เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

พิธีทอดผ้าป่าแถวเมืองกำแพงเพชร หนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนใคร...


   เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา สวจ.กำแพงเพชร ได้จัดโครงการทอดผ้าป่าแถว ในงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ขึ้น ในปีนี้จัดขึ้น ณ วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ปีนี้ได้กำหนดจำนวนกองผ้าป่าทั้งหมด 309 กอง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปรับจองเป้นเจ้าภาพกองผ้าป่าอย่างดี

  

    กองผ้าป่าทั้งหมดจะติดหมายเลขหลักตามที่หน่วยงานจับสลากได้ แล้วนำไปวางตามหมายเลขหลักที่จับได้ ซึ่งในปีนี้ทำเป็นรูปตัว U รอบฐานไพฑีวัดพระแก้ว

  

 

  พอกองผ้าป่าถูกนำไปวางประจำหลักครบแล้ว ก็จะทำการนิมนต์พระขึ้นประจำที่บนฐานไพฑีของวัดพระแก้ว ประธานในพิธี คือ นายวันชัย สุทิน ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ไหว้พระ รับศีล ตามขั้นตอน จากนั้น พระสงฆ์จะลงมายืนประจำหลักตามที่จับสลากได้ ดูแล้วช่างงดงามมาก ท่านยืนด้วยความสงบ เพิ่มเติมด้วยบรรยากาศของตะเกียง และเหล่าประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในการเป็นเจ้าภาพกองผ้าป่า เป็นภาพที่ยากจะบรรยาย

  

    

      จากนั้นก็กล่าวคำถวายผ้าป่าให้แก่พระสงฆ์ กรวดน้ำ และรับพร เป็นเสร็จพิธี

 ถ้าหากใครมาร่วมพิธีทอดผ้าแถวในครั้งนี้รับรองได้เลยว่า ประทับใจในความสวยงามของวัดพระแก้วยามค่ำคืน บวกกับความปลาบปลื้มปีติในบุญครั้งนี้ อย่างไม่รู้ลืมเลยล่ะ

                                                                     โดย นางเตือนใจ  ถมอินทร์
                                                               นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

หมายเลขบันทึก: 299830เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หวัดดีครับแล้วผ้าป่านี้ เอาไปทำประโยชน์อะไร ให้วัด ราชการ องค์กรไหนครับไม่เห็นบอก แต่ไม่เป็นไรเห็นภาพแล้วดี ดี ครับ สาธุ สาธุ

ขอโทษทีค่ะ ลืมบอกไปค่ะ กองผ้าป่าที่นำมาเข้าพิธีก็จะถวายให้แก่พระสงฆ์ที่ประจำหลักนั้น

ซึ่งก็จะนำไปบำรุงวัดที่จำพรรษาอยู่ค่ะ

  • มาเรียนรู้  แวะมาทักทาย
  • มาให้กำลังใจ....
  • เพื่อร่วมกันสืบสาน สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมดีๆให้ดำรงอยู่สืบไปครับ
  • ขอขอบพระคุณ
  • อ้อ! ผมมีเรื่องนำเรียนเสนอ เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านเล็กๆ ใกล้ตัวเมืองนี่เอง ..ที่ผมว่า น่าจะสูญหายไปแล้ว(ไม่แน่ใจ)
  • เป็นเรื่องการทำมาหากิน ..และช่วยเสริมสร้างความรักความสามัคคี  สอดคล้องกับสภาวะในปัจจุบันนี้
  • ทำอยู่ไม่ห่างจากสถาบันราชภัฎฯมากนัก เกี่ยวกับ การทำบุญ..ก่อนลงมือทำนา..ผมว่ามันเนียน น่าสนใจในภูมิปัญญาที่แยบยลของชาวบ้าน...
  • สาระพอสรุปได้ก็คือ...

           - ก่อนลงมือทำนาปี จะมีการทำบุญที่กลางทุ่งนา(เอาบุญ..เป็นตัวนำ)

           -ชาวบ้านจะเตรียมพันธุ์ข้าวปลูก เครื่องมือ อาหารหวานคาวไปร่วมพิธีทำบุญเลี้ยงพระ

           -ก่อนจะลงมือทำนา ต้องให้พี่ๆน้องๆ ที่เป็นแรงงานจะต้องทำนา มาพร้อมหน้าพร้อมตากันก่อน และมาร่วมทำบุญด้วยกัน

           -ในพิธีจะมีการนำพันธ์ข้าวเข้าพิธีปลุกเสก เพื่อเป็นสิริมงคล หลังพิธี ใครขาดแคลนพันธุ์ ก็แบ่งปันกันไป

  • สิ่งที่เป็นกุศโลบาย ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็น.. ก็คือ

           - การเตรียมความพร้อมด้านแรงงานก่อนลงมือทำนา

           -การเตรียมความพร้อมของพันธุ์ข้าวและเครื่องมือ ก่อนทำนา ใครขาดเหลือ..ก็มีการอุดหนุนเกื้อกูลกัน เครื่องมือขาดเหลือจะได้ซ่อม บำรุง แก้ไขทันเหตุการณ์

           -การสร้างขวัญกำลังใจ ก่อนถึงฤดูกาลเพาะปลูก

           -ความแยบยลในการสร้างความรัก ความสามัคคี การอุดหนุนจุนเจือ

                                        ฯลฯ

   สิ่งนี้ ผมทราบมา ราวปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ จากคุณสุวรรณา สังข์ศิริ นวก.เกษตร.. เดี๋ยวนี้ ไม่รู้ว่ายังมีอยู่หรือไม่.. หากจะหาข้อมูลลองๆ สอบถาม พี่บุญยัง ทิพย์ประศาสตร์ น่าจะรู้รายละเอียด..ครับ

  • ซอกหลืบ..ของสังคม ยังซ่อนสิ่งดีๆ ทางวัฒนธรรมไว้มากมาย หากค้นหาและรวบรวมไว้
  • ขอขอบพระคุณอีกครั้ง
  • อ้อ! ลืมไปครับ อนุญาต นำบล๊อกนี้ เข้าแพลนเน๊ตของผมด้วยน๊ะครับ

ได้ค่ะ ยินดีเสมอค่ะ ส่วนข้อมูลที่ให้มานั้น จะประสานแล้วนำข้อมูลมาลงให้นะคะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท