Psychometrics


PSYCHOMETRICS

 

Psychometrics  เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการวัดทางจิต  ซึ่งรวมไปถึงความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และบุคลิกภาพ  สาขาหลัก จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ การวัด

ประกอบด้วยการวิจัย 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

1). โครงสร้างอุปกรณ์และกระบวนการทางการวัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเครื่องมือ         

2). การพัฒนาและปรับปรุงทฤษฎีเพื่อการวัดที่ดีขึ้น

หลายทฤษฎี เกี่ยวกับ ไซโคเมทริกก่อนหน้านี้ และงานประยุกต์ต่างๆ พยายามที่จะวัด ให้สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพ

โดยผู้บุกเบิกในด้านนี้ คือ Francis Galton ซึ่งถือว่าเป็นบิดาแห่ง ไซโคเมทริกได้คิดค้นแนวทางใหม่ๆ ในปี ค.ศ.1886 พร้อมกับทดสอบงานทดลองการวัดเกี่ยวกับมนุษย์ของเขา

อย่างไรก็ตาม ไซโคเมทริก แบบดั้งเดิม ยังคงเชื่อมต่อกับสาขาของ Psychophysics 

นัก ไซโคเมทริก ที่ชื่อว่า L.L.Thurstone เป็นผู้คิดค้น พัฒนา และประยุกต์ ทฤษฎีขึ้น เพื่อพัฒนาการวัดให้ดีขึ้น และได้อ้างถึงกฎการตัดสิน การเปรียบเทียบ ในปี ค.ศ. 1936

Thurstone และ นักไซโคเมทริก ที่ชื่อ Spearman ต่างก็ได้เผยแพร่ทฤษฎีที่สำคัญและวิเคราะห์ เกี่ยวกับ ความจริงของธรรมชาติของไซโคเมทริก และการใช้วิธีการทางสถิติ หลังจากนั้น ทำให้เกิดการพัฒนาและการใช้ ไซโคเมทริก อย่างกว้างขวางเมื่อไม่นานมานี้ ทฤษฎี ไซโคเมทริก ได้ถูกประยุกต์ใช้ในการวัดบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความเชื่อ การประสบความสำเร็จทางการศึกษา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็น การวัดของปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถสังเกตได้

งานวิจัยเหล่านี้ ถูกรวบรวมไว้ และวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเป็นหลักฐานในการศึกษา ครั้งต่อๆ ไป

               การนิยามความหมาย การวัดในหมู่นักวิทยาศาสตร์

เป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในการนิยามความหมายของคำว่า การวัด สุดท้าย Stanley Smith Stevens นิยามว่า การวัดคือ การสังเกต เปรียบเทียบ จำนวนที่เกิดขึ้นตามกฎบางกฎ และได้ถูกนำเสนอตีพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์

การนิยามความหมายนี้แตกต่างจาก แบบดั้งเดิม แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา แต่ความหมายของการวัดก็ยังครอบคลุมการวัดทั้งหมดอยู่

ดังนั้น การวัดเป็นการประมาณ และแสดงจำนวนต่างๆ ของส่วนที่สำคัญ ทำให้การวัดใน ไซโคเมทริก จึงแทบไม่ต่างกับการวัดใน ไซโคฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ สามารถวัด เมื่อเขาพบตัวกระทำ และพบเกณฑ์หรือ บรรทัดฐานที่จำเป็น ส่วนนักจิตวิทยา ก็คล้ายกัน แต่บางครั้งการวัดทางจิต ไม่สามารถสังเกตได้เหมือนทางฟิสิกส์ และไม่ต้องมีสิ่งกระตุ้น เช่น การวัดทัศนคติ IQ เป็นต้น

        แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 แบบ เหมือนกันคือ ต้องไม่เชื่อในสิ่งลี้ลับ

        ใน ไซโคเมทริกนั้น การตอบสนองที่แตกต่างกันทำให้เกิดแนวทางการวัดที่มากมาย และกว้างขวาง

       อุปกรณ์ขั้นตอนและกระบวนการ

อุปกรณ์ใน Psychometrics อันแรกนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆ แต่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในหมู่การวัดทางจิต คือ Stanford Binet IQ test ถูกพัฒนาขึ้นโดย Alfred Binet

Psychometrics ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางทางการศึกษา เช่น คณิตศาสตร์ การอ่าน เป็นต้น

     การวัดทางจิตนั้น ในสมัยก่อน ใช้ทฤษฎีที่ชื่อว่า Classical test theory เป็นการวัดแบบที่คนยังยอมรับน้อย เพราะขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

     ส่วนในปัจจุบัน การวัดทางจิตนั้น ใช้ทฤษฎีที่ชื่อว่า Item response theory   ซึ่งจะทำให้การวัดเป็นวิทยาศาสตร์ และน่าเชื่อถือมากขึ้นจนเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหามากมายเกี่ยวกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะนำมาวัด

                      มาตรฐานของคุณภาพ

        การพิจารณาถึงความมีเหตุผล และความน่าเชื่อถือ อย่างเป็นแบบแผน ถูกมองว่า เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการกำหนด หรือตัดสินใจ เกี่ยวกับคุณภาพของแบบทดสอบต่างๆ

          อย่างไรก็ตามสมคมผู้เชี่ยวชาญ ได้วางแนวทางการตัดสินใจ เกี่ยวกับคุณภาพการทดสอบแบบต่างๆ ไว้ดังนี้

1). พิจารณาหรือมองถึงโครงสร้างของแหล่งที่ให้ข้อมูลจริง และการประเมิน

2). พิจารณาถึงความยุติธรรม ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ

3). พิจารณาถึงความสามารถของผู้เข้าทดสอบ

 

คำสำคัญ (Tags): #epistemology#psychometrics
หมายเลขบันทึก: 299503เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่เข้าใจครับ แต่จากที่อ่านดูรู้สึกว่าน่าสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท