รำพึงการจัดทำ KPIs


ดัชนีชี้วัด

       ความรับผิดชอบที่ต้องน้อมรับและไม่ค่อยซำบายใจในด้านการคิด การนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน เนื่องจากมีบททฤษฎีที่วางไว้แต่ยังไม่นำมาใช้ในการทำงาน การทำงานแบบเดาสุ่ม ลองผิด ลองถูกเหมือนทฤษฎีทางจิตวิทยา มันค่อนข้างเหนื่อยมาก และเกิดการสิ้นเปลืองของทรัพย์สินทางราชการ แต่ยุคนี้ระบบการทำงานปรับเปลี่ยนเวียนเข้า เวียนออก เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัตินั้น เมื่อเริ่มต้น ก็ต้องมีการจบ และข้อยุติต่าง ๆ ก็ถึงเวลาสิ้นสุด วันนี้คงไม่ใช่จะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน แต่ขอเอาตัวอย่างบางตอนมาเล่าสู่กันฟัง เกี่ยวกับเรื่อง กระบวนงานและดัชนี้ชี้วัดของกระบวนงานในกลุ่มงานบริหารและการจัดการ กรณีตัวอย่าง การจัดการด้านอาคารสถานที่และยานพาหนะ :ดัชนีชี้วัดที่นำมาใช้ในการประเมิน คือ ด้านคุณภาพ ด้านเวลา และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนด คือ

ด้านคุณภาพ คือ  ถูกต้อง มีความพร้อมในการใช้งานร้อยละ 60

ด้านเวลา      คือ  ดำเนินการเสร็จตามกำหนดเวลา

ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ คือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

นอกจากนี้ยังกำหนดเกณฑ์ดีมาก และดีเด่นด้วย การกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่ผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการนะคะ ยังถือว่าเป็นร่างเกณฑ์ตามข้อมูลที่ได้จากการระดมความคิดของกลุ่มงานบริหารและการจัดการ   ขอนำเสนอสิ่งที่ได้จากการระดมความคิดแบบใช้หลักการและความจริงที่เกิดจากประสบการณ์ที่ทำมาเล่าสู่กันฟัง ขอน้อมรับความคิดเห็นจากสมาชิกของนักรักบริการเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ดี ๆ นำมาเป็นครูสอนสั่งในกลุ่มงานต่อไป 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29847เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท