(ร่าง) โครงการ สุขภาพดี ชีวีมีสุข (ม.นเรศวร)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป
     ธรรมนูญแห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้บัญญัติคำจำกัดความของคำว่าสุขภาพไว้ว่า“สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณประกอบกัน ไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือความพิการเท่านั้น“ประเด็นสำคัญของคำว่าสุขภาพขององค์การอนามัยโลกก็คือ “ไม่ใช่แต่การไม่มีโรคเท่านั้น” แต่หมายถึง “สุขภาวะที่สมบูรณ์” นี่จึงเป็นการปฏิรูปความคิดเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะเรามักคิดกันว่าสุขภาพกับโรคเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าไม่มีโรคก็แปลว่าสุขภาพดี ถ้าสุขภาพไม่ดีก็คือมีโรค แต่ในความหมายใหม่ “การไม่ได้มีโรคก็ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพดี และแม้มีโรคก็สุขภาพดีได้” เพราะสุขภาพหมายถึง “สุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆ ทางเชื่อมโยงกัน
              ศ.นพ. ประเวศ  วะสี  ได้เสนอให้เพิ่ม Intellectual well – being (สุขภาวะทางปัญญา) ไปด้วย และ ได้เขียนผังความคิดเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าต้องให้ความสำคัญทั้งทางด้านร่างกายเช่น มีร่างกายแข็งแรง ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการชีวิตที่มีคุณภาพ ด้านจิตใจเช่น การมีสติ มีสมาธิในการประกอบหน้าที่การงานต่างๆ มีความเมตตา รวมทั้งการขจัดความโลภออกจากจิตใจ ด้านสังคมเช่น การมีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และด้านปัญญาเช่น การมีทักษะชีวิตที่ดี มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง มีโลกทัศน์ ชีวทัศน์ที่ถูกต้องเป็นต้น
         จากคำกล่าวข้างต้นเมื่อบุคคลมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาแล้วบุคคลนั้นสามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามศักยภาพ และทิศทางที่จะคงความผาสุกแก่ชีวิตของตัวเองไว้ ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงปราศจากจากความเจ็บป่วยเท่านั้น ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตของเขาด้วย ทั้งนี้ในฐานะที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานหนึ่งในการให้การศึกษาทางด้านวิชาการ การฝึกปฏิบัติงานของนิสิตทันตแพทย์ และให้บริการทางทันตกรรมให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป คณะฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมที่จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข จึงได้มีการจัดโครงการ”สุขภาพดี ชีวีมีสุข” ขึ้น โดยดำเนินการจัดเป็นสัปดาห์แห่งการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร และนิสิตมีการนำแนวคิดสุขภาพแบบองค์รวมไปประยุกต์ใช้โดยเริ่มจากตนเอง และขยายวงกว้างไปสู่บุคคลใกล้ชิดและชุมชน นอกจากนั้นอาจารย์ บุคลากร และนิสิตยังได้มีส่วนร่วมในจัดแสดงผลงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย

 

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ (โดยละเอียด)

กิจกรรม
ช่วงเวลาดำเนินการ
ขั้นเตรียมงาน 
ก.ค.-ธ.ค.52
     - เขียนโครงการและแผนการปฏิบัติงาน (Action plan)
ก.ค.52
      -  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
 ส.ค.52
      -  ติดต่อนัดประชุมผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
 ก.ย.52
        - กำหนดรูปแบบของกิจกรรมเลือกและติดต่อสถานที่ในการจัดกิจกรรม
ก.ย.52
      -   ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ บุคลากรและนิสิตทุกชั้นปีรับทราบ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โดยอาศัยการทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ การติดใบประกาศ เวบไซต์
ก.ย.52
       -  จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ประกอบการจัดโครงการและการดำเนินโครงการ  
ก.ย.52
ขั้นดำเนินงาน
 
       - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดสุขภาพและการส่งเสริม สุขภาพแบบองค์รวม  
ต.ค.52
       -จัดระดมความคิดเกี่ยวกับการแสดงผลงานการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในส่วนของอาจารย์ บุคลากร และนิสิต
ต.ค.52
      -  ประชาสัมพันธ์เผยแพร่แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมและการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงผลงานการส่งเสริมสุขภาพแก่อาจารย์ บุคลากร และนิสิต
ต.ค.52
      - ดำเนินการจัดสัปดาห์แห่งการส่งเสริมสุขภาพ
ต.ค.52
       - กิจกรรมเพื่อเผยแพร่หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริม สุขภาพแบบองค์รวม
ต.ค.52
   - การจัดแสดงผลงานการส่งเสริมสุขภาพ ของอาจารย์ บุคลากร และนิสิต
ต.ค.52
สรุปและประเมินผลกิจกรรม
ก.ค. – ธ.ค.52
        - มีการประชุมสรุปผลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
 
        - สร้างเครื่องมือประเมินผล
 
        - แจกแบบประเมินให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม
 
        - สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
 
         -นำข้อมูลที่ได้ทำรายงานสรุปการดำเนินกิจกรรม
 
 
หมายเลขบันทึก: 299734เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1. หลักการและเหตุผลโครงการ (สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

1.1 เป็นโครงการที่น่าสนใจที่ผสานระหว่างการทำความเข้าใจแนวคิดและการปฎิบัติตลอดถึงการประชาสัมพันธ์ ในลักษณะวงกว้าง

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

2.1 วัตถุประสงค์ข้อที่สาม น่าจะเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับมากกว่าเป็นเป้าหมายหลักของโครงการ

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 ตัวชี้วัดที่รองรับวัตถุประสงค์ข้อที่สอง ควรจะเป็น อาจารย์ บุคลากร นิสิต แสดงความคิดหรือมีการปฏิบัติที่สะท้อนการมีความคิดของการนำแนวคิดสุขภาพองค์รวมไปใช้

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 คิดว่าแนวทางในการดำเนินงานมีความน่าสนใจที่จะผสมผสานการสร้างความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดของผู้นำเสนอ/ผู้ดำเนินโครงการ ทั้งนี้ในช่วงของการเผยแพร่ผลงาน ถ้าสามารถทำให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างผู้นำเสนอและผู้ชมได้ น่าจะยิ่งทำให้เกิดการขยายแนวคิดได้มากขึ้น

4.2 จะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมจากกลุ่มที่หลากหลาย และการสร้างความรู้สึกต่อเนื่องภายหลังกิจกรรมสัปดาห์การสร้างเสริมสุขภาพ จะให้เกิดการมีส่วนร่วมได้)

4.3 ไม่แน่ใจว่าระยะเวลาระหว่างการสร้างความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติจนถึงการนำเสนอผลนั้น เพียงพอหรือไม่

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 ขอให้นำผลงานที่เป็น good/best practice ขึ้นเล่าในบล็อก gotoknow.org/blog/ismile เพื่อแลกเปลี่ยนในวงกว้าง

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

6.1 ช่วยแจกแจงรายละเอียดของงบประมาณ (เช่นเดียวกับที่แจกแจงในค่าอาหารว่าง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท