“เล่านิทานให้ลูกๆฟัง”


คุณแม่เล่านิทานให้ลูกฟังด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกันไปตามตัวละครในนิทานจะทำให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นการสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว

  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีหน้าที่โดยตรงในการเตรียมรับคณะกรรมการมาประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเซนต์นิโกลาส  ได้ถามรวมๆกับคุณครูที่นั่งในห้องทำงานว่า มีนักเรียนคนไหนที่มีความสามารถเด่นๆบ้างนะ  ขณะที่พูดมีคุณครูลัดดา  จำปาแดง ซึ่งอยู่ทีมอนุบาล ก็เสนอว่า มีเด็กอนุบาล 1 เล่านิทานเก่ง  ณ เวลานั้นในใจไม่สนใจเพราะพอบอกว่าอยู่อนุบาลและยังเป็นชั้นเล็กสุดด้วยก็คงเหมือนเด็กทั่วๆไปที่เล่านิทานยานคางให้ฟัง  แต่กลัวจะเสียน้ำใจคุณครูดาที่บอกมา  จึงบอกว่าขอให้นำเด็กมาเล่านิทานให้ฟังก่อน 

   พอสายๆ คุณครูก็นำน้องหมิง มาเล่านิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง ให้ฟัง  แต่เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกประทับใจ  น้ำเสียงที่เล่ามีเสียงหมาป่า เสียงหนูน้อย เสียงเล็กเสียงใหญ่แตกต่างกัน รีบนัดหมายเลยว่า ให้น้องหมิงมีส่วนในการแสดงความสามารถให้คณะกรรมการประเมินโรงเรียนเข้มแข็งชมรวมกับความสามารถของนักเรียนชั้นประถมและมัธยม ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ฟังว่าน้องหมิงเก่งจริงๆ เล่าเรื่องได้ยาวและน่ารักมาก จึงสนใจว่าทำอย่างไร จึงเล่าได้ก็ให้คุณครูประจำชั้นติดต่อคุณแม่น้องหมิงให้เล่าถึงการเลี้ยงลูกจนเล่านิทานได้เก่ง จึงนำมาลงบล็อก เล่าสู่กันฟังค่ะ

ด.ญ. แพรพิไล   ปัญญาทิพย์สกุล ชื่อเล่นว่าน้องหมิง เกิด  6  ตุลาคม  2548 คุณพ่อ ชื่อ นายวิรัช  ปัญญาทิพย์สกุล  อาชีพ ค้าขาย คุณแม่ชื่อ นางธนพร ปัญญาทิพย์สกุลซึ่งลูกๆเรียกว่าแม่ปู  อาชีพ แม่บ้าน อนาคตที่น้องหมิงหวังไว้คืออยากเป็นนักบิน(ทหารอากาศ)


  คุณแม่ปูจะเล่านิทานให้ลูกทั้ง  2 คน(พี่ฮ้อและน้องหมิง) ฟัง ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆตอนตั้งท้องน้องหมิงก็มักจะเล่านิทานให้พี่ฮ้อ (พี่ชายน้องหมิง)ฟังเวลาเข้านอนเพราะเชื่อว่าการที่คุณแม่เล่านิทานให้ลูกฟังด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกันไปตามตัวละครในนิทานจะทำให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการสร้างสรรค์  ทั้งยังเป็นการสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว  เด็กที่อายุ 0-5 ปี สมองกำลังเจริญเติบโต สร้างเส้นใยรอยหยักในสมองทำให้เด็กรับรู้  จดจำเรื่องราวต่างๆได้ดีให้เด็กได้ฝึกคิด จินตนาการในโลกของเด็กเองจาการฟังนิทาน มีพัฒนการที่ดี คุณแม่มักจะเล่านิทานให้ฟังก่อนก่อนนอนทุกคืน (หากวันไหนดึกหรือเด็กเพลียเกินไปจะงด)  ไม่จำป็นต้องเล่าหลายๆเรื่องในคืนเดียวกัน เพียง 1-2 เรื่องสั้นๆก็คิดว่าเพียงพอ บางครั้งมีการต่อรองอยากฟังหลานๆเรื่อง ก็จะให้เหตุผลกับลูกๆว่า “เด็กดีต้องเข้านอนตอน 2 ทุ่ม ถ้านอนน้อยๆจะตื่นไปโรงเรียนไม่ไหว เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องตัวก็จะไม่โตหมือนปาป๊า” แต่จะยืดหยุ่นให้เข้านอนได้ดึกก็ต่อเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด

   เวลาเลือกนิทานก็จะเป็นเรื่องที่สนุกสนาน มีคติสอนใจ คำสั่งสอนแอบแฝงอยู่จะหลีกเลี่ยงนิทานที่มีการต่อสู้รุนแรง หนังสือนิทานควรมีภาพสีสันสวยงามสะดุดตาจะดีมาก เนื้อหาไม่ต้องยาวเกินไป เพราะจะเหนื่อยทั้งคนเล่าและคนฟัง(โดยเฉพาะคนเล่า...ฮา) 

  คุณแม่คิดว่าการใช้เวลาไม่กี่นาทีเลือกนำหนังสือนิทานที่มีเนื้อเรื่องและภาพดีๆมาเล่ามาอ่านให้ลูกๆฟัง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรากฐาน ของการอ่านและเปิดการเติมเต็มความรัก  ความอบอุ่นในครอบครัวได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ
                                                       คุณแม่ปูของพี่ฮ้อและน้องหมิง

    ต้องขอขอบคุณคุณแม่ปูที่แบ่งปันประสบการณ์และส่งคนเก่งมาเรียนที่โรงเรียนเซนต์นิโกลาส  หากผู้อ่านจะนำประสบการณ์นี้ไปใช้บ้างก็ได้นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 298702เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องเล่านิทานให้ใหญ่แล้วจำการน้องว่าเล่านทานเรื่องตลก

เล่านิทานให้ลูกๆฟัง”

พอสายๆ คุณครูก็นำน้องหมิง มาเล่านิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง ให้ฟัง แต่เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกประทับใจ น้ำเสียงที่เล่ามีเสียงหมาป่า เสียงหนูน้อย เสียงเล็กเสียงใหญ่แตกต่างกัน รีบนัดหมายเลยว่า ให้น้องหมิงมีส่วนในการแสดงความสามารถให้คณะกรรมการประเมินโรงเรียนเข้มแข็งชมรวมกับความสามารถของนักเรียนชั้นประถมและมัธยม ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ฟังว่าน้องหมิงเก่งจริงๆ เล่าเรื่องได้ยาวและน่ารักมาก จึงสนใจว่าทำอย่างไร จึงเล่าได้ก็ให้คุณครูประจำชั้นติดต่อคุณแม่น้องหมิงให้เล่าถึงการเลี้ยงลูกจนเล่านิทานได้เก่ง จึงนำมาลงบล็อก เล่าสู่กันฟังค่ะ

ด. ช.พงศกร มูลอินทร์ ม.6 โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย เฃอ 1 อาชีพ ค้าขาย คุณแม่ชื่อ นางธนพร ปัญญาทิพย์สกุลซึ่งลูกๆเรียกว่าแม่ปู อาชีพ แม่บ้าน อนาคตที่น้องหมิงหวังไว้คืออยากเป็นนักบิน(ทหารอากาศ)

คุณแม่ปูจะเล่านิทานให้ลูกทั้ง 2 คน(พี่ฮ้อและน้องหมิง) ฟัง ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆตอนตั้งท้องน้องหมิงก็มักจะเล่านิทานให้พี่ฮ้อ (พี่ชายน้องหมิง)ฟังเวลาเข้านอนเพราะเชื่อว่าการที่คุณแม่เล่านิทานให้ลูกฟังด้วยน้ำเสียงที่แตกต่างกันไปตามตัวละครในนิทานจะทำให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดจินตนาการสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นการสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กที่อายุ 0-5 ปี สมองกำลังเจริญเติบโต สร้างเส้นใยรอยหยักในสมองทำให้เด็กรับรู้ จดจำเรื่องราวต่างๆได้ดีให้เด็กได้ฝึกคิด จินตนาการในโลกของเด็กเองจาการฟังนิทาน มีพัฒนการที่ดี คุณแม่มักจะเล่านิทานให้ฟังก่อนก่อนนอนทุกคืน (หากวันไหนดึกหรือเด็กเพลียเกินไปจะงด) ไม่จำป็นต้องเล่าหลายๆเรื่องในคืนเดียวกัน เพียง 1-2 เรื่องสั้นๆก็คิดว่าเพียงพอ บางครั้งมีการต่อรองอยากฟังหลานๆเรื่อง ก็จะให้เหตุผลกับลูกๆว่า “เด็กดีต้องเข้านอนตอน 2 ทุ่ม ถ้านอนน้อยๆจะตื่นไปโรงเรียนไม่ไหว เรียนหนังสือไม่รู้เรื่องตัวก็จะไม่โตหมือนปาป๊า” แต่จะยืดหยุ่นให้เข้านอนได้ดึกก็ต่อเมื่อวันรุ่งขึ้นเป็นวันหยุด

เวลาเลือกนิทานก็จะเป็นเรื่องที่สนุกสนาน มีคติสอนใจ คำสั่งสอนแอบแฝงอยู่จะหลีกเลี่ยงนิทานที่มีการต่อสู้รุนแรง หนังสือนิทานควรมีภาพสีสันสวยงามสะดุดตาจะดีมาก เนื้อหาไม่ต้องยาวเกินไป เพราะจะเหนื่อยทั้งคนเล่าและคนฟัง(โดยเฉพาะคนเล่า...ฮา)

คุณแม่คิดว่าการใช้เวลาไม่กี่นาทีเลือกนำหนังสือนิทานที่มีเนื้อเรื่องและภาพดีๆมาเล่ามาอ่านให้ลูกๆฟัง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรากฐาน ของการอ่านและเปิดการเติมเต็มความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ

คุณแม่ปูของพี่ฮ้อและน้องหมิง

ต้องขอขอบคุณคุณแม่ปูที่แบ่งปันประสบการณ์และส่งคนเก่งมาเรียนที่โรงเรียนเซนต์นิโกลาส หากผู้อ่านจะนำประสบการณ์นี้ไปใช้บ้างก็ได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท