในข้อ 4.1 เผยแพร่ผ่านบล็อก gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเรียนรู้ในวงกว้าง

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

6.1 ควรให้ผู้เข้าร่วมจ่ายสมทบเพิ่มเป็น 200 บาท เพื่อกรองผู้ที่สนใจจริงๆ

6.2 พิจารณาปรับลดค่าอาหารมื้อหลักลงจากมื้อละ 100 บาท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท