(๒)การจัดการเรียนรู้โกยการใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์


สถานการ์คือชีวิตจำลอง

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์

ความหมาย

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์  เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการกระทำกับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน โดยผู้สอนสร้างหรือนำสถานการณ์ด้านต่างๆ มาให้ ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์แบบต่าง ๆ  ซึ่งวงอาจเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงของผู้เรียน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีควรเชื่อมั่นในการนำความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร มาสรุปประเด็น เพื่อประเมินค่าว่าสิ่งใดถูกต้อง ดีงาม เกิดประโยชน์ ควรหรือไม่ควรแก่การปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ปฏิบัติได้จริง เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์และเจอปัญหาวิธีการจัดการเรียนรู้นี้เป็นการประยุกต์มาจากหลักพุทธธรรมและพุทธวิธี เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะกับการเวลา ลักษณะเนื้อหาสาระและวัยของผู้เรียน

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์นั้น กรมวิชาการ (2530) และ สมุน อมรวิวัฒน์, 2530 อ้างถึงใน มยุรี วิมลโสภณกิตติ, 2538 เสนอไว้ดังนี้

1.   ขั้นสร้างศรัทธา

ขั้นนี้เป็นกิจกรรมสร้างความสนใจและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ผู้เรียนสนใจและเชื่อมั่นว่าบทเรียนนี้สำคัญต่อชีวิตของเขา เชื่อมั่นว่าจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ เชื่อมั่นในตัวผู้สอนและเชื่อมั่นว่าบทเรียนนี้จะช่วยให้เขามีประสบการณ์ที่มีคุณค่า

2.   ขั้นศึกษาสังคม    (ฝึกทักษะรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ)

กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนที่เสนอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การฝึกนิสัยและทักษะในการแสวงหาความรู้ข่าวสาร ดังนั้นในการฝึกผู้เรียนให้สามารถเผชิญสถานการณ์เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้นั้น ผู้สอนจึงควรฝึกนิสัยฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในขั้นแรกของการศึกษา

3.   ขั้นระดมเผชิญสถานการณ์   (ฝึกทักษะการประเมินค่า)

การฝึกฝนและการเรียนรู้ประสบการณ์ขั้นนี้เป็นขั้นตอนของการผจญปัญหา และสถานการณ์ เป็นการนำข่าวสารความรู้ที่ได้มาจัดสรุปประเด็นของข่าวสารไว้อย่างเป็นระเบียบ แล้วประเมินค่าว่าประเด็นไหนถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ประเด็นใดบกพร่อง ผิดพลาด ชั่วร้าย ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร ทำไปจะเกิดผลร้าย หรือเป็นผลดีชั่วครู่ ชั่วยาม เคลือบแฝงความชั่วร้ายเอาไว้

4.  วิจารณ์ความคิด   (ฝึกทักษะการเลือกและการตัดสินใจ)

เมื่อผู้เรียนได้ฝึกการประเมินค่าข้อมูลต่างๆ ไว้หลายๆ ทางแล้วนั้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เร้าให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์ทางเลือกต่าง ๆ  ก่อนตัดสินใจซึ่งมีความสำคัญมาก ผู้เรียนจะต้องรู้

5.  ปรับพฤติกรรม  (ฝึกการปฏิบัติ)

การปฏิบัติการเรียนรู้ประสบการณ์เรียนรู้ขั้นนี้ เป็นขั้นตอนของการเผด็จการ คือ การลงมือแก้ปัญหา และเผชิญสถานการณ์จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

6. สรุปและการประเมินผล

ขั้นตอนี้เป็นการนำสาระและกิจกรรมของบทเรียนนับแต่เริ่มต้น มาสรุปย้ำ ซ้ำ ทวนตรวจสอบ โดยวิธีที่ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนผู้เรียนประเมินซึ่งกันและกัน การประเมินผู้เรียนและวัดผลการเรียนการสอน

หมายเลขบันทึก: 298582เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ความรู้ที่ครูอ้อยมาอ่านนี้  นำไปใช้ได้เลย อย่างดีเยี่ยม
  • ขออ้างอิง สักนิดนึงนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ 

ดร.สุวิทย์ มูลคำ

และ ดร.อรทัย มูลคำ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท