การจ่ายชดเชยค่าบริการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

เมื่อวันที่ 16 กันยายน2552ได้เข้าร่วมประชุมการลงบันทึก/การรายงานโรคซึมเศร้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทผู้เข้าร่วมประชุมจะเป็นเครือข่ายเจ้าหน้าที่ รพท /รพช/สอ ทุกหน่วยบริการ    เนื้อหาชั่วโมงแรกเป็นเรื่องโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ/ผลกระทบการเกิดโรคและระบบการดูแลช่วยเหลือ และชี้แจงขั้นตอนการขอรับเงินสนับสนุนจาก สปสชในระบบการดูแลผู้ป่วย เริ่มจาก สปสช กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุน คือผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง DM HT HD CRF และโรคหลอดเลือดสมอง ทุกราย ที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นโรคซึมเศร้าจากแบบประเมินซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต  (2Q  9Q) จำนวน 148800 คนทั่วประเทศ หน่วยงานไหนรายงาน (กรอกข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบinternet)ก่อนได้เงินงบประมาณก่อน 

  •  ขั้นตอนการจ่ายเงิน(การจ่ายชดเชยค่าบริการ)แบ่งออกเป็น 2 งวด

งวดที่1  จ่าย 200 บาท  หากหน่วยงานได้ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบ 9 คำถาม (เมื่อผลการคัดกรองด้วย 2 คำถาม หรือ 15 คำถาม ให้ผลบวก) แล้วประเมินการฆ่าตัวตายด้วยแบบประเมิน 8 คำถาม (เมื่อคะแนนการประเมินด้วย 9 คำถาม ≥ 7) พร้อมให้สุขภาพจิตศึกษาปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในรายที่ผลประเมินด้วย 9 คำถาม และ/หรือ 8 คำถาม ให้ผลบวก และส่งต่อเพื่อการบำบัดรักษา( เมื่อประเมินด้วย 9Q7,   ให้สุขภาพจิตปรับเปลี่ยนฯ )

งวดที่ 2 จ่าย 100 บาท เมื่อ ติดตามประเมินด้วย 9 คำถาม และ/หรือ 8 คำถาม อย่างต่อเนื่องทุกเดือน อย่างน้อย 4 ครั้ง (เมื่อติดตามประเมินด้วย 9Q 4 ครั้ง )

การจ่ายชดเชยค่าบริการ

    แหล่งข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการ  คือโปรแกรมสารสนเทศการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด

เงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการ คือ สปสช. จะจ่ายชดเชยค่าบริการในการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าฯ
       ให้ตามข้อมูลที่ได้รับรายงานและตรวจสอบความถูกต้อง   ครบถ้วนของข้อมูล จากกรมสุขภาพจิต จัดสรรเป็นรายไตรมาส  โดยจัดสรรผ่าน สปสช.สาขาจังหวัด 

         สุดท้ายของการประชุม เป็นเนื้อหา วิธีการลงข้อมูลและการบันทึกข้อมูลทั้งหมด

                                                 อภัยวรรณ  กันสุข

หมายเลขบันทึก: 299588เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ลองอ่านดูแล้วครับ แต่สงสัยว่า คำถามทำไมเยอะจัง มีทั้ง 2,8,910,15 คำถาม ไม่แน่ใจใช้ต่างกันป่าว /boss

จริงๆ ค่ะเห็นด้วย แบบคัดกรองของกรมสุขภาพจิตเยอะมาก แต่ละแบบคัดกรองใช้ต่างกันขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ ค่ะ เช่น

2 คำถาม (2Q)เป็นแบบคัดกรองอย่างง่ายเพื่อค้นหาคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าเข้าสู่ระบบ (ไวมาก)

15 คำถาม (15Q) เป็นแบบประเมิน ภาวะซึมเศร้า

9 คำถาม (9Q)เป็นแบบประเมิน โรคซึมเศร้า ที่สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของโรคออกเป็น น้อย ปานกลาง รุนแรง

8 คำถาม (8Q)เป็นแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

10 คำถาม ในเรื่องนี้ ไม่มีค่ะ BOSS นอกจาก boss จะสร้างขึ้นใหม่ (แซว) /อภัยวรรณ

อ๋อ อย่างนี้นี่เอง กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับ ขออภัย 10 Q กลอนพาไป ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ /boss

มีแซวกันเองด้วย

ไม่ทราบว่าbossที่นี่สามารถแซวได้ด้วย

เพราะได้ยินมาว่าดุมาก

สวัสดีค่ะ คิดถึงร.พ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท