ไมเกรน


ไมเกรน (Migrain) เป็นโรคที่พบบ่อยมาตั้งแต่อดีตกาล พบว่าแม้แต่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส ซีซ่าร์ (Julius Caesar) นโปเลียน (Napoleon) ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomus Jefferson) นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่างชาลส์ ดาร์วิน (Charleles Darwin) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรือแม้แต่จิตกรอย่างวินเซนต์ แวน โก๊ (Vincent van Gogh) และปาโบล ปิกัสโซ (Pablo picasso) ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีอาการของโรคปวดศรีษะไมเกรนทั้งสิ้น

สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน

โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณว่าร้อยละ  25  ของผู้หญิง  และร้อยละ  10 ของผู้ชาย 

 

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ  แต่เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกาย หรืออยู่ภายในร่างกายทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบเมื่อหลอดเลือดขยายจึงปวดศีรษะ

อาการของโรคไมเกรน

อาการของโรคไมเกรนในแต่ละอาจมีอาการที่แตกต่างกัน  โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย  4  ระยะ  ได้แก่

ระยะที่ 1  ระยะอาการนำ (prodrome) เช่น  อาการหงุดหงิด  ซึมเศร้า  หิวบ่อย  หาวบ่อย  อ่อนเพลีย  ท้องผูก  หรือ  ท้องเสีย  เป็นอาการที่เกิดเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือเป็นวันก่อนนำมาก่อนอาการปวดศรีษะก็ได้อาการนี้พบได้ประมาณร้อยละ  40-60  ของผู้ป่วยไมเกรน

ระยะที่ 2  ระยะ aura เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาท  เช่น  การมองเห็นแสงสว่างแตกเป็นแฉก ๆ ขยายเป็นวงกว้างล้อมรอบภาพที่มืดไป (scintillating scotoma)  อาการมองภาพไม่ชัด  ตามัว  อาการชาบริเวณรอบริมฝีปากและฝ่ามือ  ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดก่อนมีอาการปวดศรีษะไม่เกิน 1  ชั่วโมง  ระยะนี้พบได้ประมาณร้อยละ  20-30 ของผู้ป่วยไมเกรน

ระยะที่ 3 ระยะปวดศรีษะ  ผู้ป่วยมีอาการปวดศรีษะแบบตื้อ ๆ หรือตุ๊บๆ บริเวณขมับ  หรือเบ้าตา  อาจปวดข้างเดียวหรือปวดทั้งศรีษะก็ได้  อาการปวดมักเป็นอยู่นาน 4 -72 ชั่วโมง  ถ้าไม่ได้รับการรักษา  อาการปวดเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวศรีษะ  มองแสงจ้า  หรืออยู่ในที่เสียงดัง  และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ระยะที่ 4  ระยะหลังปวดศรีษะ  (postdrom)  ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย  มึนศรีษะ  ภายหลังจากอาการปวดศรีษะ  อาการนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเองหลังได้รับการพักผ่อนเพียงพอ

อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะดีขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาการปวดมักปวดข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain  ไม่เกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้

ไมเกรนกับคุณผู้หญิง 

ผู้หญิงและผู้ชายเป็นไมเกรนได้ทั้งสองเพศแต่ผู้หญิงจะเป็นบ่อยกว่า บางคนปวดขณะมีประจำเดือนและหายไปเมื่อตั้งครรภ์ ผู้ป่วยบางคนเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและถี่ขึ้น บางคนไม่เคยเป็นไมเกรนแต่หลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดก็เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้เนื่องจากยารักษาไมเกรนแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมของเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนระดับต่างๆกัน อาจจะแก้ไขโดยการเปลี่ยนชนิดของยาคุมกำเนิดหรือใช้ยี่ห้ออื่น และเมื่อพบว่ายาคุมทำให้คุณปวดศีรษะเพิ่มขึ้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์

สำหรับไมเกรนที่มีอาการนำเช่น ตาเห็นแสง ชาตามมุมปาก ตามนิ้วไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับคนที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าวหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดแล้วเกิดอาการนำดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์

ชนิดของไมเกรน

นอกจากไมเกรน 2 ชนิดดังกล่าว ยังมีไมเกรนอีกหลายชนิดดังนี้

  • Hemiplegic migraine มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆหรือบางคนอาจจะมีเวียนศีรษะ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปวดศีรษะตามมา
  • ophthalmoplegic migraine ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
  • Basilar artery migraine ก่อนอาการปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
  • Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้นการเจาะเลือด หรือการตรวจ x-ray เป็นเพียงช่วยวินิจฉัยแยกโรคเท่านั้น แพทย์จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัย

  • แพทย์จะซักเกี่ยวกับอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาที่ปวด
  • แพทย์จะซักอาการร่วมเช่น ไข้ อาการชัก อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง
  • แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัง การใช้ยา
  • แพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด

อาการดังต่อไม่นี้ไม่ควรคิดถึงไม่เกรน

  • ผู้ป่วยปวดศีรษะหลังอายุ50 ปี
  • อาการปวดศีรษะปวดขึ้นทันที โดยมากเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก
  • อาการปวดศีรษะเป็นบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นนานขึ้น
  • อาการปวดศีรษะพบร่วมกับ ไข้ คอแข็ง ผื่น
  • มีอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น ชัก อ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง

การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยเพียงประวัติเท่านั้นดังนั้นมีเกณฑ์ดังนี้

  1. จะต้องมีอาการปวดศีรษะ (ตามข้อ2-4) อย่างน้อย 5 ครั้ง
  2. ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
  3. ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
  4. ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
  5. ประวัติและการตรวจร่างกายปกติ
  • ปวดข้างเดียว
  • ปวดตุ๊บๆๆ
  • ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
  • ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องตรวจ computer เพื่อการวินิจฉัย

การรักษาไมเกรน

การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดีผู้ป่วยจะต้องทราบถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวดศีรษะ และมีส่วนร่วมในการรักษาโดยมีสมุดจดบันทึกปัจจัยชักนำให้ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะเป็นอย่างไรหลังจากหลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ การปรับยาของแพทย์ทำให้ปวดศีรษะดีขึ้นหรือไม่ ควรไปตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา แบ่งการรักษาเป็นสองหัวข้อคือ ควบคุมปัจจัยชักนำ และการรักษาด้วยยา

  1. การควบคุมปัจจัยชักนำ

ปัจจัยชักนำมิใช่สาเหตุแต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน

  • อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส อาหารที่มี tyramine เช่น เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
  • การนอน ควรนอนให้เป็นเวลาและนอนให้พอ ตื่นให้เป็นเวลา
  • ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการจะปวดดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมากระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้น
  • ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
  1. การรักษาไมเกรนด้วยยา

การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ [acute treatment] และการรักษาเพื่อป้องกัน [preventive treatment] จะใช้ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงและบ่อย

  1. acute treatment ยาแก้ปวดศีรษะมีด้วยกันหลายชนิดควรรับประทานทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะไม่ควรรับประทานยาบ่อย หรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง
  2. Migraine prevention
  • ยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอื่นยาบางชนิดอาจหาซื้อได้จากร้านขายยาเช่น paracetamol ,aspirin, ibuprofen ยา aspirin ไม่ควรใช้กับเด็ก ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ก่อนพบแพทย์ แต่ถ้าไม่หายแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดศีรษะดีขึ้น แต่ยาบางตัวอาจมีแนวโน้มที่จะเสพติด แพทย์บางท่านอาจให้ยา Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น mefenamic,diclofenac,ibuprofen แทนกลุ่มที่จะมีแนวโน้มทำให้เสพติด ผู้ป่วยไมเกรนนอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้วยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นควรได้รับยาแก้คลื่นไส้หากมีอาการคลื่นไส้มาก
  • ยาที่หยุดอาการไมเกรน ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิดได้แก่ Ergot alkaloids และ Triptans

หากอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นรุนแรงเป็นบ่อบแพทย์จะแนะนำยาป้องกันไมเกรน ซึ่งสามารถลดความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวด และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่

  • Antidepressants ยาลดอาการซึมเศร้าสามารถป้องกันปวดศีรษะไมเกรนได้เช่น amitriptyline, nortriptyline, and doxepin
  • Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น propranolol, metoprolol, timolol, nadolol, or atenolol การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
  • Calcium channel blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น verapamil, diltiazem, or nifedipine.  การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
  • Serotonin antagonists เช่น cyproheptadine. เป็นยาที่ทำให้อยากอาหารไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็ก
  • Anticonvulsants เป็นยากันชักใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะ valproate ยาตัวนี้ให้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 10ปี

การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา

มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ

 หลักการที่ทำให้การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดี

  1. การจดบันทึกอากรของโรคไมเกรนดังนี้
  2. ให้คนใกล้ชิดคอยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะเช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ
  3. ให้พกยาติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุดเสมอ
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดห้ามรับประทานยาเกินแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาทันที
  5. ถ้าลืมกินให้กินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ห้ามรับประทาน 2 เท่า
  6. หลังจากรับประทานยา ให้หาห้องเงียบๆมืดๆนอนพักจนอาการปวดดีขึ้น
  7. ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
  • วันและเวลาทีปวด
  • ระยะเวลาที่ปวด
  • อาการอื่นที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง กลิ่น
  • ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ คุณผู้หญิงอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับรอบเดือนด้วยครับ
หมายเลขบันทึก: 299809เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

ขอคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ

ตอนนี้มีงานวิจัย ที่สนใจสารเมลาโทนิน เพื่อมาแก้ปัญหาโรคนี้

หากใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

เคยอ่านแต่จำไม่ได้ว่าจากแหล่งข้อมูลไหน ครับ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้คำแนะนำ จริง ๆ แล้วคนไข้บางคนแม้แต่สตอ ลูกเนียง ลูกเหลียง ไม่ทราบอจ.รู้จักไหม มีผลด้วยเหมือนกัน

สวัสดีตอนเช้าครับ ผมเข้าข่ายหรือปล่าวไม่รู้แต่ตอนนี้หิวบ่อยมาก ๆ เลย แวะเข้ามาเยี่ยมทักทายขอรับ

บอกอาการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบได้หรอกค่ะ เพียงแต่อยากแซวว่ากระเพาะครากหรือเปล่าเห็นหิวบ่อย ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท