การบริหารงานงบประมาณแบบ PBB


การบริหารงานแบบ PBB

หัวข้อ : งบประมาณแบบ PBB
ข้อความ : ปัจจุบันคำว่า งบประมาณแบบ PBB เป็นคำถามที่ค้างคาใจครูประถมศึกษามากที่สุด คำถามหนึ่งไม่แพ้คำถามที่เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไม่ว่าจะเป็นจากโรงเรียนทดลองนำร่องใน 8 จังหวัด 37 โรงเรียน หรือโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไป เพราะในปีงบประมาณ 2546 ทุกโรงเรียนต้องบริหารงบประมาณที่ได้รับจากส่วนกลางด้วยระบบ PBB ทุกโรงเรียน

จึงขอทำความเข้าใจว่าระบบงบประมาณแบบ PBB (Performance-based Budgeting) หรือที่เรียกโดยภาษาทางการว่า ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ซึ่งสำนักงบประมาณร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษา ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินงานตามโครงการนำร่อง โครงการปรับปรุงระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เพื่อทดลองใช้รูปแบบงบประมาณดังกล่าวกับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้เงื่อนไขการดำเนินงานปรับปรุงขีดความสามารถตามมาตรฐาน การจัดการทางการเงิน 7 ด้าน

1.การวางแผนงบประมาณ

2.การคำนวณต้นทุนของกิจกรรม

3.การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

4.การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ

5.การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน

6.การบริหารสินทรัพย์

7.การตรวจสอบภายใน

วิธีการบริหารงบประมาณระบบใหม่ สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวมให้โรงเรียน โดยเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและรายงานผลการดำเนินงานทางการเงินตามระบบและรูปแบบที่กำหนด เพื่อเป็นการเพิ่มผลตอบแทนในการใช้จ่ายและเพิ่มบทบาทการกระจายอำนาจตลอดจนพัฒนารูปแบบการจัดการงบประมาณด้านการศึกษาให้เหมาะสม ซึ่งในปีงบประมาณ 2545 จะดำเนินการกับโรงเรียน ทดลองนำร่องใน 8 จังหวัด 37 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ กระบี่ นครนายก นครราชสีมา ปทุมธานี นราธิวาส กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร

และในปีงบประมาณ 2546 สำนักงบประมาณได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องใช้งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียนด้วย

แต่จะอย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ขอให้โรงเรียนทุกโรงอย่าได้สับสนและเป็นกังวลในเรื่องดังกล่าว เพราะขณะนี้ สปช.

ได้เร่งดำเนินการอบรมวิทยากรแกนนำในเรื่องดังกล่าวให้กับทุก สปจ. เพื่อให้ สปจ.สามารถขยายผลให้กับทุกโรงเรียนได้รับทราบ และสนองนโยบายเรื่องการบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพด้วยระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานได้ทันในปีงบประมาณ 2546 อย่างแน่นอน โดยจะนำปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จากโรงเรียนนำร่องมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำมาใช้กับทุกโรงเรียนต่อไป

จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 3 ก.พ. 2545

จาก : webmaster - 04/02/2002 09:48

จากสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้กำหนดมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นให้ทุกส่วนราชการจัดทำแผนผฏิบัติการเพื่อสนองวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ

  1. ทบทวน ภารกิจ และลดการตัดทอนยกเลิกภารกิจที่ซ้ำซ้อนและไม่มีความจำเป็นที่ส่วนราชการต้องดำเนินการเอง หรือเห็นควรให้ภาคเอกชน องค์กรเอกชน หน่วยงาน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดำเนินการเอง
  2. ปรับปรุงรูปแบบ ขั้นตอนวิธีการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของส่วนราชการ ดดยกำหนดเป้าหมายและตังชี้วัดผลงานด้านต่างๆ อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
  3. ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของส่วนราชการที่เป็นผลมาจากข้อ 1 - 2 โดยแสดงถึงจำนวนเงินงบประมาณที่ประหยัดได้ ที่จะลดทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ผลที่คาดว่าจะได้รับคือส่วนราชการมีภารกิจหลักที่ชัดเจน มีผลงานที่เปนรูปธรรมที่คุ้มค่า เงินภาษี และเป็นที่ยอมรับของประชาชน

สำหรับแผนระยะยาวคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เห็นชอบกับแผนปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐ โดยแผนดังกล่าวเป็นแผนปฏิรูปภาครัฐในองค์กรรวม โดยยึดผลลัพธ์ (Outcome) มีการวัดผลการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เป็นรูปธรรมเพื่อเปลี่ยนภาครัฐไปสู่การมีผลลัพธ์ คือการทำงานเพื่อประชาชน วัดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ มีการทำงานที่รวดเร็วคล่องตัว ซึ่งแผนดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาใน 5 ด้าน คือ

  1. แผนปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารภาครัฐ
  2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณการเงิน และการพัสดุ
  3. แผนการปรับเปลี่ยนการบริหารงานบุคคล
  4. แผนการปรับเปลี่ยนกฏหมาย
  5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมในการบริหารภาครัฐ

ในส่วนของแผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณการเงินและการพัสดุ ได้มีการกำหนดให้ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กระทรวงศึกษาธิการเป็น 1 ใน 7 ของหน่วยงานนำร่องที่ใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ได้กำหนดให้กรมสามัญศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานการศึกษาของกระทรวงศึกษา ที่ต้องดำเนินโครงการนำร่องในระดับโรงเรียนและขยายผลใก้ครอบคลุมโรงเรียนในสังกัดต่อไป
การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป้นการจัดสรรงบประมาณแบบมีเงื่อนไง ก็คือสำนักกงบประมาณจะให้อิสระทางการเงินกับหน่วยงานเมื่อหน่วยงานมีหลักประกันได้ว่าสามารถนำงบประมาณไปใช้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งได้แก่การดำเนินการเพื่อให้ผ่านมาตรการทางการเงิน 7 ประการ คือ

  1. การวางแผนงบประมาณ
  2. การคำนวนต้นทุนกิจกรรม
  3. กาาจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
  4. การบริหารงานทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ
  5. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
  6. การบริหารสินทรัพย์
  7. การตรวจสอบภายใน

ในส่วนของการวางแผนงบประมาณกรมสามัญศึกษา มีประเด็นที่จำเป็นต้องดำเนินการคือ

จัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์กร และแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนการ

 

 

 

  1. ดำเนินงานหรือแผนปฏิบัตการ
  2. การจัดทำงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง (งบประมาณระยะ 3 ปี)
  3. มีเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให่แก่โรงเรียนและหน่วยงานอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้

จากการที่มีข้อตกลงเบื้องต้นในการวางแผนกลยุทธ์ภาครัฐ ที่กำหนดให้พิจารณาจากนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาระหน้าที่ขององค์กรตามพระราชกฤษฎีกา และมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่างๆ แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่เชื่อมโยงและถ่ายทอดนโยบายภาครัฐลงไปสู่การปฏิบัติที่เป็นไปตามความต้องการของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชนผู้รับบริการ การวิเคาระห์สภาพแวดล้อม ทั้งสภาพแวดล้อมภายในถึงจุดเด่นจุดด้อย และสภาพแวดล้อมภายนอกด้านโอกาสและอุปสรรค์ขององค์กรในการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้การใช้งบประมาณมีความเหมาะสมสอดคล้องกับลำดับความสำคัญ และการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงจุดมุ่งหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นเสมือนข้อผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบและถูกตรวจสอบผลการดำเนินงานจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์ประกอบข้างต้นจะเป้ฯเงื่อนไขในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างหน่วยงานหลักและหน่วยงานย่อยที่จะรับไปปฏิบัติ และเป็นกระบวนการที่สร้างความมั่นใจได้ว่าการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องและครอบคลุมในทุกกิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 298473เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าหน่วยงานของรัฐนำ PBB ไปใช้อย่างจริงจัง มีการตรวจสอบอย่างจริงใจถูกต้อง(ไม่มีใต้โต๊ะ)ประเทศไทยเจริญขึ้นกว่านี้แน่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท