ความหมายอาหารชีวจิต


 ชีวจิต คืออะไร

ชีวจิต เป็นวิถีการดำรงชีวิตและการบริโภคที่เน้นความเป็นธรรมชาติ มีพื้นฐานมาจากวิถี

วิตแบบแมคโครไบโอติค ซึ่งมีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่แบบไทย ๆ อาหารชีวจิต เป็นการบริโภคพืชผัก ธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้สดตามฤดูกาลไม่ผ่านการปรุงแต่งพืชหัวไม่ปอกเปลือก ดื่มน้ำสะอาดและชาสมุนไพรหรือน้ำผลไม้ งดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นปลาและอาหารทะเลบริโภคได้เป็นครั้งคราว งดน้ำตาลฟอกขาว กะทิ นม และไข่

การดำรงชีวิต อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ไม่แออัด มีชีวิตเรียบง่าย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มี

ชีวิตที่ยัดธรรมชาติเป็นหลัก มีการฝึกสมาธิเป็นประจำ

โดยภาพรวมแล้ว การปฏิบัติตามแนวชีวจิตจะมุ่งเน้นความมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ และเข้าใกล้ธรรมชาติมากที่สุด

อาหารชีวจิต

ชีวจิต คือ ร่างกายและจิตใจ สำหรับจุดประสงค์หลักของชีวจิตก็คือ ความสุขสมบูรณ์ทั้งกายและใจ โดยยึดเอาวิธีปฏิบัติและความคิดในแนวธรรมชาติเป็นหลัก ในด้านร่างกายและจิตใจนั้น ชีวจิตถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่างกายมีผลต่อจิตใจ และจิตใจก็มีผลต่อร่างกายด้วยความสุขสมบูรณ์ (Wholeness as Perfection)

การปฏิบัติตามชีวจิตจะมุ่งไปในด้านการสร้างสุขภาพกายและใจก่อน โดยการใช้ อาหารสุขภาพ การใช้เครื่องมืออุปโภคที่มาจากธรรมชาติหรือใกล้กับธรรมชาติมากที่สุด ในขณะเดียวกันชีวิตความเป็นอยู่ก็ต้องไปตามธรรมชาติ คือใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์และเรียบง่าย ชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติจะเป็นชีวิตที่มีอายุยืน แข็งแรง มีความสุขสดชื่นตลอดเวลา

เมื่อมีการปฏิบัติทางกายแล้วก็ต้องมีการปฏิบัติทางใจด้วย ในด้านจิตใจเป้าหมาย ที่สำคัญที่สุดคือความสงบทางกายซึ่งอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยจะทำให้เกิดความสงบทางใจ เกิดปัญญา มองเห็นสัจธรรมของโลกและชีวิต จุดสูงสุดของสัจธรรมนี้คือ ความหลุดพ้น ซึ่งแต่ละคนย่อมมีหนทางและแนวทางเป็นของตนเอง

  

อาหารชีวจิต มีการแบ่งสัดส่วนของอาหารกลุ่มต่าง ๆ คือ

อาหารประเภทข้าว - แป้งไม่ขัดสี ร้อยละ 50 ในกลุ่มนี้นอกจากจะให้คาร์โบไฮเดรต

ซึ่งเป็นสาร อาหารหลักแล้ว ยังให้ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุมากกว่าการกินข้าวขัดสี

กลุ่มผัก มีการแนะนำให้กินผักในสัดส่วนร้อยละ 25 และเป็นผักสดกับผักสุกอย่างละครึ่ง

กลุ่มถั่ว ซึ่งให้โปรตีนเป็นหลัก กลุ่มนี้ก็เหมือนกับอาหารมังสวิรัติ แมคโครไบโอติค

และเจคือได้ โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้อาหารในกลุ่มนี้แนะนำให้ บริโภคในสัดส่วนร้อยละ 15

อาหารโปรตีนได้เสริมจากปลาและอาหารทะเล สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เป็นการเสริมคุณภาพโปรตีนที่ได้จากพืช และเป็นแหล่งไอโอดีนด้วย

อาหารอื่น ๆ เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา แนะนำให้

บริโภคร้อยละ 10 อาหารที่แนะนำให้งด ได้แก่

เนื้อสัตว์ (ยกเว้นปลา และอาหารทะเล) ไข่ นม เนย กะทิ ธัญพืชและแป้งขัดขาวทุกชนิดรวมถึงขนมหวานต่าง ๆ

  

  

คำสำคัญ (Tags): #อาหารชีวจิต
หมายเลขบันทึก: 299610เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ ได้ข้อมูลไปทำงานแล้ว

มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ

^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท